คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
หน้าตา
Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University | |
สถาปนา | 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 |
---|---|
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร อินทรสมพันธ์ |
ที่อยู่ | อาคาร 30 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ซอยอิสรภาพ 15 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 |
วารสาร | วารสารครุศาสตร์สาร (Journal of Educational Studies)[1] |
สี | สีแสด[2] |
สถานปฏิบัติ | โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
เว็บไซต์ | edu.bsru.ac.th |
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (อังกฤษ: Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University) ถือกำเนิดมาจาก โรงเรียนราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 ต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นับเป็นคณะแรก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประวัติ
[แก้]- คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 มีชื่อว่า "โรงเรียนราชวิทยาลัย"
- พ.ศ. 2446 กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีชื่อว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก"
- พ.ศ. 2449 โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก เรียกชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนฝึกอาจารย์ฝั่งตะวันตก" และต่อมาเรียกว่า "โรงเรียนฝึกอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
- ระหว่างปี พ.ศ. 2446-2458 โรงเรียนฝึกอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ยุบกลายเป็น "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
- พ.ศ. 2484 กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดแผนกครูขึ้นเรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
- พ.ศ. 2501 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" และประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518[3]
- พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" และประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ[4] เมื่อปี พ.ศ. 2538
- พ.ศ. 2542 คณะครุศาสตร์ได้มีประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542[5] ขึ้น
- วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"[6]
- พ.ศ. 2554 ทุกสาขาวิชาได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education : TQF : HEd.)[7] และจัดทำรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.2) โดยพัฒนาปรับปรุงจากหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน
คณาจารย์
[แก้]ตำแหน่งทางวิชาการ
[แก้]- ศาสตราจารย์ - ท่าน
- รองศาสตราจารย์ 5 ท่าน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 17 ท่าน
- อาจารย์ 61 ท่าน
รวม 83 ท่าน
วุฒิการศึกษา
[แก้]รวม 83 ท่าน
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2555
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[8] | ||
---|---|---|
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี)
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
|
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ทำเนียบคณบดี (ผู้บริหาร)
[แก้]ทำเนียบคณบดี (ผู้บริหาร) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา | |
---|---|
รายนามคณบดี (ผู้บริหาร) | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. เอ.ซี.คาร์เตอร์ (A.C.Carter) | พ.ศ. 2439 - พ.ศ. 2446 |
2. หลวงบำเหน็จวรญาณ | พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2447 |
3. ขุนวิเทศดรุณการ | พ.ศ. 2448 - พ.ศ. 2458 |
4. พระประมวลวิชาพูล | พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2470 |
5. พระปวโรฬาร | พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2472 |
6. พระยาวิเศษศุภวัตร์ | พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2480 |
7. หลวงทรงวิทยาศาสตร์ | พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2482 |
8. หลวงภารสาร | พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2491 |
9. นายจรูญ วงศ์สายัณห์ | พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2499 |
10. หลวงบุญปาลิตวิชาสาสก์ | พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2500 |
11. นายสวัสดิ์ สิงหพงษ์ | พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2501 |
12. นายโชค สุคันธวณิช | พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2504 |
13. นายพร ทองพูนศักดิ์ | พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509 |
14. นายศิริ ศุขกิจ | พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2511 |
15. นายจรูญ มิลินทร์ | พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2518 |
16. หม่อมราชวงศ์ทวีโภค เกษมศรี | พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521 |
17. นายบุญเลิศ ศรีหงส์ | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2528 |
18. รองศาสตราจารย์สุรพันธ์ ยันต์ทอง | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532 |
19. รองศาสตราจารย์ฉลอง ภิรมย์รัตน์ | พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2536 |
20. รองศาสตราจารย์ ดร.พรพิพัฒน์ เพิ่มผล | พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2546 |
21. รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2555 |
22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ลิ้มสุขวัฒน์ | พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558 |
23. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร อินทรสมพันธ์ | พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, [1]
- ↑ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ปรัชญาครุศาสตร์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘, เล่ม 92, ตอนพิเศษ 48 ก., 27 กุมภาพันธ์ 2518, หน้า 1-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘, เล่ม 112, ตอน 4 ก., 24 มกราคม 2538, หน้า 1.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒, เล่ม 116, ตอน 74 ก., 19 สิงหาคม, 2542, หน้า 1.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗, เล่ม 121, ตอนพิเศษ 23 ก., 14 มิถุนายน 2547, หน้า 1-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒, เล่ม 126, ตอนพิเศษ 125 ง., 31 สิงหาคม, 2552, หน้า 17-19.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕, เล่ม 129, ตอน 89 ก., 14 กันยายน พ.ศ. 2555, หน้า 25. มาตรา 3 (3).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เก็บถาวร 2016-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ราชกิจจานุเบกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คุรุสภา เก็บถาวร 2013-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กระทรวงศึกษาธิการ