ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
David Supervid (คุย | ส่วนร่วม)
ลบเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| ชื่ออังกฤษ = Faculty of Science <br>Kasetsart University
| ชื่ออังกฤษ = Faculty of Science <br>Kasetsart University
| คำขวัญ = เป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม <br> เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน
| คำขวัญ = เป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม <br> เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน
| วันที่ก่อตั้ง = [[9 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2509]]
| วันที่ก่อตั้ง = 9 มีนาคม พ.ศ. 2509
| คณบดี = รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน
| คณบดี = รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน
| สีประจำคณะ = {{color box|#2E3192}} [[สีน้ำเงิน]]<ref>[http://www.ku.ac.th/about/color.html สีประจำคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]</ref>
| สีประจำคณะ = {{color box|#2E3192}} [[สีน้ำเงิน]]<ref>[http://www.ku.ac.th/about/color.html สีประจำคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]</ref>
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
'''คณะวิทยาศาสตร์''' [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ได้รับการสถาปนาเป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก นอกจากนี้ ยังเปิดสอนหลักสูตรเตรียมแพทย์ ให้กับ[[วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า]] อีกด้วย
'''คณะวิทยาศาสตร์''' [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ได้รับการสถาปนาเป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก นอกจากนี้ ยังเปิดสอนหลักสูตรเตรียมแพทย์ ให้กับ[[วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า]] อีกด้วย


== ประวัติ ==
เมื่อแรกสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 นั้น การเรียนการสอนในสาขา[[วิทยาศาสตร์]] ได้รับการจัดตั้งเป็นแผนกเคมี ในสังกัด[[คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะเกษตร]] และแผนกชีววิทยา ในสังกัด[[คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะประมง]] รวมทั้ง มีการสอนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติใน[[คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะสหกรณ์]] ต่อมา สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงมีมติให้จัดตั้ง "'''คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์'''" ขึ้นเมื่อวันที่ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยให้ถือเป็นวันสถาปนา '''คณะวิทยาศาสตร์'''
เมื่อแรกสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 นั้น การเรียนการสอนในสาขา[[วิทยาศาสตร์]] ได้รับการจัดตั้งเป็นแผนกเคมี ในสังกัด[[คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะเกษตร]] และแผนกชีววิทยา ในสังกัด[[คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะประมง]] รวมทั้ง มีการสอนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติใน[[คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะสหกรณ์]] ต่อมา สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงมีมติให้จัดตั้ง "'''คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์'''" ขึ้นเมื่อวันที่ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยให้ถือเป็นวันสถาปนา '''คณะวิทยาศาสตร์'''


ต่อมา ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการจัดตั้ง [[คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะสังคมศาสตร์]] จึงมีการโอนภาควิชาสังคมศาสตร์ฯ ไปสังกัดคณะสังคมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2524 ภาควิชาภาษา ได้โอนไปสังกัด [[คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะมนุษยศาสตร์]] ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "'''คณะวิทยาศาสตร์'''"
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการจัดตั้ง [[คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะสังคมศาสตร์]] จึงมีการโอนภาควิชาสังคมศาสตร์ฯ ไปสังกัดคณะสังคมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2524 ภาควิชาภาษา ได้โอนไปสังกัด [[คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะมนุษยศาสตร์]] ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "'''คณะวิทยาศาสตร์'''"

ในการจัดอันดับตามสาขาจาก QS world university ranking by subject <ref>https://www.topuniversities.com/. "QS World University Rankings by Subject" </ref> พบว่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก 2 สาขา ได้แก่ '''Chemistry อันดับที่ 451-500 ของโลก''' และ '''Biological Sciences อันดับที่ 401-450 ของโลก'''

== ประวัติ ==
=== ยุคที่ 1 ก่อนการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2508) <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : ความเป็นมาของคณะวิทยาศาสตร์ </ref> ===
[[ไฟล์:ScA1.jpg|thumb|left|450px|นิสิตรุ่นแรก ปี 1 ณ ตึกชีววิทยา (เก่า) อยู่เยื้องกับอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์]]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486 มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ มหาวิทยาลัยได้จัดการศึกษามี 4 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะสหกรณ์ และคณะประมง ในระยะแรกเริ่มนี้ การเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิชาภาษาและวิชาสังคมศาสตร์ สังกัดอยู่ตามคณะต่าง ๆ

ในขณะนั้นการเรียนการสอนทางเคมีได้เปิดสอนอยู่ในแผนกวิชาเคมี สังกัดอยู่ในคณะเกษตรศาสตร์ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกสิกรรมและสัตวบาล และเป็นคณะเกษตรในปัจจุบัน) โดยมี ศาสตราจารย์จรัด สุนทรสิงห์ เป็นหัวหน้าแผนกวิชาเคมี ในขณะนั้นมีวิชาเปิดสอนเพียง 4 วิชา คือ อนินทรีย์เคมี อินทรีย์เคมี เคมีวิเคราะห์ปริมาณ และเคมีวิเคราะห์คุณภาพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ได้เริ่มเปิดสอนวิชาชีวเคมีให้แก่นิสิตคณะกสิกรรมและสัตวบาลที่เรียนวิชาเอกทางสัตวบาล

การเรียนการสอนทางชีววิทยา เริ่มจากมีเพียง
2 วิชาพื้นฐาน คือวิชาพฤกษศาสตร์เบื้องต้นและวิชา
สัตววิทยาเบื้องต้น สังกัดอยู่ในคณะกสิกรรมและสัตวบาล
ยังไม่มีแผนกวิชา โดยมีอาจารย์ผู้สอน คือ อาจารย์ประยูร
ณ นคร ดร.พิศ ปัณยาลักษณ์ อาจารย์อารียัน มันยีกุล และ
อาจารย์เข้มแข็ง สีตะธนี ต่อมามีการจัดตั้งแผนกวิชาชีววิทยา
ได้รับอาจารย์ประจำแผนกชีววิทยา รุ่นแรกคือ อาจารย์สุขุม
อัศเวศน์ และ อาจารย์อักษร ผะเดิมชิด เป็นอาจารย์ทาง
พฤกษศาสตร์ อาจารย์สุธรรม อารีกุล และ อาจารย์นันลินี
ศาลิคุปต เป็นอาจารย์ทางสัตววิทยา

การเรียนการสอนทางพันธุศาสตร์นั้นเริ่มเปิดสอน
ขึ้นในแผนกวิชาเกษตรศาสตร์ของคณะกสิกรรมและ
สัตวบาล (ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแผนกวิชาพืชศาสตร์) โดยมี
วิชาพันธุศาสตร์เป็นวิชาหลัก นอกนั้นก็เป็นวิชาการผสมพันธุ์
พืช การผสมพันธุ์สัตว์ อาจารย์ผู้สอนวิชาพันธุศาสตร์
ในขณะนั้น ได้แก่ ดร.สุจินต์ จินายน ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์
อาจารย์สุมินทร์ สมุทคุปติ์ เป็นต้น

การเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ได้เปิดสอนใน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในระยะแรกเปิดสอนอยู่
1-2 วิชา ยังไม่เป็นแผนกวิชา อาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์
ในช่วงแรกเริ่มนี้จึงเป็นอาจารย์จากหลายคณะช่วยกันสอน
จนกระทั่ง พ.ศ. 2498 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้ง
คณะวิศวกรรมชลประทานขึ้น โดยตั้งแผนกวิชาคณิตศาสตร์
ในคณะนี้ มี อาจารย์ชลิต เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าแผนกวิชา
การสอนวิชาคณิตศาสตร์ในระยะนั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
คือ สำหรับนิสิตคณะวิศวกรรมชลประทานกลุ่มหนึ่ง และ
อีกกลุ่มหนึ่งสำหรับนิสิตคณะกสิกรรมและสัตวบาล ประมง
วนศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ โดยมี
อาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์สัมพันธ์
วัฒนสุข อาจารย์สายตา ภุมมะโสภณ อาจารย์ทัศนียา
จิรธนา เป็นต้น

การเรียนการสอนวิชาสถิติได้เปิดสอนให้กับนิสิต
บางคณะ โดยระยะแรกๆ เปิดสอนเพียง 2 วิชา คือ วิชาสถิติ
กับวิชาการวางแผนการทดลอง ต่อมามหาวิทยาลัยได้
ตระหนักถึงความสำคัญของวิชานี้จึงได้ให้นิสิตทุกคณะ
ได้เรียนวิชาสถิติ และได้ก่อตั้งแผนกวิชาสถิติขึ้นมาในคณะ
เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ใน พ.ศ. 2496 (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ) โดยมีพระพิจารณ์
พาณิชย์ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนี้

การสอนวิชาฟิสิกส์ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี
พ.ศ. 2500 โดยเป็นวิชาในสังกัดแผนกวิศวกรรมเกษตร
คณะกสิกรรมและสัตวบาล ในช่วงนี้มีการสอนแบบบรรยาย
เท่านั้นไม่มีปฏิบัติการ อาจารย์ที่ทำการสอน ได้แก่
อาจารย์วิฑูรย์ หงษ์สุมาลย์ อาจารย์ประไพรัตน์ ถิรวัฒน์
อาจารย์สุธี ประเสริฐวงศ์ อาจารย์คำนวณ ตั้นพันธุ์
อาจารย์วิยะดา กิมสวัสดิ์ และ อาจารย์ไพโรจน์ อุตรพงศ์

วิชาจุลชีววิทยาเป็นอีกวิชาหนึ่งที่เริ่มเปิดสอน
เมื่อปี พ.ศ. 2500 ใช้ชื่อวิชาว่าบักเตรีวิทยา ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐาน
ที่สำคัญอยู่ในแผนกวิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะกสิกรรม
และสัตวบาล โดยมี ดร. ก่าน ชลวิจารณ์ ดร.ทวี ญาณสุคนธ์
ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ เป็นผู้สอนบรรยาย ส่วนการสอน
ปฏิบัติการ มีอาจารย์ศักดิ์ศิริ เกิดปรีดี อาจารย์อนงค์
จันทร์ศรีสกุล เป็นผู้สอนปฏิบัติการ

[[ไฟล์:ScA2.jpg|thumb|right|300px|บัณฑิตรุ่นแรกของคณะฯ ตั้งแถวที่หน้าตึกชีววิทยาเพื่อเดินขบวนไปยังหอประชุม]]
[[ไฟล์:ScA3.jpg|thumb|right|300px|บัณฑิตรุ่นแรกของคณะฯ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรถ่ายภาพหน้าหอประชุม]]

ในปี พ.ศ. 2503 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้
จัดตั้งหน่วยงานพลังงานปรมาณู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
การเรียนการสอนและการวิจัยเกี่ยวกับการใช้พลังงาน
นิวเคลียร์ในทางเกษตรและชีววิทยา ตลอดจนการให้บริการการฉายรังสีแกมมาและให้การอบรมแก่ผู้สนใจนำเอา
พลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและ
ชีววิทยา มี ดร.อรรถ นาครทรรพ เป็นหัวหน้าหน่วยงาน
พลังงานปรมาณูคนแรก สำหรับการเรียนการสอนทางด้าน
รังสีเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2504 และได้มีการสร้างเรือนรุกรังสี
(Gamma Greenhouse) ซึ่งเป็นแหล่งรังสีแกมมาเพื่อการ
ศึกษาและฝึกอบรมสำหรับนิสิต อาจารย์และผู้สนใจทั่วไป
ต่อมามีนิสิตมาเลือกเรียนวิชารังสีมากขึ้นแต่ยังไม่ได้จัดตั้ง
เป็นแผนกวิชา ทางหน่วยพลังงานปรมาณูได้อัตรากำลัง
เพิ่มขึ้นจากเดิมคือ อาจารย์กรีก นฤทุม และ อาจารย์เสาวรส
กาญจนารักษ์

วิชาภาษาอังกฤษเป็นอีกวิชาหนึ่งที่เปิดสอนอยู่ใน
แผนกวิชาภาษาอังกฤษ สังกัดคณะกสิกรรมและสัตวบาล
วิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับสำหรับทุกหลักสูตรที่ต้อง
เรียนทุกภาคการศึกษา ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 (ขณะนั้นเป็น
หลักสูตร 5 ปี) มีอาจารย์ผู้สอนใน พ.ศ. 2500 ได้แก่
อาจารย์วิภา จักรพันธุ์ อาจารย์ชม้าย โกสิสานนท์
อาจารย์ทัศนีย์ บุณยคุปต์ และมี อาจารย์พัทรา ประดิษฐวณิช
อาจารย์ประชุม ทัพภะสุต อาจารย์นิ่มนวล ประนิช
อาจารย์ดรุณา สมบูรณ์กุล และ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ
มาช่วยสอน

ส่วนการเรียนการสอนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์
ในระยะนี้กระจายอยู่ตามคณะต่างๆ เช่น วิชาจิตวิทยา
และสังคมวิทยาสอนอยู่ในแผนกวิชาเคหเศรษฐศาสตร์
(ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) วิชาสังคมชนบท
เปิดสอนอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มหาวิทยาลัยมีดำริที่จะตั้ง
คณะใหม่เพื่อผลิตบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์ สายศิลปศาสตร์
และบริการสอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์
และอักษรศาสตร์ให้แก่นิสิตคณะต่างๆ จากการประชุม
สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 2/2504 เมื่อวันพุธที่
21 มิถุนายน พ.ศ. 2504 สภามหาวิทยาลัยได้รับหลักการ
ให้จัดตั้งคณะใหม่ได้และให้ความเห็นว่าควรใช้ชื่อคณะใหม่
นี้ว่า “คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์” และมีชื่อ
ภาษาอังกฤษว่า “Faculty of Science and Arts”
หลังจากนั้นได้มีการเตรียมร่างการจัดตั้งคณะและหลักสูตร
เสนอต่อสภาการศึกษา ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่ 64/2505 ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2505
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างหลักสูตรและ
ร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และ
อักษรศาสตร์ ประกอบด้วยศาสตราจารย์เทอด สุปรีชากร
เป็นประธานอนุกรรมการ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
เป็นที่ปรึกษา มีอนุกรรมการ 14 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์
ดร.ทวี ญาณสุคนธ์ ศาสตราจารย์พนม สมิตานนท์
อาจารย์จินดา เทียมเมธ ดร.เล็ก ธนสุกาญจน์ อาจารย์เสรี
ไตรรัตน์ อาจารย์ประชุม ทัพภะสุต อาจารย์เฉลิมเกียรติ
สุจินดา อาจารย์สุขุม อัศเวสน์ อาจารย์สลวย กรุแก้ว
ดร.โอวาท นิติทัณฑ์ประภาส ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ
ดร.ไพฑูรย์ เครือแก้ว อาจารย์ประไพรัตน์ ถิรวัฒน์ และ
ดร.สง่า สรรพศรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ได้ร่าง
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
เป็นหลักสูตร 5 ปี ต่อมาได้ปรับหลักสูตรให้เหลือ 4 ปี
ในภายหลัง เมื่อได้ร่างหลักสูตรและร่างพระราชกฤษฎีกา
แล้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แต่งตั้งกรรมการชุดที่ 2
พิจารณา ตรวจแก้ไขร่างดังกล่าว ประกอบด้วย ศาสตราจารย์
ดร.กำแหง พลางกูร เป็นประธาน ศาสตราจารย์จรัด
สุนทรสิงห์ ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ญาณสุคนธ์ ดร.ประดิษฐ์
เชี่ยวสกุล เป็นกรรมการ และศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ
ณ นคร เป็นกรรมการและเลขานุการ

=== ยุคที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ (พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2523) <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : ความเป็นมาของคณะวิทยาศาสตร์ </ref> ===

การจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์
ได้มีประกาศตามความในพระราชกฤษฎีกา จัดแบ่งคณะ
ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2509 ซึ่งได้ให้ไว้ ณ
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509 เป็นปีที่ 21 ในรัชกาลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยมี
พลตรีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี
เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในมาตรา 2
ของพระราชกฤษฎีกานี้ได้ระบุให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้ประกาศ
ไว้ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 83 ตอนที่ 22
หน้า 228-232 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2509 ดังนั้น จึง
ถือเอาวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 เป็นวันก่อตั้ง
คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ นับเป็นคณะที่ 7
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีคณะเกษตร
คณะประมง คณะวนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ คณะสัตวแพทยศาสตร์
และคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์เป็นคณะล่าสุด
ดังปรากฏในเนื้อเพลงของเพลงเกษตรสามัคคี

“...มาซิมาเกษตรศาสตร์ มาดหมายใจไมตรี
เจ็ดคณะสามัคคีกันชั่วฟ้า

เขียวขจีดำรง องค์พิรุณนาคา นี่คือตราที่รักจริง
ยิ่งหัวใจ...”

ต่อมาเนื้อเพลงก็เปลี่ยนไปเป็นแปดคณะ เก้าคณะ
สิบคณะสามัคคีกันชั่วฟ้า จนปัจจุบันก็เปลี่ยนเนื้อร้องใน
วรรคนั้นเป็น “ร่วมใจรักสามัคคีกันชั่วฟ้า” แทน

คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ประกอบด้วย
6 แผนกวิชาและ 1 หน่วยงาน คือ แผนกวิชาเคมี แผนกวิชา
คณิตศาสตร์ แผนกวิชาฟิสิกส์ แผนกวิชาชีววิทยา แผนกวิชา
ยุคที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ (พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2523)
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แผนกวิชาภาษา หน่วยงาน
พลังงานปรมาณู โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ญาณสุคนธ์
เป็นคณบดีคนแรก แต่ละแผนกวิชาและหน่วยงานมี
อาจารย์ประจำดังนี้

[[ไฟล์:ฺBld1.jpg|thumb|right|400px|ตึกหอสมุดเก่า เป็นอาคารสำนักงาน คณะวิทยาศาสตร์]]

1. แผนกวิชาเคมี มี ดร.กฤษณา ชุติมา
เป็นหัวหน้าแผนก มีอาจารย์ในแผนกอีก 14 คน

2. แผนกวิชาคณิตศาสตร์ มี อาจารย์ชลิต
เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าแผนก และมีอาจารย์ในแผนกอีก
5 คน

3. แผนกวิชาฟิสิกส์ มี อาจารย์วิฑูรย์ หงษ์สุมาลย์
เป็นหัวหน้าแผนก และมีอาจารย์ในแผนกอีก 5 คน

4. แผนกวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มี ดร.นิพนธ์ คันธเสวี เป็นหัวหน้าแผนก และมีอาจารย์ใน
แผนกอีก 4 คน

5. แผนกวิชาภาษา มี อาจารย์ประชุม ทัพกะสุต
เป็นหัวหน้าแผนก และมีอาจารย์ในแผนกอีก 15 คน

6. แผนกวิชาชีววิทยา มี ดร.ทวี ญาณสุคนธ์
เป็นหัวหน้าแผนก และมีอาจารย์ในแผนกอีก 25 คน

7. หน่วยงานพลังงานปรมาณู มี ดร.อรรถ
นาครทรรพ เป็นหัวหน้าหน่วยและมีอาจารย์ในหน่วยอีก
2 คน

ส่วนสำนักงานเลขานุการคณะยังไม่ได้เป็นส่วนราชการ มีที่ทำการตั้งอยู่ที่ตึกหอสมุดเก่าซึ่งอยู่หลังตึก
ชีววิทยาเก่า

ในปีการศึกษา 2509 คณะวิทยาศาสตร์และ
อักษรศาสตร์ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(วิทยาศาสตร์) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของคณะ โดยหลักสูตรนี้
ประกอบด้วยสาขาวิชาหลายสาขา ได้แก่ สาขาวิชาชีววิทยา
สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ สาขาวิชา
สัตววิทยา สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาเคมี (อินทรีย์เคมี ชีวเคมี)
ในปีการศึกษานี้ คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ได้รับ
นิสิตปริญญาตรีของคณะเป็นรุ่นแรก จำนวน 54 คน และ
รับพระราชทานปริญญาบัตรรุ่นแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม
พ.ศ. 2513 ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 มีผู้สำเร็จการศึกษาเป็น
รุ่นที่ 2 และมีผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับเกียรตินิยมเป็นคนแรก
ของคณะ คือ สาขาวิชาชีวเคมี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชามนุษยศาสตร์ สำหรับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มีนิสิตจากคณะอื่นได้โอนย้ายมา
เรียนและได้สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2512 คือ คุณอุบล
(สิงหเนติ) เขียวรื่นรมย์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้รับปริญญาจาก
คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ (เพราะรุ่นแรกของ
คณะนี้รับปริญญาในปี พ.ศ. 2513) จนกระทั่งในปี พ.ศ.
2517 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ขึ้น หลักสูตรนี้
จึงโอนไปสังกัดคณะสังคมศาสตร์

สำหรับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
มนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ได้
เปิดสอนเพียง 4 รุ่น (พ.ศ. 2510-2513) ต่อมาใน พ.ศ. 2514
ได้ปรับปรุงหลักสูตรโดยเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น หลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2524
มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรนี้ก็โอนไป
สังกัดคณะมนุษยศาสตร์

อาคารเรียนในระยะเริ่มแรกของคณะวิทยาศาสตร์
และอักษรศาสตร์ยังกระจัดกระจายกันอยู่ แผนกวิชา
บางแผนกยังไม่มีที่ทำการอย่างถาวร แผนกวิชาเคมี
ในขณะนั้นอยู่ที่ตึกเคมีเก่า (ปัจจุบันเป็นกองปฐพีวิทยา
กรมวิชาการเกษตร) เป็นอาคารใหญ่ที่สุดของคณะในสมัยนั้น
มีห้องบรรยายขนาดใหญ่อยู่ 2 ปีกซ้ายขวา และมักจะใช้ใน
การทำกิจกรรมต่างๆ ของนิสิตในขณะนั้น ต่อมาจึงสร้าง
อาคารเคมีเพิ่มเติมอีกเป็นตึก 4 ชั้น ใต้ถุนโล่งและได้ต่อเติม
ชั้นล่างสุดเป็นห้องบรรยายภายหลัง

[[ไฟล์:ฺBld2.jpg|thumb|left|400px|ตึกเคมี ก่อสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2497 ได้ใช้สอนวิชาเคมีตั้งแต่ต้น ตั้งแต่แผนกเคมียังสังกัดอยู่ในคณะเกษตรศาสตร์]]
[[ไฟล์:ฺBld3.jpg|thumb|left|400px|ตึกเคมีต่อมาได้ต่อเติมปีกทั้ง 2 ข้าง และสร้างอาคารสี่ชั้นเพิ่มเติม เมื่อภาควิชาเคมี ได้มาสังกัดในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์]]

แผนกวิชาชีววิทยามีที่ทำการอยู่ที่ตึกชีววิทยาเก่า
ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ อาคาร
หลังนี้เป็นทั้งที่ทำงานของอาจารย์และเป็นห้องปฏิบัติการ
ของพฤกษศาสตร์ สัตววิทยา ส่วนห้องปฏิบัติการของ
จุลชีววิทยาได้อาศัยชั้นล่างของที่ทำการสำนักงานเลขาคณะ
ตึกหอสมุดเก่า แผนกวิชาคณิตศาสตร์มีที่ทำการอยู่ที่
อาคารชั่วคราวหลังที่อยู่ตรงข้ามกับคณะเศรษฐศาสตร์
และบริหารธุรกิจ (ปัจจุบันนี้อาคารนี้ได้รื้อไปแล้ว) ส่วนแผนก
วิชาฟิสิกส์มีที่ทำการอยู่ที่อาคารเรือนไม้ชั้นเดียวของแผนกวิชาเกษตรกลวิธาน แผนกวิชาภาษาและแผนกวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในขณะนั้นมีสำนักงานอยู่ที่ตึก
ธรรมศักดิ์มนตรี (ปัจจุบันเป็นหน่วยงานวิจัยนิวเคลียร์เทคนิค
การเกษตร กรมวิชาการเกษตร)

ในปี พ.ศ. 2510 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์
ได้รับโอนหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาสัตววิทยา พฤกษศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีววิทยา ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะ
กสิกรรมและสัตวบาลมาเปิดสอนเอง (ขณะนั้นยังไม่มี
บัณฑิตวิทยาลัย) นอกจากนี้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(วิทยาศาสตร์) สาขาวิชาฟิสิกส์ ได้ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2510
และเริ่มรับนิสิตปริญญาตรีรุ่นแรก ใน ปี พ.ศ. 2512

ต่อมาปี พ.ศ. 2512 มีการจัดตั้งสำนักงานเลขานุการ
คณะเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะวิทยาศาสตร์และ
อักษรศาสตร์ และให้เปลี่ยนชื่อ “แผนกวิชา” เป็น
“ภาควิชา” ตามประกาศสำนักงานนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่
16 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ในปีนี้มีนิสิตปริญญาโทสำเร็จ
การศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์เป็น
รุ่นแรก 2 คนทางสาขาวิชาสัตววิทยา

นอกจากนี้ อาคารหลังแรกของคณะวิทยาศาสตร์
และอักษรศาสตร์ได้สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2512 คือ ตึกฟิสิกส์
(อาคารวิฑูรย์ หงษ์สุมาลย์ในปัจจุบันนี้) โดยเป็นที่ทำการของ
ภาควิชาฟิสิกส์ สำนักงานเลขานุการคณะ และภาควิชาสถิติ
คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ได้รับโอนแผนกวิชาสถิติ
จากคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมาสังกัดคณะ
วิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.
2512 โดยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12
พฤษภาคม พ.ศ. 2513

ปี พ.ศ. 2513 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์
ได้รับนิสิตภาคสมทบเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ตามความต้องการ
ของรัฐบาลในสมัยนั้น โดยผ่านการคัดเลือกจากทบวง
มหาวิทยาลัย ให้นิสิตกลุ่มนี้เรียนในช่วงเย็นตั้งแต่ 16.30 น.
เป็นต้นไป และเรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ เมื่อนิสิตกลุ่มนี้ขึ้นชั้น
ปีที่ 2 ก็ปรับเข้ามาเรียนกับนิสิตภาคปกติและก็ไม่มีการ
รับนิสิตภาคสมทบอีก

ปี พ.ศ. 2514 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์
ได้ปรับปรุงหลักสูตรครั้งแรก โดยปรับปรุงหลักสูตร วท.บ.
(วิทยาศาสตร์) มาเป็น วท.บ. (คณิตศาสตร์) วท.บ. (เคมี)
วท.บ. (ฟิสิกส์) วท.บ. (สถิติ) วท.บ. (ชีววิทยา) และ
วท.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป) สำหรับ วท.บ. (ชีววิทยา)
สามารถเลือกเรียนได้หลายสาขา ได้แก่ ชีววิทยา สัตววิทยา
พฤกษศาสตร์ รังสีประยุกต์และไอโซโทป

และในปี พ.ศ. 2514 นี้ได้ยุบเลิกหลักสูตร ศศ.บ.
(สังคมศาสตร์) และ ศศ.บ. (มนุษยศาสตร์) แต่ได้เปิดหลักสูตร
ศศ.บ. (ภาษา) และ ศศ.บ. (คณิตศาสตร์) ขึ้นมาแทน
สำหรับหลักสูตร ศศ.บ. (คณิตศาสตร์) นี้รับนักเรียนที่จบ
ทางด้านศิลป – คณิต เข้ามาศึกษาโดยได้รับนิสิตรุ่นแรกใน
ปีการศึกษา 2517 จำนวน 39 คน แต่มีนิสิตส่วนใหญ่ได้
ขอย้ายไปเรียนหลักสูตร ศศ.บ. (สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา)
ของคณะสังคมศาสตร์ซึ่งตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2517 หลังจากนั้น
ไม่ได้เปิดรับนิสิตและมีบัณฑิตที่จบ ศศ.บ. (คณิตศาสตร์)
เพียง 4 คนเท่านั้น

ปี พ.ศ. 2515 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์
ได้ก่อสร้างอาคารหลังที่ 2 คือ ตึกชีววิทยา ซึ่งเป็นที่ทำการของ
ภาควิชาชีววิทยา โดยชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นห้องปฏิบัติการ
ชั้นที่ 3 เป็นห้องทำงานและห้องปฏิบัติการทางด้าน
จุลชีววิทยา ชั้นที่ 4 เป็นห้องทำงานและห้องปฏิบัติการ
ทางด้านสัตววิทยา และชั้นที่ 5 เป็นห้องทำงานและห้อง
ปฏิบัติการทางด้านพฤกษศาสตร์ นอกจากนี้ภาควิชาสถิติ
ได้ย้ายจากตึกฟิสิกส์มาอยู่ชั้นที่ 2 ด้านติดกับตึกฟิสิกส์

[[ไฟล์:ฺBld4.jpg|thumb|right|400px|ตึกฟิสิกส์ และตึกชีววิทยาหลังใหม่ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2512 และ 2515 ตามลำดับ]]

ปี พ.ศ. 2517 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้ง
คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จึงได้โอนย้ายจากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ไป
สังกัดคณะสังคมศาสตร์ นิสิตปี 1 ที่รับเข้าศึกษาหลักสูตร
ศศ.บ. (คณิตศาสตร์) ได้ขอโอนย้ายไปเรียนหลักสูตร ศศ.บ.
(สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา) ของคณะสังคมศาสตร์

ปี พ.ศ. 2518 เป็นปีที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์
ของคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ คณะได้ถวายงาน
รับใช้ พระราชวงศ์ถึง 2 พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กล่าวคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีทรงเข้าศึกษาใน
คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ โดยทรงเลือกวิชาเคมี
เป็นสาขาวิชาเอก เน้นอินทรีย์เคมี และทรงสำเร็จการศึกษา
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2522 โดยได้รับพระราชทาน
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
และทรงได้รับพระราชทานเหรียญรางวัลเรียนดีเป็นประจำ
ทุกปี นับเป็นพระกรุณาธิคุณและเป็นเกียรติอย่างยิ่งแก่
มหาวิทยาลัย

พระราชวงศ์องค์ที่ 2 ที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณ
อย่างยิ่งต่อคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ คือ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ด้วยทรงรับเป็นอาจารย์พิเศษ
เสด็จฯ มาทรงสอนวิชาวรรณคดีฝรั่งเศสและทรงให้คำ
ปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดตั้งสาขาวิชา
ภาษาฝรั่งเศสที่ภาควิชาภาษาในปีพุทธศักราช 2518-
2522 นอกจากนี้ยังพระราชทานทุนการศึกษาแก่นิสิต
ภาควิชาภาษา ชื่อ “ทุนหนังสือ กว” ด้วยสำนึกใน
พระกรุณาธิคุณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยคณะ
วิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญา
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2522

ปี พ.ศ. 2518 เป็นปีแรกที่คณะวิทยาศาสตร์และ
อักษรศาสตร์ ได้ทำความตกลงกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในการที่คณะวิทยาศาสตร์และ
อักษรศาสตร์จะรับสอนหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์
(หลักสูตร 2 ปี) ให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้า และในปีนี้คณะเริ่มดำเนินการสอน
หลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ให้แก่วิทยาลัยแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ปี พ.ศ. 2520 เปิดสอนหลักสูตร วท.บ. (ชีววิทยา)
สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป โดยเริ่มรับนิสิตรุ่นแรก
ในปีการศึกษา 2520

ปี พ.ศ. 2521 ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ญาณสุคนธ์
คณบดีคนแรกได้เกษียณอายุราชการ ต่อมา ศาสตราจารย์
ดร.กฤษณา ชุติมา ได้ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะ
วิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์คนที่ 2

ปี พ.ศ. 2522 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์
ได้เริ่มเปิดสอนวิชาบริการที่วิทยาเขตกำแพงแสน
ในระยะแรกได้เปิดสอนวิชาเฉพาะวิชาบังคับในหลักสูตร
ปีที่ 3 เช่น วิชาชีวเคมี พันธุศาสตร์ สถิติ สรีรวิทยาของพฤกษ์
ต่อมาได้เปิดสอนวิชาอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ได้แก่ วิชาพฤกษศาสตร์
วิชาสัตววิทยา วิชาจุลชีววิทยา วิชาฟิสิกส์ วิชาคณิตศาสตร์
และวิชาภาษา

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2523 ศาสตราจารย์
ดร.กฤษณา ชุติมา ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ (ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์
อิงคสุวรรณ เป็นอธิการบดี ในขณะนั้น) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.สุขประชา วาจานนท์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์แทน
นับเป็นคณบดีคนที่ 3 ของคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2524 ภาควิชาชีววิทยาก็ถูก
ยกเลิกและแยกออกมาเป็นภาควิชาใหม่ 5 ภาควิชา คือ
ภาควิชาจุลชีววิทยา
ภาควิชาพฤกษศาสตร์
ภาควิชาสัตววิทยา ภาควิชาพันธุศาสตร์ และภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป

[[ไฟล์:ฺBld5.jpg|thumb|right|250px|ภาพถ่ายมุมสูงคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]

=== ยุคที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน) <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : ความเป็นมาของคณะวิทยาศาสตร์ </ref> ===

ในปี พ.ศ. 2524 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะวิทยาศาสตร์” เมื่อวันที่
17 มิถุนายน พ.ศ. 2524 โดยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2524 โดยมี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขประชา วาจานนท์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์

ขณะนั้นคณะวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย 10 ภาควิชา และสำนักงานเลขานุการคณะอีก 1 หน่วยงาน
เปิดสอนในระดับปริญญาตรี

นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ยังเปิดสอนหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ ให้แก่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้า และได้ปรับปรุงหลักสูตร 2 ปี เป็นหลักสูตร 1 ปี และได้ใช้หลักสูตรนี้จนถึงปัจจุบัน โดยสำนักงานเลขานุการคณะ
เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่นิสิตเตรียมแพทยศาสตร์ ในการดูแลจัดหาห้องเรียน ห้องพัก อุปกรณ์เครื่องใช้ในการเรียน
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการจัดกิจกรรมต่างๆ

ปี พ.ศ. 2537 รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ เจียมสกุล ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์
คนที่ 5

ปี พ.ศ. 2549 ดร.สุรพล ภัทราคร ได้รับการแต่งตั้งให้
ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คนที่ 6

ปี พ.ศ. 2557 ศาสตราจารย์ ดร.สุภา หารหนองบัว ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดี
คณะวิทยาศาสตร์ คนที่ 7

ปี พ.ศ. 2560 รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดี
คณะวิทยาศาสตร์ คนที่ 8

ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งส่วนงานออกเป็น
13 ภาควิชา และ สำนักงานเลขานุการคณะ 1 หน่วยงาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นหนึ่งในคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศที่เน้น
การวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตทุกระดับการศึกษา
โดยดำเนินงานตามภารกิจหลักทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การผลิต
บัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุง
ศิลปวัฒนธรรม ตามปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัย
มาอย่างต่อเนื่อง และมีเจตจำนง วิสัยทัศน์ ค่านิยมและ
พันธกิจที่สำคัญของคณะวิทยาศาสตร์


== ภาควิชาและหลักสูตร ==
== ภาควิชาและหลักสูตร ==
บรรทัด 624: บรรทัด 180:
|}
|}
'''หมายเหตุ''' คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
'''หมายเหตุ''' คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

== อันดับและมาตรฐานของคณะ ==
ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา จาก QS world university ranking by subject <ref>https://www.topuniversities.com/. "QS World University Rankings by Subject" </ref> โดย QS หรือ [[แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส]] พบว่า [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก 2 กลุ่มวิชา ใน 2 สาขา ได้แก่ กลุ่ม Natural Sciences และ กลุ่ม Life Sciences & Medicine รายละเอียดดังนี้
{| class="wikitable" width="24%" align="right" style="text-align:center;"
! colspan="6" style="background: #2E3192; color: White; " |QS World University Rankings by Subject
|-
! colspan="2" style="background: #DDDAEA; color: White; " |ปี 2018
! colspan="2" style="background: #DDDAEA; color: White; " |ปี 2017
! colspan="2" style="background: #DDDAEA; color: White; " |ปี 2015
|-
| width="12%" |<small>กลุ่ม Life Sciences & Medicine</small>
| width="5%" |<small>อันดับ</small>
|<small>กลุ่ม Life Sciences & Medicine</small>
|<small>อันดับ</small>
|<small>กลุ่ม Life Sciences & Medicine</small>
|<small>อันดับ</small>
|-
|<small>'''Biological Sciences'''</small>
|<small>401-450</small>
|<small>'''Biological Sciences'''</small>
|<small>401-450</small>
|<small>'''Biological Sciences'''</small>
|<small>301-400</small>
|-
| width="10%" |<small>กลุ่ม Natural Sciences</small>
| width="5%" |<small>อันดับ</small>
|<small>กลุ่ม Natural Sciences</small>
|<small>อันดับ</small>
|
|
|-
| width="10%" |<small>'''Chemistry'''</small>
| width="5%" |<small>451-500</small>
|<small>'''Chemistry'''</small>
|<small>451-500</small>
|
|
|}

==== '''<u>ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2018</u>''' <ref>https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2018. "QS World University Rankings by Subject 2018" </ref> ====
กลุ่ม Life Sciences & Medicine

'''อันดับที่ 401-450 ของโลก'''

'''- สาขา Biological Sciences'''

กลุ่ม Natural Sciences

'''อันดับที่ 451-500 ของโลก'''

'''- สาขา Chemistry'''

==== '''<u>ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2017</u>''' <ref>https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2017. "QS World University Rankings by Subject 2017" </ref> ====
กลุ่ม Life Sciences & Medicine

'''อันดับที่ 401-450 ของโลก'''

'''- สาขา Biological Sciences'''

กลุ่ม Natural Sciences

'''อันดับที่ 451-500 ของโลก'''

'''- สาขา Chemistry'''

==== '''<u>ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2015</u>''' <ref>https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2015. "QS World University Rankings by Subject 2015" </ref> ====
กลุ่ม Life Sciences & Medicine

'''อันดับที่ 301-400 ของโลก'''

'''- สาขา Biological Sciences'''

== พิพิธภัณฑ์ภายในคณะ ==

* '''พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา (Zoological Museum)''' ภาควิชาสัตววิทยา [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาเป็นแหล่งเรียนรู้ 1 ใน 12 แหล่งของ[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]

พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาจัดแสดง นิทรรศการและตัวอย่างสัตว์ในรูปแบบความหลากหลายและวิวัฒนาการของ อาณาจักรสัตว์ที่พบในประเทศไทย ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลและพัฒนางานวิจัยด้านความหลากหลายของสัตว์โดยบุคลากรของภาควิชาสัตววิทยา ตัวอย่างที่เป็น highlights ของพิพิธภัณฑ์สัตววิทยามีความหลากหลายในแง่ สถานภาพใกล้สูญพันธ์ หายาก และยังมีตัวอย่างจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่ให้ความรู้หลากหลาย เช่น กลุ่มหอยทะเล จระเข้ นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน เช่นนิทรรศการกะดูก เป็นต้น ทั้งนี้

พิพิธภัณฑ์สัตววิทยายังเป็นแหล่งข้อมูลด้านการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของสัตว์ให้กับนักวิจัยไทยและต่างประเทศโดยมีส่วนที่เป็นตัวอย่างอ้างอิงมาจากงานวิจัยของคณาจารย์ซึ่งมีการค้นพบชนิดพันธ์ใหม่ของโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น แมลงชีปะขาว พยาธิตัวตืด ปาดเรียวมลายู เป็นต้น

<gallery mode="packed" heights="150" caption="">
ไฟล์:Zoo mus.jpg|<center>นิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์สัตววิทยา</center>
ไฟล์:Zoo building.jpg|<center>ตึกสัตววิทยา ที่ตั้งของภาควิชาสัตววิทยาและพิพิธภัณฑ์สัตววิทยา</center>
</gallery>

== สถานที่สำคัญภายในคณะ ==
1. ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ๖๐ พรรษา | The Princess Chulabhorn Science Research Center ( In Celebration of Princess Chulabhorn’s 60th Birthday )

2. ตึกสัตววิทยา | Zoology Building

3. อาคารวิฑูรย์ หงส์สุมาลย์ (ตึกฟิสิกส์) | Physics Building

4. ตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์ | Microbiology-Genetics Building

5. อาคารกฤษณา ชุติมา (ตึกเคมี) | Chemistry Building

6. อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ ๔๕ ปี | Science 45 Years Building

7. ตึกชีวเคมี | Biochemistry Building

8. ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ | Learning Science Center

9. เรือนเพาะชำ | Nursery

10. อาคารสุขประชา วาจานนท์ (ตึกวิทยาศาสตร์ ๒๕ ปี) | Science 25 Years Building

11. อาคารทวี ญาณสุคนธ์ (SCL) | Science Laboratory Building

12. ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ | Suwan Vajokkasikij Building

<gallery mode="packed" heights="300" caption="หมู่ตึกในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์">
ไฟล์:ตึกฟิสิกส์ มก 3.jpg|<center>อาคารวิฑูรย์ หงษ์สุมาลย์ (ตึกฟิสิกส์) ออกแบบโดย อาจารย์องอาจ สาตรพันธุ์ พ.ศ. 2512</center>
ไฟล์:ตึกเคมี มก.jpg|<center>อาคารกฤษณา ชุติมา ภาควิชาเคมี</center>
ไฟล์:Tavee.jpg|<center>อาคารทวี ญาณสุคนธ์ (ตึก SCL)</center>
ไฟล์:MicroKU.jpg|<center>ตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์</center>
</gallery>

== สมาคมนิสิตฯ/สโมสรนิสิตฯ ==
*[http://www.sci.ku.ac.th:8000/scikualumni// สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สวมก.) | Science Alumni Association of Kasetsart University (SAAKU)] <ref>http://www.sci.ku.ac.th:8000/scikualumni/. "สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" </ref>

'''ก่อนจะมาเป็นสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์'''

ด้วยการสนับสนุนของรองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ เจียมสกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น นิสิตเก่าของคณะรุ่นแรกๆ จำนวนหนึ่งนำโดย คุณปรีชา ธรรมนิยม นิสิตเก่า วท.วอ.รุ่น 1 (ประธานชมรมนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์) ได้มีการรวมกลุ่มกันและจัดตั้ง ''“ชมรมนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”'' ขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อทำหน้าที่รวบรวมนิสิตเก่ารุ่นต่าง ๆ ประสานงานระหว่างนิสิตเก่าด้วยกันและระหว่างนิสิตเก่ากับคณะฯ ในการที่จะเกื้อกูลและสนับสนุนนิสิตเก่าด้วยกัน หรือกลับมาส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของคณะฯ <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/04/sciku50years-01.pdf. หนังสือ "ครึ่งศตวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อความเป็นเลิศ" </ref>

จาก ''"ชมรมนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"'' ได้พัฒนาต่อเนื่อง กระทั่งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ก่อตั้งขึ้นเป็น '''"สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"''' โดยมีรองศาสตราจารย์นิดา ชาญบรรยง ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มก. คนแรก และ นายยศพงษ์ เต็มศิริพงศ์ เป็นนายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน

'''วัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมฯ'''

เพื่อเป็นองค์กรในการประสานงานและดำเนินกิจกรรมของนิสิตเก่าฯ และ สมาชิก ส่งเสริมกิจกรรมและการดำเนินงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมด้านวิชาชีพวิทยาศาสตร์ ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม รวมทั้งเกษตรกร ส่วนราชการ ธุรกิจเอกชน ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่งเสริมและพัฒนาบัณฑิต มก. ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพโดยให้มีความรู้อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง ถ่องแท้ ในองค์ความรู้ทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพวิทยาศาสตร์ให้ดีขึ้น และสามารถปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการศึกษา การค้นคว้า การสำรวจและประสบการณ์ทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์ให้กว้างขวางมากขึ้นในประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือ และประสานงานกับสมาชิกองค์กรอื่น ในการดำเนินการที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกหรือสังคมส่วนรวม ธำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของสมาชิก และจรรยาบรรณวิชาชีพวิทยาศาสตร์ <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/04/sciku50years-01.pdf. หนังสือ "ครึ่งศตวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อความเป็นเลิศ" </ref>

'''การดำเนินงานของสมาคมฯ'''
ในช่วงที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีของสมาชิก สร้างเครือข่ายกับสมาคมคณะต่าง ๆ และกิจกรรมหารายได้ อาทิ <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/04/sciku50years-01.pdf. หนังสือ "ครึ่งศตวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อความเป็นเลิศ" </ref>

- การมอบทุนสนับสนุนกิจกรรมสโมสรนิสิตในการจัดค่ายอาสา และอื่น ๆ

- การเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาสามบูรพาจารย์ เนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- เข้าร่วมพบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมร่วมกับสมาคมอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในงาน KU Network Party

- จัดโครงการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศลในโอกาสครบรอบ 50 ปี คณะวิทยาศาสตร์รายได้ส่วนหนึ่งนำสมทบกองทุนคณะวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

*[https://www.sci.ku.ac.th/news/tag/student-club// สโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | Science Student Club Kasetsart University (SMO SCIENCE KU)]

<gallery mode="packed" heights="150" caption="">
ไฟล์:KU SCIENCE Alumni logo (โลโก้ สมาคมนิสิตเก่า วท. มก.).jpg|<center>เครื่องหมายสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</center>
ไฟล์:Smosciku.jpg|<center>เครื่องหมายสโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</center>
ไฟล์:52 ปี วท.มก.jpg|<center>คืนสู่เหย้า 52 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</center>
</gallery>

== งานประชุมวิชาการนานาชาติ ==

* International Kasetsart University Science and Technology Annual Research Symposium '''([http://www.sci.ku.ac.th:8000/ikustars// I-KUSTARS])''' <ref>http://www.sci.ku.ac.th:8000/ikustars/?page_id=18. "โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS" </ref>

คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้มุ่งหวังให้นิสิต นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ และอาจารย์ ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอันจะเป็นการสร้างบรรยากาศทางวิชาการ ก่อให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตและบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและการวิจัย อีกทั้งเป็นการสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/04/sciku50years-01.pdf. หนังสือ "ครึ่งศตวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อความเป็นเลิศ" </ref>

* The International Conference on Materials Research and Innovation '''([http://www.icmari.sci.ku.ac.th// ICMARI])''' <ref>http://www.icmari.sci.ku.ac.th/. "การประชุมวิชาการนานาชาติ ICMARI" </ref>

The conference will be conducted in frontier research on materials research and Innovation including Rubbers and Composites, Biomaterials, Materials of Energy and Environmental Applications, Computational Model and Simulations, and Industrial Innovation. The ICMARI was announced in order to created and build up collaboration network and sharing experience among researchers in ASEAN and around the world. It is a great opportunity for all participants to exchange knowledge and strengthen the research collaboration. We hope that the participants will be fruitful by invited speakers in knowledge, application, novel technology in the field of materials research and innovation.

== ชีวิตและกิจกรรมในคณะ ==
[[ไฟล์:Sci KU song.jpg|thumb|right|เพลงประจำคณะวิทยาศาสตร์ "วิทยาศาสตร์ปณิธาน"]]
[[ไฟล์:Zgcamp1.jpg|300px|right|thumb|ค่ายสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ (Zygote Camp)]]
* เพลงประจำคณะ '''“วิทยาศาสตร์ปณิธาน”''' <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : เพลงประจำคณะ “วิทยาศาสตร์ปณิธาน” </ref>

{{คำพูด|''เหล่าคณะวิทยาศาสตร์ เก่งฉกาจวิชาเกรียงไกร''

''โดนเด่นนำเทคโนนำชัย เกียรติชาวไทยสากลเทียมทัน''

''น้ำเงินเราจักค้ำชู เคียงคู่เขียวขจีโบกสวรรค์''

''จิตมีไมตรีพร้อมเพรียงกัน เสกสรรทั่วแคว้นแดนแผ่นดิน''

''จะผลิตนิสิตคุณภาพ อิ่มเอิบอาบแสงธรรมอาจิณ''

''เศรษฐกิจพัฒนาโภคิณ หมั่นทำกินสังคมยืนยง''|เนื้อร้อง-ทำนอง ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร|ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร]]<ref name=Song>{{cite web | url = https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf | title = วิทยาศาสตร์ | publisher = ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร }}</ref>}}

* กิจกรรมสอนน้องร้องเพลง
" เสียงนิสิตรุ่นพี่ที่สอนรุ่นน้องให้ร้องเพลงประจำ
คณะของพวกเขา ซึ่งดังก้องสนั่นในทุกๆ ปี ที่มีน้องใหม่
เข้ามาในคณะวิทยาศาสตร์ เป็นสัญญาณแห่งความทรงจำ
ที่ย้ำเตือนให้เราชาวคณะวิทยาศาสตร์ทุกคน มีความสำนึก
รัก ภาคภูมิ ในความเป็นวิทยาศาสตร์ มก. และมุ่งมั่น
ด้วยปณิธานอันแรงกล้าที่จะนำความรู้วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี ไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างเต็มความ
สามารถต่อไป " <ref>https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : เพลงประจำคณะ “วิทยาศาสตร์ปณิธาน” </ref>
* Sci@First Sight
* VIDYA TUTOR
* SC Science Sports Game
* ค่ายเกียร์-อะตอม
* ค่ายสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ (Zygote Camp) <ref>https://www.camphub.in.th/zygotecamp-9/. "ค่ายสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 9 (Zygote Camp Part IX)” </ref>
* กิจกรรมเปิดบ้านมหาวิทยาลัยเด็ก [http://sci.ku.ac.th:8000/childku// (Thailand Children’s University)] <ref>http://sci.ku.ac.th:8000/childku/."มหาวิทยาลัยเด็ก-เปิดบ้านมหาวิทยาลัยเด็ก@SCIKU” </ref>

== กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย ==

* กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Atom Games) : [[กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย]]หรือ อะตอมเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง[[คณะวิทยาศาสตร์]] จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ

* กีฬาประเพณีวิทยาศาสตร์ เกษตร-ลาดกระบัง


== นิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง ==
== นิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง ==
{{ดูเพิ่มที่|รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์}}
{{ดูเพิ่มที่|รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์}}
* [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]]
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคณาจารย์ที่สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและวงการวิทยาศาสตร์ รวมทั้งได้ผลิตนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรที่ประสบความสำเร็จในหลากหลายสาขาทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ/ผู้ประกอบการ ตลอดจนมีบทบาทด้านการเมืองการปกครองของชาติ สามารถดูรายพระนามและรายนามนิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเพิ่มเติมได้ที่ [[รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
* [[เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต]] คณบดี[[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]

* [[จำรัส ลิ้มตระกูล]] ศาสตรเมธาจารย์คนแรกของประเทศไทย / [[นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ]] / [[เมธีวิจัยอาวุโส สกว.]]
* [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี|ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] (ศิษย์เก่า) เกียรตินิยมอันดับ 1 / เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม / รางวัลเหรียญทองคำ [[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]] ปี พ.ศ. 2529
*[[ศ.ดร.สาวิตรี ลิ่มทอง]] [[ราชบัณฑิต]]ประเภทวิชา[[วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ]] สาขาวิชา[[จุลชีววิทยา]]
* [[เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต|ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต]] คณบดี[[คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
* [[จำรัส ลิ้มตระกูล|ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล]] ศาสตรเมธาจารย์คนแรกของประเทศไทย / [[นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ]] / [[เมธีวิจัยอาวุโส สกว.]]
* [[ท่านผู้หญิง]][[นิรมล สุริยสัตย์]] (บุคลากร) อดึตประธานกรรมการ บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด / อดีต[[วุฒิสมาชิก]]กรุงเทพมหานคร 2 สมัย
* [[พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ|พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ]] (ศิษย์เก่า) อดีตรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงพลังงาน]]
* [[จีราวรรณ บุญเพิ่ม]] (ศิษย์เก่า) ปลัด[[กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]]
* [[จีราวรรณ บุญเพิ่ม]] (ศิษย์เก่า) ปลัด[[กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]]
* [[ผุสดี ตามไท|ผศ.ดร.ผุสดี ตามไท]] (ศิษย์เก่า-บุคลากร) ส.ส.[[พรรคประชาธิปัตย์]]หลายสมัย
* [[ผุสดี ตามไท|ผศ.ดร.ผุสดี ตามไท]] (ศิษย์เก่า-บุคลากร) ส.ส.[[พรรคประชาธิปัตย์]]หลายสมัย
*ยศพล หาญวณิชย์เวช (ศิษย์เก่า) ผู้รับพระราชทาน[[มูลนิธิอานันทมหิดล|ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล]] แผนกเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2558
* [[ทวี ญาณสุคนธ์|ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ญาณสุคนธ์]] (บุคลากร) นัก[[จุลชีววิทยา]]คนแรกแห่งประเทศไทย / อดีตคณบดี[[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
* [[งามผ่อง คงคาทิพย์|ศาสตราจารย์ ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์]] (ศิษย์เก่า/บุคคากร) รางวัลนักวิจัยดีเด่น (ด้านสมุนไพร) ปี พ.ศ. 2549
* [[กฤษณา ชุติมา|ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ชุติมา]] (บุคลากร) พระอาจารย์ที่ปรึกษาใน[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] / อดีตคณบดี[[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] / นักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้มีผลงานดีเด่นของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2539 / [[ราชบัณฑิต]]ประเภทวิชา[[วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ]] สาขาวิชา[[เคมี]] /กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภา[[มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์]]
* [[นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์|รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์]] (บุคลากร) รางวัลเมธีส่งเสริมนวัตกรรม (Innovation Ambassador) ปี พ.ศ. 2549 สาขาธุรกิจชีวภาพ (Bio-Business) จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้อำนวยการ[[สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร]] (องค์การมหาชน)
* [[สุภา หารหนองบัว|ศาสตราจารย์ ดร.สุภา หารหนองบัว]] (บุคลากร) [[รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่]] ปี พ.ศ. 2540 / [[รางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand]] 2002 / [[รางวัลทุนวิจัยโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์]] ปี พ.ศ. 2549 โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ / อดีตคณบดี[[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
* [[ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ]] (บุคลากร) นักวิชาการเผยแพร่การเกษตร และนิสิตในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
* [[พิบูลย์ พันธุ|ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิบูลย์ พันธุ]] (ศิษย์เก่า) รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นสำหรับผู้ได้รับทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ปี พ.ศ. 2548 จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
* [[พรสวาท วัฒนกูล|ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสวาท วัฒนกูล]] (บุคลากร) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ปี พ.ศ. 2556
* [[รุ้งนภา ทองพูล|ดร.รุ้งนภา ทองพูล]] (ศิษย์เก่า) รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ปี พ.ศ. 2547
*[[ปรีชา ธรรมนิยม]] (ศิษย์เก่า) อดีตรองอธิบดี[[กรมวิทยาศาสตร์บริการ]] [[กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ประเทศไทย)|กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]]
*[[วินัย กญิกนันท์]] (ศิษย์เก่า) อดีตหัวหน้า[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา]] [[กรมป่าไม้]] [[กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)|กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]]
*[[รองศาสตราจารย์ ดร.มิ่งขวัญ มิ่งเมือง]] (ศิษย์เก่า) คณบดี[[คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม]] [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา]]
*[[เพ็ญศรี บุญเรือง]] (ศิษย์เก่า) อดีตผู้อำนวยการ[[กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ]] [[กรมประมง]] [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]]
* [[ก่องกานดา ชยามฤต|ดร.ก่องกานดา ชยามฤต]] (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการ[[องค์การสวนพฤกษศาสตร์|องค์การสวนพฤกศาสตร์]]
*ยศพล หาญวณิชย์เวช (ศิษย์เก่า) ผู้รับพระราชทาน[[มูลนิธิอานันทมหิดล|ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล]] [[แผนกเกษตรศาสตร์]] ประจำปี พ.ศ. 2558

== ผลงาน/รางวัล ==
[[ไฟล์:ดร.ประหยัด นันทศีล นักธรณีวิทยา-อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทย์ มก.jpg|thumb|คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมสำรวจขั้วโลกใต้]]
[[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|คณะวิทยาศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] มีผลงานวิจัยทั้งภายในประเทศและระดับโลกจากคณาจารย์และนิสิต โดยผลงานเด่นระดับโลก ได้แก่

* ได้รับการคัดเลือกให้ไปร่วม'''สำรวจทวีปแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้)''' กับทีม JARE 58 ประเทศญี่ปุ่น หรือ Japanese Antarctic Research Expedition 58


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:20, 2 ตุลาคม 2561

คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Science
Kasetsart University
ไฟล์:ตราสัญลักษณ์คณะวิทยาศาสตร์ มก.jpg
คติพจน์เป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน
สถาปนา9 มีนาคม พ.ศ. 2509
คณบดีรศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน
ที่อยู่
สี  สีน้ำเงิน[1]
มาสคอต
อะตอม
เว็บไซต์www.sci.ku.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสถาปนาเป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก นอกจากนี้ ยังเปิดสอนหลักสูตรเตรียมแพทย์ ให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า อีกด้วย

ประวัติ

เมื่อแรกสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 นั้น การเรียนการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์ ได้รับการจัดตั้งเป็นแผนกเคมี ในสังกัดคณะเกษตร และแผนกชีววิทยา ในสังกัดคณะประมง รวมทั้ง มีการสอนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในคณะสหกรณ์ ต่อมา สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงมีมติให้จัดตั้ง "คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์" ขึ้นเมื่อวันที่ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยให้ถือเป็นวันสถาปนา คณะวิทยาศาสตร์

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการจัดตั้ง คณะสังคมศาสตร์ จึงมีการโอนภาควิชาสังคมศาสตร์ฯ ไปสังกัดคณะสังคมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2524 ภาควิชาภาษา ได้โอนไปสังกัด คณะมนุษยศาสตร์ ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะวิทยาศาสตร์"

ภาควิชาและหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
    • สาขาชีววิทยา
    • สาขาสัตววิทยา
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพรังสี
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)

  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชามาตรวิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
  • สาขาวิชาวิทยาการวัสดุนาโน
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป
  • สาขาวิชาสัตววิทยา
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาสถิติ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
  • สาขาวิชาวิทยาการวัสดุนาโน
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตววิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาสถิติ

รายละเอียดแต่ละภาควิชา

ภาควิชา รายละเอียด
คณิตศาสตร์
  • จัดการเรียนการสอนทั้งสาขาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เพื่อมุ่งผลิตนักคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางประสิทธิภาพ และเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนดีต่อสังคม และประเทศชาติ
  • บัณฑิตที่จบจากภาควิชาคณิตศาสตร์ สามารถนำเอาความรู้ไปประกอบวิชาชีพ อาทิ นักวิชาการ ครูอาจารย์ นักวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน นักวิจัย และงานด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เคมี
  • เป็นหน่วยงานชั้นนำในการผลิตบัณฑิตเคมีที่มีคุณภาพในระดับแนวหน้า ตอบสนองความต้องการบุคลากรของประเทศทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี พอลิเมอร์ สิ่งทอ อัญมณี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ภาควิชาเคมีมุ่งเน้นให้นิสิตมีความเข้มแข็งในวิชาเคมี ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ คณาจารย์ภาควิชาเคมีได้อุทิศตนทุ่มแทให้กับการสอนและการวิจัย โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ คณาจารย์ภาควิชาเคมีได้สร้างผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการที่มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างเคร่งครัดเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณค่าและมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทางด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ ภาควิชาเคมีได้สร้างความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ โดยเป็นสมาชิกเครือข่ายแห่งความเป็นเลิศทางเคมี
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาเคมี สามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนได้หลายแห่ง เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โรงงานอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ บริษัทเอกชนที่เป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินธุรกิจเป็นเจ้าของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประยุต์ใช้ความรู้ทางเคมีได้อีกด้วย
จุลชีววิทยา
ชีวเคมี
  • ให้การศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมีพื้นฐานในสิ่งมีชีวิต ชีววิทยาโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตการศึกษาในเชิงลึก เช่น ชีวเคมีโปรตีน-โครงสร้าง และการประยุกต์ใช้อื่น ๆ เช่น ชีวสารสนเทศทางชีวเคมีประยุกต์ในทางการเกษตรอุตสาหกรรม ประมง อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางชีวเคมีอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในสายงานที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถประยุกต์คิดค้น หรือแสวงหาความรู้ใหม่อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการค้นคว้าวิจัยด้านชีวเคมี ให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์สอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศและทันต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาชีวเคมี สามารถประกอบอาชีพเป็น อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการประกอบอาชีพในบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้การศึกษาจากภาควิชาชีวเคมียังสามารถศึกษาต่อได้ในหลายสาขา ทั้งสาขาชีวเคมีโดยตรงหรือเลือกศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่าง ๆ วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตร ชีวนาโนเทคโนโลยี และวิศวกรรมชีวเคมี เป็นต้น
พฤกษศาสตร์
  • ให้การศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยาพืชทุก ๆ ด้าน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับชีวโมเลกุลเซลล์จนถึงพืชทั้งต้น นักพฤกษศาสตร์ในปัจจุบันต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์กว้างขวาง เพื่อให้สามารถเข้าใจพืชเกี่ยวกับ วิถีการสร้างพลังงาน การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ สังคมพืช นิเวศวิทยา การนำไปใช้ประโยชน์และอื่น ๆ
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ จะมีความรู้ความชำนาญและสามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชน ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สภาวิจัยแห่งชาติ กองสวนกรุงเทพมหานคร สวนหลวง ร.9 องค์กรสวนพฤกษศาสตร์ ธุรกิจผลิตพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
พันธุศาสตร์
  • ให้การศึกษาพันธุศาสตร์สาขาต่าง ๆ ได้แก่ พันธุศาสตร์พื้นฐาน พันธุศาสตร์ประชากร พันธุศาสตร์โมเลกุล พันธุวิศวกรรม พันธุศาสตร์สภาวะแวดล้อมและพันธุศาสตร์ประยุกต์อีกหลายวิชา โดยให้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในฐานะนักวิชาการพันธุศาสตร์ นักวิจัยและนักปรับปรุงพันธุ์พืชสัตว์และจุลินทรีย์สำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก มุ่งเน้นการเรียนและการค้นคว้าวิจัยทั้งทางด้านพันธุศาสตร์ประยุกต์ และพันธุศาสตร์พื้นฐาน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางพันธุศาสตร์ระดับสูง
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาพันธุศาสตร์ สามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนได้หลายแห่ง เช่น วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โรงพยาบาล กรมปศุสัตว์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม อาหารและประกอบธุรกิจส่วนตัว
ฟิสิกส์
รังสีประยุกต์และไอโซโทป
  • ให้การศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางรังสีและนิวเคลียร์ เช่น วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ การป้องกันรังสีเทคนิคการวัดรังสี ชีววิทยารังสีเบื้องต้น รังสีกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม เทคนิคการแกะรอยด้วยไอโซโทปทางชีววิทยา เทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสี รังสีและการกลายพันธุ์ การวิเคราะห์โดยวิธีทางนิวเคลียร์ การใช้รังสีและไอโซโทปในการเกษตรและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ สามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนได้หลายแห่ง เช่น งานด้านชีววิทยาการเกษตรและการใช้ประโยชน์จากรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ เช่น กรมวิชาการเกษตร สำนักงานปรมาณู สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์กรเอกชน) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลและโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้กัมมันตภาพรังสีควบคุมผลิตภัณฑ์ เป็นต้น และสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอก ได้ทั้งภายในและต่างประเทศ
วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ให้การศึกษาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น หลักการเขียนโปรแกรมขั้นตอนวิธีและโครงสร้างข้อมูล การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การจัดการฐานข้อมูล การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิกและทฤษฎีปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
  • การศึกษาในสาขาวิชานี้เป็นการศึกษากระบวนการและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบโลก ประกอบด้วย บรรยากาศภาค (Autosphere) อุทกภาค (Hydrosphere) ธรณีภาค (Lithosphere) และชีวภาค (Biosphere) พร้อมทั้งศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของภาคต่าง ๆ เหล่านั้น รวมถึงความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ใช้ประโยชน์ และ ผู้ทำให้เกิดและได้รับผลกระทบ นิสิตสามารถประยุกต์ ความรู้ที่เรียนมาในการประเมินสถานภาพทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่รวมถึง แนวทางจัดการ/แก้ไข/ลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ โดยในหลักสูตรมีภาคปฏิบัติการ การศึกษาภาคสนาม การศึกษาดูงานทั้งหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ และประสบการณ์แก่นิสิต
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ให้การศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมระดับปริญญาตรี (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) และปริญญาโท (เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม) เพื่อให้นิสิตมีพื้นฐานความรู้และสามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านทรัพยากรธรรมชาติ นิเวศวิทยา และปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการเพื่อให้เกิดทักษะและประสบการณ์สิ่งแวดล้อม
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป เข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรอิสระ ที่ต้องการผุ้มึความรู้และประสบการณ์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
สัตววิทยา
สถิติ
  • ภาควิชาสถิติได้ดำเนินการเปิดสอน หลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกสาขาวิชาสถิติ อย่างละ 1 หลักสูตร คือ วท.บ.(สถิติ) วท.ม.(สถิติ) ปร.ด.(สถิติ)
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาสถิติ จะมีความรอบรู้วิชาทางด้านสถิติทั้งในภาควิชาทฤษฎีและประยุกต์ ตลอดจนมีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์และการใช้ซอฟต์แวร์ทางสถิติ จึงสามารถทำงานได้ทั้งทางด้านสถิติและคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของตำแหน่งงานที่ทำ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ, โปรแกรมเมอร์, วิศวกรควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นักสถิติ, นักวิเคราะห์การตลาด อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย เป็นต้น

ทำเนียบคณบดี

ทำเนียบคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง

1. ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ญาณสุคนธ์ พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2521
2. ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ชุติมา พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2523
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขประชา วาจานนท์ พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2533
4. ศาสตราจารย์ ดร.สุมินทร์ สมุทคุปต์ พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537
5. รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ เจียมสกุล พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2549
6. อาจารย์ ดร.สุรพล ภัทราคร พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2557
7. ศาสตราจารย์ ดร.สุภา หารหนองบัว พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560
8. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

นิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น