คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Faculty of Art Education, Bunditpatanasilpa Institute
สถาปนา6 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี)
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์มณภัทร์ ถมังรักษ์สัตว์
ที่อยู่
คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สี██ สีฟ้า
มาสคอต
พระพิฆเนศ
เว็บไซต์fed.bpi.ac.th

คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (อังกฤษ: Faculty of Art Education, Bunditpatanasilpa Institute) เป็นคณะวิชาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตด้านศึกษาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคตีศิลป์

ประวัติ[แก้]

คณะศิลปศึกษา เป็นคณะวิชาหนึ่งในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตด้านศึกษาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคตีศิลป์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โดยเปิดการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542

ในปี พ.ศ. 2547 คณะศิลปศึกษา ได้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต 5 ปี (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547) เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและนโยบายการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเปิดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ประกอบด้วย 4 ภาควิชา คือ ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา ภาควิชาดุริยางคศิลป์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา และภาควิชาศึกษาทั่วไป

คณะศิลปศึกษา ในฐานะแหล่งส่งถ่ายความรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ทั้งแนวทางการอนุรักษ์ การพัฒนาและสร้างสรรค์ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไปสู่บัณฑิต และจากบัณฑิตในฐานะผู้สอนถ่ายทอดความรู้ไปสู่เยาวชนของชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตครูนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ทั้งไทยและสากลที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านศิลปะ สามารถประยุกต์หลักการ วิธีสอนและเทคนิคต่าง ๆ มาบูรณาการการสอนศิลปะทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์พัฒนาองค์ความรู้สู่การประยุกต์ได้อย่างสัมฤทธิผลเป็นรูปธรรม บัณฑิตพึงยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีคุณธรรม จริยธรรม ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในปัจจุบัน เพื่อผดุงรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) 5 ปี

  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา
  • สาขาวิชานาฏศิลป์สากลศึกษา
  • สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา
    • แขนงวิชาดนตรีไทย
    • แขนงวิชาคีตศิลป์ไทย
  • สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา
    • แขนงวิชาดนตรีสากล
    • แขนงวิชาคีตศิลป์สากล

หมายเหตุ นอกจากนี้ คณะศิลปศึกษา ได้เปิดห้องเรียนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ในวิทยาลัยนาฏศิลปส่วนภูมิภาค จำนวน 11 แห่งดังนี้

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]