ข้ามไปเนื้อหา

กรมวิชาการเกษตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมวิชาการเกษตร
Department of Agriculture
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง1 ตุลาคม พ.ศ. 2515; 52 ปีก่อน (2515-10-01)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บุคลากร7,367 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี4,045,619,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์, อธิบดี
  • ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, รองอธิบดี
  • พงศ์ไท ไทโยธิน, รองอธิบดี
  • วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมวิชาการเกษตร เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อการศึกษา วิจัยและพัฒนาพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และปัจจัยการผลิต ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร[3]

ประวัติ

[แก้]

กรมวิชาการเกษตรได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 โดยก่อนที่จะมาเป็นกรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน ได้มีการก่อตั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 จัดตั้งกรมช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งถือเป็นการกำเนิดงานด้านวิชาการเกษตร จนกระทั่งในปี 2515 ได้มีการรวม "กรมการข้าว" กับ "กรมกสิกรรม" เพื่อสถาปนาเป็น กรมวิชาการเกษตร

การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก

[แก้]

กรมวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (อังกฤษ: International Horticulture Exposition for His Majesty the King; Royal Flora Ratchapruek 2006) หรือเรียกย่อๆว่า ราชพฤกษ์ 2549 เป็นงานมหกรรมจัดแสดงด้านพืชสวนกลางแจ้ง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,404 ล้านบาท จัดขึ้นในนามของรัฐบาลไทย และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสมาพันธ์ดอกไม้โลก (WFC) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (ISHS) และการรับรองมาตรฐานมหกรรมระดับโลก ระดับ A1 (มาตรฐานมหกรรมขั้นสูงสุด) การจัดงานจากสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH)[4] และสำนักงานมหกรรมโลก (BIE)[5] โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สามในทวีปเอเชีย ที่ได้รับรองการจัดงานมหกรรมระดับโลกจาก BIE ต่อจากจีน และญี่ปุ่น[5]

และได้รับมอบหมายให้จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 อีกครั้งหนึ่ง

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

การแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตร มีดังนี้[6]

  1. สํานักงานเลขานุการกรม
  2. กองการเจ้าหน้าที่
  3. กองคลัง
  4. กองแผนงานและวิชาการ
  5. กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
  6. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
  7. กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
  8. กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และ

การจัดการก๊าซเรือนกระจก สำหรับภาคเกษตร

  1. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
  3. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
  4. สถาบันวิจัยพืชสวน
  5. สํานักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
  6. สํานักคุ้มครองพันธุ์พืช
  7. สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
  8. สํานักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

หน่วยงานจัดตั้งภายใน

[แก้]
  1. สำนักนิติการ
  2. กองประสานงานโครงการพระราชดำริ
  3. กองการยาง
  4. กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช
  5. กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการแก๊สเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร

หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค

[แก้]
  • สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8
    • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัด 54 ศูนย์
  • ด่านตรวจพืช 48 ด่าน
  • ศูนย์ควบคุมยาง 6 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น
  • ศูนย์วิจัยพืชไร่ 10 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยพืชสวน 10 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรม 4 ศูนย์
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช 5 ศูนย์

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายงานประจำปี 2566 กรมวิชาการเกษตร
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. กรมวิชาการเกษตร จัดงานใหญ่ "5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทยฯ"
  4. จดหมายข่าวมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548
  5. 5.0 5.1 จดหมายข่าวมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2549
  6. แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]