จังหวัดนครพนม
|
นครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอด
เนื้อหา
- 1 อาณาเขต
- 2 สภาพภูมิศาสตร์
- 3 ประวัติศาสตร์
- 4 ปูชนียสถาน
- 5 เทศกาลและงานประเพณีประจำปี
- 6 หน่วยการปกครอง
- 7 การศึกษา
- 8 สถานที่สำคัญ
- 9 อุทยาน
- 10 สวนสาธารณะ/สวนพฤกษศาสตร์
- 11 การคมนาคม
- 12 อ้างอิง
- 13 ดูเพิ่ม
- 14 แหล่งข้อมูลอื่น
อาณาเขต[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดบึงกาฬ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร
สภาพภูมิศาสตร์[แก้]
สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดนครพนมเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ราบสูงและภูเขาอยู่บ้าง มีแม่น้ำสายสั้น ๆ เป็นสาขาย่อยแยกจากแม่น้ำโขงมาหล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ภายในพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน นครพนมจึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์มาก ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว
จังหวัดนครพนมมีจุดผ่านแดนไปประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งเป็นประตูไปสู่อินโดจีน
ประวัติศาสตร์[แก้]
นครพนมเป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนของประเทศลาว นครพนมเป็นจังหวัดที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ ซึ่งเป็นพระธาตุที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (สมณโคดม) และนับเป็นพระบรมธาตุคู่เมืองนครพนม เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและชาวลาวทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งแต่บรรพกาล พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ที่อำเภอธาตุพนม อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนม 52 กิโลเมตร จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตารางกิโลเมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 740 กิโลเมตร นอกจากนี้ ในตัวเมืองนครพนมยังมีพระธาตุนครประดิษฐานเป็นพระธาตุกลางเมืองด้วย พระธาตุนครนี้เดิมเป็นวัดที่ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองนครพนมในอดีต
นครพนมเป็นจังหวัดที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณกาล ในฐานะเมืองเก่าเคียงคู่อยู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูร แต่เดิมนครพนมมีชื่อเต็มในจารึกสถาปนาวัดโอกาสศรีบัวบานว่า เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง เคยเป็นราชธานีที่มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครปกครองมาก่อนหลายสมัย เอกสารของล้านช้างส่วนใหญ่ออกนามว่าเมืองลครหรือเมืองนคร เดิมทีนั้นมีพื้นที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหรือเมืองเก่าท่าแขก ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ฝั่งขวาที่เมืองเก่าหนองจันทน์ จากนั้นย้ายขึ้นไปทางตอนเหนือที่บ้านโพธิ์คำ คือตัวเมืองนครพนมในปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตีเมืองนครเวียงจันทน์ได้แล้ว เจ้าเมืองนครพนมหรือเมืองศรีโคตรบองได้ทูลเกล้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่สยามในฐานะนครประเทศราช ชื่อของดินแดนนี้ได้ถูกเปลี่ยนนามเป็น "นครพนม" สันนิษฐานว่านามนี้มาจากนครพนมเป็นเมืองที่มีพื้นที่ติดต่อกับทิวเขามากมายทางฝั่งซ้าย หลังเสร็จสิ้นสงครามเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ลดฐานะเมืองนครพนมเป็นหัวเมืองชั้นเอก ด้วยความเป็นอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาเก่าก่อน ประกอบกับแม่น้ำโขงเป็นแหล่งวัฒนธรรมของมนุษย์ชาติจากหลายชนเผ่า ดังนั้น นครพนมจึงมีโบราณสถานจำนวนมาก และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์
ครั้นในปีต่อมา พ.ศ. 2459 มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่อง โอนอำเภอไชยบุรีไปขึ้นจังหวัดหนองคาย ลงวันที่ 22 มีนาคม 2459 มีความว่าทรงทราบฝ่าละอองธุรีพระบาทว่าอำเภอไชยบุรี ซึ่งเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดนครพนมเวลานี้ ( พ.ศ. 2459) มีท้องที่และระยะทางห่างไกลจากจังหวัดนครพนมมาก เป็นการลำบากแก่ราษฎรที่อยู่ในแขวงอำเภอไชยบุรี ผู้มีกิจสุขทุกข์จะมายังจังหวัดนครพนมและทั้งไม่เหมาะแก่การปกครอง จึงทรงพระราชดำริว่าสมควรจะโอนอำเภอไชยบุรี มาขึ้นจังหวัดหนองคาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้โอนอำเภอไชยบุรีมาขึ้นจังหวัดหนองคาย ตั้งแต่บัดนี้ (พ.ศ. 2459) เป็นต้นไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 320 – 321 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2459 )
ในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 แยกอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525
ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกมีผู้เสียชีวิต 3 ราย[3]พ.ต.ท.สมบูรณ์ คำบึงรัตนะวงศา ว่าที่ ร.ต.ชินวุฒิ นวลกลับ ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์
ปูชนียสถาน[แก้]
ปูชนียสถานที่สำคัญในจังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่น ๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้
เทศกาลและงานประเพณีประจำปี[แก้]
- เทศกาลตรุษจีน-เวียดนาม จังหวัดนครพนม
- ประเพณีไหลเรือไฟ
- งานนมัสการพระธาตุพนม
- เทศกาลแห่ดาว (คริสต์มาส)
- เทศกาลแข่งเรือ
- ประเพณีแสกเต้นสาก
- ประเพณีโส้ทั่งบั้ง
- เทศกาลสงกรานต์ (ถนนข้าวปุ้น)
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,128 หมู่บ้าน
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 82 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 22 เทศบาลตำบล
อำเภอเมืองนครพนม
อำเภอท่าอุเทน
|
อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร |
อำเภอนาแก อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอโพนสวรรค์ |
การศึกษา[แก้]
ระดับอุดมศึกษา[แก้]
มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษารัฐในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา[แก้]
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครพนม)
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์นครพนม
มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา[แก้]
สถาบันอุดมศึกษา(ปริญญาตรีสายปฏิบัติการ/เทคโนโลยีบัณฑิต)ในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[แก้]
ระดับอาชีวศึกษา[แก้]
อาชีวศึกษารัฐ[แก้]
อาชีวศึกษาเอกชน[แก้]
โรงเรียนมัธยม สพม.[แก้]
โรงเรียนคำเตยอุปถัมภ์ โรงเรียนนครพนมวิทยาคม โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย (โรงเรียนประจำจังหวัด) โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม โรงเรียนศรีโคตรบูรณ์ โรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม
โรงเรียนกุดฉิมวิทยาคม โรงเรียนธาตุพนม โรงเรียนนาถ่อนพัฒนา โรงเรียนโพนแพงพิทยาคม โรงเรียนวัดบึงเหล็ก โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์
โรงเรียนกุตาไก้วิทยาคม โรงเรียนโคกสว่างประชาสรรค์ โรงเรียนธรรมโฆษิตวิทยา โรงเรียนปลาปากวิทยา โรงเรียนมหาชัยวิทยาคม โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1 นครพนม
โรงเรียนเชียงยืนวิทยา โรงเรียนไชยบุรีวิทยาคม โรงเรียนท่าจำปาวิทยา โรงเรียนพะทายพิทยาคม โรงเรียนรามราชพิทยาคม โรงเรียนอุเทนพัฒนา
โรงเรียนค้อวิทยาคม โรงเรียนโพนสวรรค์ราษฎร์พัฒนา
โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล
โรงเรียนดอนเสียวแดงพิทยาคม โรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ โรงเรียนนาหว้าพิทยาคม (ธาตุประสิทธิ์ประชานุเคราะห์) โรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา
โรงเรียนธรรมากรวิทยานุกูล โรงเรียนนาแกพิทยาคม โรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา โรงเรียนหนองบ่อวิทยานุกูล
โรงเรียนนาคำราษฎร์รังสรรค์ โรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม โรงเรียนบ้านข่าพิทยาคม โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ โรงเรียนสามผงวิทยาคม
โรงเรียนนาทมวิทยา โรงเรียนหนองซนพิทยาคม
โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม โรงเรียนลังกาพิทยาคม
โรงเรียนวังยางวิทยาคม โรงเรียนหนองโพธิ์พิทยาคม
ระดับอนุบาล/ประถมศึกษา[แก้]
- โรงเรียนอนุบาลนครพนม อำเภอเมือง
สถานที่สำคัญ[แก้]
อำเภอเมืองนครพนม[แก้]
- วัดโอกาสศรีบัวบาน
- วัดศรีเทพประดิษฐาราม
- พญาศรีสัตตนาคราช (แลนด์มาร์คนครพนม)
- วัดมหาธาตุ
- วัดนักบุญอันนา
- วัดโพธิ์ศรี
- พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
- สวนหลวง ร.9 (นครพนม)
- หาดทรายทองศรีโคตรบูร
- สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน)
- อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์
- หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม (บ้านท่านประธานโฮจิมินห์)
- หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์
- เขื่อนหน้าเมืองนครพนม
- ตลาดอินโดจีน
- ถนนคนเดินนครพนม
- ศาลหลักเมือง
- สถานที่จัดแสดงโลกของปลาแม่น้ำโขง นครพนม
- หอเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์จักรี
อำเภอปลาปาก[แก้]
อำเภอท่าอุเทน[แก้]
อำเภอธาตุพนม[แก้]
อำเภอเรณูนคร[แก้]
อำเภอนาแก[แก้]
- วัดพระธาตุศรีคุณ
- วัดธรรมบรรพต (ภูถ้ำพระ)
- วัดภูพานอุดมธรรม (ดานสาวคอย)
- ศาลหลักเมืองอ.นาแก
อำเภอนาหว้า[แก้]
- พระธาตุประสิทธิ์
- พิพิธภัณฑ์ไทญ้อ
- ลำน้ำอูน
- บ้านท่าเรือ แหล่งผลิตเครื่องดนตรีอีสาน
- บ้านตาล แหล่งผลิตตุ๊กแกตากแห้ง
- วัดศรีชมภู
- วิถีชีวิตชาวชุมชนบ้านนาหว้า
อำเภอบ้านแพง[แก้]
อำเภอศรีสงคราม[แก้]
อำเภอโพนสวรรค์[แก้]
อุทยาน[แก้]
- อุทยานแห่งชาติภูลังกา ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม(นครพนม-บึงกาฬ)
- อุทยานแห่งชาติภูผายล ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหวด ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร(สกลนคร,นครพนม,มุกดาหาร)
สวนสาธารณะ/สวนพฤกษศาสตร์[แก้]
การคมนาคม[แก้]
ระยะทางจากจังหวัดนครพนมไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยประมาณ คือ
- จังหวัดอุดรธานี 242 กิโลเมตร
- จังหวัดหนองคาย 303 กิโลเมตร
- จังหวัดขอนแก่น 298 กิโลเมตร
- จังหวัดบึงกาฬ 181 กิโลเมตร
- จังหวัดมุกดาหาร 104 กิโลเมตร
- จังหวัดสกลนคร 93 กิโลเมตร
- จังหวัดอุบลราชธานี 271 กิโลเมตร
- กรุงเทพมหานคร 730 กิโลเมตร
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอใกล้เคียง โดยประมาณ คือ
- อำเภอท่าอุเทน 26 กิโลเมตร
- อำเภอโพนสวรรค์ 45 กิโลเมตร
- อำเภอธาตุพนม 52 กิโลเมตร
- อำเภอนาแก 78 กิโลเมตร
- อำเภอนาหว้า 93 กิโลเมตร
- อำเภอวังยาง 80 กิโลเมตร
- อำเภอปลาปาก 44 กิโลเมตร
- อำเภอเรณูนคร 51 กิโลเมตร
- อำเภอศรีสงคราม 67 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านแพง 93 กิโลเมตร
- อำเภอนาทม 103 กิโลเมตร
รถยนต์[แก้]
จากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 213 ไปจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงจังหวัดสกลนคร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 22 ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 740 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และรถที่ไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น
- สาย 26 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา บ้านไผ่ บรบือ มหาสารคาม ยางตลาด กาฬสินธุ์ สมเด็จ สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย บขส. (รถมาตรฐาน ม.4ค ,ม.4ข ,ม.4ก) และ นครชัยแอร์ (รถมาตรฐาน ม.1ข Silver, ม.1พ Gold+)
- สาย 930 กรุงเทพฯ - นครพนม ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย บขส. (รถมาตรฐาน ม.4ค) เชิดชัยทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.2 และ ม.1ข) และ โลตัสพิบูลทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.1ข และ ม.4กพ VIP)
- สาย 256 อุบลราชธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง เรณูนคร ธาตุพนม มุกดาหาร ให้บริการโดย สหมิตรอุบล (รถมาตรฐาน ม.3 ,ม.2 ,ม.1ข)
- สาย 231 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม สกลนคร ท่าแร่ กุสุมาลย์ ให้บริการโดย สหอุดรเดินรถ (รถมาตรฐาน ม.1ข และ ม.2)
- สาย 224 อุดรธานี - นครพนม ใช้เส้นทาง หนองคาย บึงกาฬ บ้านแพง ท่าอุเทน ให้บริการโดย รถร่วม บขส. หลายเจ้า (รถมาตรฐาน ม.2)
- สาย 555 นครพนม - มุกดาหาร ให้บริการโดย วิทยาทรานสปอร์ต (รถมาตรฐาน ม.2 และ ม.2จ รถตู้)
- สาย 586 ขอนแก่น - นครพนม ให้บริการโดย เชิงชุมเดินรถ (ชัยวัฒน์เซอร์วิส) (รถมาตรฐาน ม.1ข)
- สาย 661 นครพนม - เชียงราย ให้บริการโดย สมบัติทัวร์ และ จักรพงษ์ทัวร์ (มาตรฐาน ม.1ข และ ม.1พ)
- สาย 827 นครพนม - ระยอง ให้บริการโดย ชาญทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.4ข และ ม.4พ)
- สาย 837 นครพนม - นครศรีธรรมราช ให้บริการโดย ชาญทัวร์ (รถมาตรฐาน ม.4พ)
- สาย 876 เชียงใหม่ - นครพนม ให้บริการโดย เพชรประเสริฐ (รถมาตรฐาน ม.4พ)
- สาย 1431 นครพนม - ท่าอุเทน - ศรีสงคราม - นาหว้า
รถโดยสารระหว่างประเทศ[แก้]
- สายที่ 7 นครพนม - ท่าแขก บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด
เครื่องบิน[แก้]
- นกแอร์ นครพนม ไป-กลับ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
- แอร์เอเชีย นครพนม ไป-กลับ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
การคมนาคมภายในตัวจังหวัดนครพนม[แก้]
- รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
- รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
- แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 26 มีนาคม 2561.
- ↑ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/700674
ดูเพิ่ม[แก้]
- รายชื่อวัดในจังหวัดนครพนม
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครพนม
- สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน)
- โครงการศึกษาเพื่อจัดทำกรอบการพัฒนาและแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองชายแดนอุดรธานี สกลนคร นครพนม และ มุกดาหาร (pdf-zip)
- อุทยานแห่งชาติภูลังกา
- รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดนครพนม
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครพนม
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
- สวัสดีนครพนมดอตคอม แนะนำข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม
- ธาตุพนมดอตคอม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
- แหล่งท่องเที่ยว ข่าวสารภายในนครพนม
พิกัดภูมิศาสตร์: 17°24′N 104°47′E / 17.4°N 104.78°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดนครพนม
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
|
|
|
|