คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Faculty of Education
Burapha University
สถาปนา8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
ที่อยู่
สี███ สีฟ้า
เว็บไซต์edu.buu.ac.th

ประวัติ[แก้]

คณะศึกษาศาสตร์ เป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ ก่อตั้งมาพร้อมกับวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2498 เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงได้รับการเลื่อนวิทยะฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วย แต่วิทยาเขตบางแสน จนกระทั่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้รับการยกฐานเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2533 เมื่อมหาวิทยาลัยบูรพามีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ คณะศึกษาศาสตร์จึงมีฐานะเป็นคณะวิชาที่เป็นรูปแบบ จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งในปัจจุบันคณะได้จัดการศึกษาในระดับปริญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

สีประจำคณะ[แก้]

"สีฟ้า ███

ต้นไม้ประจำคณะ[แก้]

"ต้นชงโค" ชงโค

ปรัชญาของคณะศึกษาศาสตร์[แก้]

"สุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ" ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข

ปณิธานของคณะศึกษาศาสตร์[แก้]

"ความรู้ดี มีคุณธรรม นำสังคม"

อัตลักษณ์[แก้]

"สื่อสารเป็นเลิศ ประเสริฐน้ำใจ วินัยชั้นครู ดูแลสุขภาพ"

ภาควิชา หน่วยจัดการศึกษา[แก้]

  • ภาควิชาการบริหารการศึกษา
  • ภาควิชาบัณฑิตศึกษานานาชาติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม
  • ภาควิชาการจัดการเรียนรู้
  • ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
  • ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์
  • สำนักงานการจัดการศึกษา

หน่วยงานภายใน[แก้]

  • โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ"

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตร ดังต่อไปนี้

  • ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ งานบริการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โทร. 038-102002
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) หลักสูตร 5 ปี

  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาเคมี
  • สาขาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาภาษาจีน
  • สาขาพลศึกษา
  • สาขาดนตรีศึกษา
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาศิลปะศึกษา
  • โครงการผลิตครูนานาชาติ (2ปริญญา) ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย University of Northern Corolado : UNC ประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวน 5 สาขา

สาขาการสอนคณิตศาสตร์ สาขาการสอนฟิสิกส์ สาขาการสอนเคมี สาขาการสอนชีววิทยา

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) หลักสูตรต่อเนื่อง

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาโลก (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
  • สาขาวิชาวิจัย ประเมิน และสถิติการศึกษา
  • สาขาวิชาสมอง จิตใจและการเรียนรู้

หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)

  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

หลักสูตรปรัชญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
  • สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาสมอง จิตใจและการเรียนรู้
  • สาขาวิชาวิจัย ประเมิน และสถิติการศึกษา
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาโลก (หลักสูตรนานาชาติ)

โครงการโทรทัศน์ครู[แก้]

โครงการโทรทัศน์ครู เป็นสื่อกลางที่นำหลักการสังเกตการจัดการเรียนการสอน การบริหาร การแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางการศึกษา มาใช้ด้วยการใช้คุณสมบัติของรายการโทรทัศน์ที่สามารถบันทึกภาพเหตุการณ์บางอย่างที่เฉพาะเจาะจง นำมาร้อยเรียงให้เกิดเป็นแนวคิดหรือย่นย่อให้เห็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีได้ในเวลาอันสั้นแต่ได้ใจความครบถ้วนเท่ากับการไปสังเกตดูด้วยตนเอง ด้วยความดีพิเศษของรายการโทรทัศน์ที่สามารถย่อเรื่องราวให้กระชับ ชัดเจนได้สาระครบถ้วน แต่ใช้เวลาสั้นเท่ากับที่บุคคลทั่วไปจะมีสมาธิเฝ้าชมรายการอยู่ได้ด้วยความตั้งใจประมาณ 15 นาที โครงการทีวีครู หรือรายการโทรทัศน์ครู เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่อยู่ในรูปของการบริการผ่านสื่อที่หลากหลาย ซึ่งรายการโทรทัศน์ได้รับการออกแบบมาเพื่อการสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน รวมไปถึงนิสิต นักศึกษาฝึกสอนของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศ กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนสถานศึกษาและเป็นผู้รับบริการการศึกษาด้วย

วัตถุประสงค์หลักของรายการโทรทัศน์ครู มุ่งที่จะสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อการพัฒนาครูไทย ด้วยการให้ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา ได้เห็นตัวอย่างของการปฏิบัติการสอน การบริหาร การแก้ปัญหาอื่น ๆ ทางการศึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพ ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดแรงบันดาลใจ นำเอาแบบอย่างของการปฏิบัติทีดีนั้นไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน การบริหารและการแก้ปัญหาภายในโรงเรียนของตนเองลักษณะของการนำเสนอจะมุ่งนำเสนอเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียนที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดี การแก้ปัญหาพิเศษที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนตลอดรวมไปถึงการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวิถีชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษา

ทำไมรายการโทรทัศน์ครูจึงมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพฤติกรรมของครูได้ ทั้งนี้เกิดจากการผลิตรายการโทรทัศน์ครู จะใช้มาตรฐานการผลิตระดับที่มีคุณภาพสูง (Broadcast quality) โดยเฉพาะคุณภาพด้านเทคนิค นอกจากนั้นยังมีกระบวนการคัดกรองเนื้อหาสาระด้วยผู้มีประสบการณ์สูงทางการศึกษา มีการตรวจสอบ คัดกรองอย่างพิถีพิถันก่อนนำออกเผยแพร่ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รวม ๓ ปีงบประมาณระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ถึงปีงบประมาณ ๒๕๕๕ โดยมีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นผู้บริหารโครงการ โทรทัศน์ครู ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ครู อย่างเป็นทางการ โดยมี รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร เป็นหัวหน้าโครงการ

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่การเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา (มหาวิทยาลัยเอกเทศ) จนถึงปัจจุบันมีดังนี้

คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.บรรจง จันทรสา พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง ทับศรี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2548
4. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี แย้มกสิกร พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557
5. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต สุรัตน์เรืองชัย พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • www.edu.buu.ac.th