ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์อาโมสที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟาโรห์เนบเพฮ์ติเร หรือ อาโมสที่ 1 (ประมาณ 1549–1524 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฟาโรห์รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่สิบแปดของอียิปต์โบราณ อาโมสที่ 1 เป็นโอรสองค์รองของฟาโรห์ทาโอที่สอง (Tao II) กับราชินีอาโฮเทปที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่ 17

สงครามขับไล่ชาวฮิกซอส

[แก้]

สงครามเริ่มขึ้นเมื่อกษัตริย์ฮิกซอสส่งราชสาร์นไปให้กับกษัตริย์ธีบส์ในราชสาร์นมีใจความว่า "ข้าไม่อาจหลับได้ เพราะเสียงฮิปโปโปเตมัสจากธีบส์ร้องทุกคืน" เป็นการเปียบเทียบเชิงนัยว่า พวกเขาทนไม่ได้ที่ทหารของธีบส์มาระแคะระคายพวกเขา ต้องทำสงครามในเร็วๆนี้ หลังจากราชสาร์นมาถึง ฟาโรห์ทาโอที่ 2 พระองค์สั่งทำสงครามแต่สิ้นพระชนม์และพ่ายแพ้ พระโอรสของทาโอที่ 2 นามว่าคาโมส จึงทำสงครามแทนแต่สิ้นพระชนม์และพ่ายแพ้

เจ้าชายอาโมสจึงขึ้นครองราชเป็นฟาโรห์ตั้งแต่พระเยาว์ ราชินีอาโฮเทปที่ 1 พระมารดาของ ฟาโรห์คาโมสและฟาโรห์อาโมสที่ 1 จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ในปีที่ 11 ของการครองราชของฟาโรห์คามูดิกษัตริย์ชาวฮิกซอส แห่งราชวงศ์ที่ 15 ฟาโรห์อาโมสที่ 1 ได้ยกทับไปนครเมมฟิสซึ่งอยู่ในการปกครองของพวกฮิกซอส และนำทัพขึ้นไปปิดล้อมที่นครอวาริสในที่สุดพระองค์ก็สามารถขับไล่ชาวฮิกซอสได้

สิ่งก่อสร้างอนุสาวรีย์

[แก้]

หลังจากที่พระองค์ได้ขับไล่ชาวฮิกซอสพระองค์มีพระบัญชาให้สร้างพระราชวังที่เมื่อง อวาริส และสร้างวิหารคาร์นัค เพื่อบูชาเทพอามุน และสร้างวิหารมอนตูที่เมืองArmman

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • "Amasis I". The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  • Clayton, Peter (2006). Chronicle of the Pharaohs. Thames and Hudson Ltd. ISBN 978-0-500-28628-9.
  • Dodson, Aidan (1990). "Crown Prince Djhutmose and the Royal Sons of the Eighteenth Dynasty". The Journal of Egyptian Archaeology. 76: 87–96. doi:10.2307/3822009. JSTOR 3822009.
  • El-Aref, Nevine. "King of the Wild Frontier". Al-Ahram. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  • Gardiner, Alan (1964). Egypt of the Pharaohs. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-500267-6.
  • Grimal, Nicolas (1988). A History of Ancient Egypt. Librairie Arthéme Fayard.
  • Redford, Donald (1992). Egypt, Canaan, and Israel in Ancient Times. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-00086-2.
  • Redford, Donald (1967). History and Chronology of the 18th Dynasty of Egypt: Seven Studies. University of Toronto Press.
  • Rice, Michael (2001). Who's Who in Ancient Egypt. Routledge. ISBN 978-0-415-15449-9.
  • Shaw, Ian (2000). The Oxford history of ancient Egypt. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280458-7.
  • Shaw, Ian; Nicholson, Paul (1995). The Dictionary of Ancient Egypt. Harry N. Abrams, Inc. ISBN 978-0-8109-9096-8.
  • Wente, Edward F. (1975). "Thutmose III's Accession and the Beginning of the New Kingdom". Journal of Near Eastern Studies. 57 (1): 265–272. doi:10.1086/372429. S2CID 161597223.
  • Wiener, Malcolm H.; Allen, James P. (1998). "Separate Lives: The Ahmose Tempest Stela and the Thera Eruption". Journal of Near Eastern Studies. 57 (1): 1–28. doi:10.1086/468596. S2CID 162153296.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]