เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันในฤดูน้ำหลาก เป็นเพลงปฏิพากย์ชนิดเดียวที่ร้องเล่นกลางลำน้ำโดยพ่อเพลงและแม่เพลงอยู่คนละลำ จังหวัดที่เล่นเพลงเรือ ได้แก่ จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำในภาคกลาง เช่น อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และ พิษณุโลก เพลงเรือส่วนใหญ่จะถนัดร้องบทชิงชู้ ฉันทลักษณ์เหมือนเพลงปรบไก่[1]
ตัวอย่าง[แก้]
การร้องเพลงเรือจะมีบทลูกคู่รับว่า ฮ้าไฮ้ และมีบทกระทุ้งว่า ชะชะ ดังตัวอย่าง[2]
ช. ลงเรือลอยล่องร้องทำนองเพลงเกริ่น
|
|
แสนเสนาะเพลิน (ฮ้าไฮ้) จับใจ ชะ
|
มาพบเรือสาวรุ่นราวสคราญ
|
|
แสนที่จะเบิกบาน (ฮ้าไฮ้) หทัย ชะ
|
จึงโผเรือเทียบเข้าไปเลียบข้างลำ
|
|
แล้วก็เอ่ยถ้อยคำ (ฮ้าไฮ้) ปรา'ศรัย ชะ
|
แม่เพื่อนเรือลอยแม่อย่าน้อยน้ำจิต
|
|
พี่ขอถามเจ้าสักนิด (ฮ้าไฮ้) เป็นไร ชะ
|
แม่พายเรือลัดแม่จะตัดทุ่งไกล
|
|
แม่จะไปทางไหน (เอย) น้อยเอย
|
(ลูกคู่) เชียะ เชียะ นอระนอย ระนอย ระนอย
|
|
เชียะ เชียะ ฮ้าไฮ้
|
ลักษณะบังคับ[แก้]
- บาทละ 2 วรรค
- วรรคละ 7 - 9 คำ
- จำนวนคำวรรคแรกมักมากกว่าวรรคหลัง
- ไม่จำกัดความยาวในหนึ่งบทมีตั้งแต่ 3 คำกลอนขึ้นไป
- จบบทด้วยคำว่า เอย
- บังคับสัมผัสแบบกานต์ดั้น
บทร้องพิเศษ[แก้]
บทจากเพลงเรือนอกจากจะร้องแบบธรรมดาแล้วยังมีบทร้องพิเศษที่เรียกว่า ออกช่อ ต่อท้าย ดังตัวอย่าง
ญ. ช่อเจ้าเอ๋ยมะกอก
|
|
หอมดอกเจ้าดอกถั่วเขียว
|
พี่ทิ้งน้องกลางคืน
|
|
ให้คนอื่นเขาเกี้ยว
|
ช. เหลืองเอ๋ยใบยอ
|
|
หอมช่อมะม่วง
|
เด็ดช่อห่อผ้า
|
|
ทำให้น้ำตาพี่ร่วง
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2535.
- ↑ ประเทือง คล้ายสุบรรณ์. ร้อยกรองชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร : สุทธิสารการพิมพ์, 2528.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม : เพลงเรือ (pdf)
- ปลูกปัญญา : การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงเรือ
|
---|
การแสดง | ภาคเหนือ | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |
---|
ภาคกลาง | |
---|
ภาคใต้ | |
---|
| |
---|
การขับร้อง | ภาคเหนือ | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |
---|
ภาคกลาง | |
---|
ภาคใต้ | |
---|
|
---|
การละเล่น | |
---|
|
---|
ดนตรีและเพลงร้อง | |
---|
นาฏศิลป์และการละคร | |
---|
|