วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
College of Teacher Education Phranakhon Rajabhat University | |
สถาปนา | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 |
---|---|
คณบดี | ดร.ดิเรก พรสีมา |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารวิทยาลัยการฝึกหัดครู (J. College of Teachter Education) |
สี | สีฟ้า |
มาสคอต | ดอกกล้วยไม้ |
สถานปฏิบัติ | โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
เว็บไซต์ | http://cte.pnru.ac.th/ |
วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ประวัติ
[แก้]วิทยาลัยการฝึกหัดครู หรือคณะครุศาสตร์ ทำหน้าที่ผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา พร้อมทั้งให้การฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ จึงถือได้ว่าเป็นคณะที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 ณ บริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นได้ย้ายสถานที่ตั้งไปหลายแห่ง จนกระทั่งวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้ย้ายมาอยู่ ณ เลขที่ 3 หมู่ 6 ตำบลอนุสาวรีย์ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร" ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ได้รับการยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูพระนคร" และเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ โดยแบ่งส่วนราชการการบริหารทางวิชาการเป็นหมวดวิชาต่างๆ และในปี พ.ศ. 2512 ได้เปิดสอนในวิชาเอกต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหมวดวิชาการศึกษารับผิดชอบจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาทั้งหมด ต่อมาปี พ.ศ. 2518 มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูบังคับใช้ วิทยาลัยครูพระนคร จึงเปิดสอนระดับปริญญาตรีครุศาสตร์ (ค.บ.) และมีการแบ่งหน่วยงานการบริหารทางวิชาการเป็นคณะวิชา หมวดวิชาการศึกษาจึงเป็นเปลี่ยนเป็นคณะวิชาครุศาสตร์ มีหัวหน้าคณะวิชาเป็นผู้รับผิดชอบ ในการบริหารงาน
ในปี พ.ศ. 2527 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วิทยาลัยครูจึงเปิดสอนสาขาวิชาการอื่นๆ ได้รวมเป็น 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ คณะวิชาครุศาสตร์รับผิดชอบผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ต่อมา พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ และปี พ.ศ. 2538 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราภัฏ วิทยาลัยครูพระนคร จึงใช้ชื่อว่า "สถาบันราชภัฏพระนคร" แบ่งส่วนราชการเป็น 5 คณะ คณะวิชาครุศาสตร์ เป็นชื่อเป็น "คณะครุศาสตร์" โดยมีคณบดีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานและแบ่งหน่วยงานย่อยเป็น 7 ภาควิชา มีหัวหน้าภาควิชาเป็นผู้รับผิดชอบ ประกอบด้วย
- ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย
- ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
- ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา
- ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
- ภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ
- ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา
- ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 สถาบันราชภัฏพระนคร ได้ปรับรูปแบบการบริหารราชการภายในจึงเปลี่ยนการบริหารจากภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา โดยมีคณะกรรมการบริหารโปรแกรมวิชารับผิดชอบ คณะครุศาสตร์มีทั้งหมด 7 โปรแกรมวิชาซึ่งประกอบด้วย
- โปรแกรมวิชาการบริหารการศึกษา
- โปรแกรมวิชาประถมศึกษา
- โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
- โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
- โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
- โปรแกรมวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
- โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
ในปี 2549 ได้มีการประกาศกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ คณะครุศาสตร์จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยการฝึกหัดครู[1] ในปัจจุบัน วิทยาลัยการฝึกหักครู ได้เปิดสอน ทั้งหมด 18 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาจิตวิทยา (ศศ.บ. 4 ปี)
- สาขาวิชาอิสลามศึกษา
- สาขาวิชาวิจัยและประเมินการศึกษา
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
- สาขาวิชาสังคมศึกษา (แขนงพระพุทธศาสนา)
- สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
- สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาการประถมศึกษา
อาคารเรียนของคณะ
[แก้]- อาคาร24 (อาคารเรียน และสำนักงานคณบดีวิทยาลัยการฝึกหัดครู)
- โรงยิมเนเซียม(อาคาร 33 (สำนักงานสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา))
- ศูนย์กีฬาและสุขภาพ(อาคาร 48)
- อาคาร10
กิจกรรม ภายในวิทยาลัย
[แก้]- ค่ายคุณธรรม
- ปฐมนิเทศ(วิทยาลัยการฝึกหัดครู)
- รับน้อง ภายในวิทยาลัย (สานสัมพันธ์น้องพี่)
- ดาว-เดือน วิทยาลัย (ยุวทูตสัมพันธ์)
- กีฬา Freshy Games
- กีฬาแม่พิมพ์เกมส์
- กล้วยไม้เกมส์
- กีฬากาซะลอง
- มหกรรมวิชาการ
- Education Rajabhat Games
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]
อ้างอิง[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น[แก้] |