ข้ามไปเนื้อหา

ผุสดี ตามไท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผุสดี ตามไท
ผุสดี พ.ศ. 2554
รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ถัดไปอัศวิน ขวัญเมือง
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2556 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ผู้ว่าการหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ก่อนหน้าธีระชน มโนมัยพิบูลย์
วัลลภ สุวรรณดี
มาลินี สุขเวชชวรกิจ
ทยา ทีปสุวรรณ
พรเทพ เตชะไพบูลย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ผุสดี ปิยกุล

16 มกราคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประเทศไทย
ศาสนาคริสต์
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2524–ปัจจุบัน)
คู่สมรสบดินทร์ ตามไท

ผุสดี ตามไท (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2494) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (สมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (อภิรักษ์ โกษะโยธิน)

ประวัติ

[แก้]

ผุสดี ตามไท เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2494 ที่ตำบลนาบินหลา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของ นายจรัส และนางพรรณฉวี ปิยกุล สมรสกับ นายบดินทร์ ตามไท นักวิชาการอิสระ ประธานมูลนิธิธรรมไทย

ดร.ผุสดี ตามไท เป็นหนึ่งในนักการเมืองสตรี ที่มีบทบาทในการรณรงค์ความเสมอภาคหญิงชาย โดยดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ เช่น ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ

ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ดร.ผุสดี ตามไท ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 6 (กรุงเทพมหานคร) ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และชนะการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย แต่ได้ยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[3]

การศึกษา

[แก้]

งานวิชาการและงานบริหาร

[แก้]

งานการเมือง

[แก้]
  • คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต)
  • ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง
  • ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ
  • รองประธานกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ จ.เชียงใหม่
  • รองเลขานุการกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
  • กรรมาธิการการแรงงาน
  • กรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
  • เป็นวิทยากรให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเรื่องรัฐธรรมนูญ สิทธิ กลไกคุ้มครองสิทธิ ความเสมอภาคสิทธิมนุษยชน
  • รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลงานด้านการศึกษา ด้านการแพทย์และอนามัย ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต [3]

งานสังคม

[แก้]
  • กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • ประธานเครือข่ายผู้หญิงชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร
  • ร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการมูลนิธิ / สมาคม ที่ส่งเสริมศักยภาพและโอกาสในชีวิตของทุกคน เช่น สมาคมไทยคราฟท์ มูลนิธิธรรมไทย มูลนิธิการศึกษาไทย

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

[แก้]
  • ผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์
  • กรรมการมูลนิธิธรรมไทย
  • กรรมการสมาคมศิษย์วังหลังวัฒนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  3. 3.0 3.1 ทีมบริหาร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร, หน้า 16 กทม.-จราจร. เดลินิวส์ ฉบับที่ 23,183: พุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒