ข้ามไปเนื้อหา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Faculty of Education, Srinakharinwirot university
สถาปนา16 กันยายน พ.ศ. 2492; 74 ปีก่อน (2492-09-16)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณบดีรุ่งทิวา แย้มรุ่ง
ที่อยู่
114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
สี  สีฟ้า
เว็บไซต์edu.swu.ac.th

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถือว่าเป็นคณะที่เก่าแก่ที่สุดของมหาวิทยาลัย ถือกำเนิดมาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร และ คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา

ประวัติ

[แก้]
อาคารเรียนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะศึกษาศาสตร์ถือกำเนิดจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 70 ปี โดยเริ่มต้นจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการตั้งขึ้น ณ ถนนประสานมิตร (ซอยสุขุมวิท 23 ปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 มีหลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) เป็นอาจารย์ใหญ่ เปิดรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิ ป.ป. (ประกาศนียบัตรครูประถม) และหากเรียนต่ออีก 2 ปี เมื่อสำเร็จแล้ว จะได้รับวุฒิ ป.ม. (ประกาศนียบัตรครูมัธยม) ซึ่งเป็นคุณวุฒิสูงสุดสำหรับการประกอบวิชาชีพครูในขณะนั้น จึงทำให้ผู้รับการศึกษาที่ต้องการความก้าวหน้าในชีวิตต้องขวนขวายไปเรียนวิชาอื่นเพื่อให้ได้ปริญญาบัตร

ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นเพื่อให้เปิดสอน ถึงระดับปริญญา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงจึงได้รับ การสถาปนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 และได้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นอธิการ วิทยาลัยเป็นคนแรก ซึ่งถือเป็นจุดก่อกำเนิดคณะวิชาการศึกษา และต่อมาคือคณะศึกษาศาสตร์ในปัจจุบันวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน นิสิตเพื่อผลิตบัณฑิตที่จะไปเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนให้บริการจัดการฝึกอบรมวิทยาการ/ การเรียนการสอนสาขาต่าง ๆ ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาในขณะนั้น ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ของประเทศเป็นจำนวนมาก ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาลัยวิชาการศึกษามีมาโดยมิได้หยุดยั้ง สมดั่งปรัชญาที่ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้ตั้งไว้ว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงามซึ่งตรงกับพุทธภาษิตว่า สิกขา วิรุฬหิ สมปตตา และตรงกับภาษาอังกฤษว่า Education is Growth วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มะ-หา วิด-ทะ-ยา-ไล-สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) ใช้อักษรย่อว่า มศว โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร อธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาคนสุดท้ายได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นคนแรก เช่นเดียวกับคณะศึกษาศาสตร์ก็ถือเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปวงศิษย์แห่งวิทยาลัยวิชาการศึกษาและรู้ ที่เกี่ยวข้องต่างภาคภูมิใจและตระหนักในใจว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นต้นกำเนิดของคณะศึกษาศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ยกระดับการศึกษาของครูจนถึงระดับปริญญาเอก

หน่วยงาน

[แก้]
  1. สำนักงานคณบดี
  2. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
  3. ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา
  4. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา
  5. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
  6. ภาควิชาอุตสาหกรรมศึกษา
  7. ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา
  8. ภาควิชาการศึกษา​ผู้ใหญ่​และ​การศึกษา​ตลอดชีวิต
  9. ศูนย์พัฒนาการศึกษาพิเศษ
  10. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
  11. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
  12. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

หลักสูตร

[แก้]
  • หลักสูตรระดับปริญญาตรี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
    • การศึกษาบัณฑิต (4 ปี)
      • เอกเดี่ยว
        • 1. วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
        • 2. วิชาเอกการประถมศึกษา
        • 3. วิชาเอกจิตวิทยาและการแนะแนว
        • 4. วิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา-ไฟฟ้า
      • เอกคู่
        • กลุ่มวิชาเอกที่ 1
          • 1. วิชาเอกการประถมศึกษา
          • 2. วิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา
          • 3. วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา
          • 4. วิชาเอกจิตวิทยาและการแนะแนว
          • 5. วิชาเอกการวัด ประเมินและวิจัยการศึกษา
          • 6. วิชาเอกการศึกษาพิเศษ
          • 7. วิชาเอกการศึกษาตลอดชีวิต
          • 8. วิชาเอกการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
        • กลุ่มวิชาเอกที่ 2
          • 1. วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
          • 2. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
          • 3. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
          • 4. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา
          • 5. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          • 6. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
          • 7. วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • หลักสูตรระดับปริญญาโท
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัด ประเมิน และวิจัยการศึกษา
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
      • 1) กลุ่มวิชาการศึกษาปฐมวัย
      • 2) กลุ่มวิชาการประถมศึกษา
      • 3) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
      • 4) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
      • 5) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
      • 6) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา
      • 7) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
  • หลักสูตรระดับปริญญาเอก
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
    • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัด ประเมิน และวิจัยการศึกษา
    • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้

อ้างอิง

[แก้]