กรณีพิพาทอินโดจีน
กรณีพิพาทอินโดจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ไทย | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
พลตรี หลวงพิบูลสงคราม (ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก) นายพลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย (ผู้บัญชาการทหารเรือ) พลอากาศโท หลวงอธึกเทวเดช (ผู้บัญชาการทหารอากาศ) | ฌ็อง เดอกู | ||||||||
กำลัง | |||||||||
กำลังพล 60,000 นาย รถถัง 134 คัน เครื่องบินรบ 140 ลำ[5] เรือป้องกันชายฝั่ง 3 ลำ เรือตอร์ปิโด 12 ลำ เรือดำน้ำ 4 ลำ |
ทหารฝรั่งเศส 50,000 นาย (ทหารอาณานิคม 38,000 นาย) รถถังเบา 20 คัน เครื่องบินรบ 100 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 1 ลำ เรือปืน 4 ลำ | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
พื้นดิน: เสียชีวิต 54 นาย[6] บาดเจ็บ 307 นาย ตกเป็นเชลย 21 นาย เสียอากาศยาน 8–13 ลำ ทะเล: เสียชีวิต 36–300+ นาย[7][8] เรือตอร์ปิโดจม 3 ลำ[7] สูญเสียเรือลาดตระเวนเบา 1 ลำ รวม: 418–700+ นาย[7][8] |
พื้นดิน: เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 321 นาย สูญหาย 178 นาย ตกเป็นเชลย 222 นาย เสียอากาศยาน 22 ลำ ทะเล: ไม่มี[7][8] รวม: มากกว่า 721 นาย |
กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน ในต่างประเทศเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส-ไทย เป็นการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่เกิดจากฝรั่งเศสพูดกับทหารชั้นผู้น้อยของไทยว่าประเทศไทยความเจริญเข้าไม่ถึงทำให้วันที่ 1 มกราคม 2484 - 4 พฤษภาคม 2484 จอมพล ป พิบูลสงคราม สั่งให้ทหารไทยบุกเข้าดินแดนฝรั่งเศสแบบที่ฝรั่งเศสไม่ทันตั้งตัว ทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียทหาร 115 นาย จับกุมได้ 11 นาย เรื่องทำให้ฝรั่งเศสแพ้ยับ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2484 ญี่ปุ่นได้เขาไกล่เกลี่ยทำให้สงครามจบในที่สุด
จุดเริ่มต้น
[แก้]ในปี พ.ศ. 2482 ขณะฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมนีแต่ยังมีความห่วงใยอาณานิคมของตนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลไทยทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทยได้ตอบว่ายินดีจะรับตกลงตามคำของฝรั่งเศสแต่ขอให้ฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นเขตแดนบริเวณแม่น้ำโขงเสียใหม่ให้ถูกต้องและเป็นธรรม ได้ต่อรองกันอยู่หลายเดือน ในที่สุดก็ได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2484 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้เยอรมนีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2483 แล้ว รัฐบาลฝรั่งเศสเขตวีชีได้ขอทำให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน รัฐบาลไทยได้ตอบไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2483 ว่าพร้อมที่จะให้สัตยาบัน ถ้าฝรั่งเศสยอมรับข้อเสนอของไทย 3 ข้อคือ (1) ให้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศ (2) ขอไชยบุรีและจำปาสัก ซึ่งฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามกับหลวงพระบาง และตรงข้ามกับปากเซ ให้ไทย โดยถือแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนระหว่างประเทศ และ (3) ขอให้ฝรั่งเศสรับรองว่าถ้าอินโดจีนเปลี่ยนจากอธิปไตยฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะคืนอาณาเขตลาวและกัมพูชาให้ไทย ฝรั่งเศสยอมรับเพียงข้อแรกนอกนั้นปฏิเสธ[9]
สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศสจากที่สูญเสียไปเมื่อครั้งวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เช่น เสียมราฐ พระตะบอง จำปาศักดิ์ เป็นต้น พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น (ต่อมาปี พ.ศ. 2485 เป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม) กล่าวขอบคุณนิสิตนักศึกประชาชนที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลทางวิทยุกระจายเสียง และปลุกความรู้สึกชาตินิยม เพลงปลุกใจในเวลานั้นได้ถูกเปิดอย่างต่อเนื่อง เช่น เพลงข้ามโขง เพลงดอกฟ้าจำปาศักดิ์ เพลงเสียมราฐ เป็นต้น
ด้านอินโดจีนฝรั่งเศสได้มีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคักในการเตรียมกำลังรบ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าฝรั่งเศสเตรียมการรบกับไทย ได้มีการโยกย้ายทหารจากอ่าวตังเกี๋ยมายังชายแดนไทย ได้รวบรวมอาวุธยุทโธปกรณ์และสะสมเสบียงอาหารไว้ตามชายแดนไทยเป็นจำนวนมาก ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2483 เริ่มมีการส่งทหารเข้ามาแทรกซึมฝั่งไทย รวมทั้งส่งเครื่องบินล้ำแดนเข้ามาทางจังหวัดตราดลึกถึง 5 กิโลเมตร รัฐบาลไทยได้ประท้วง แต่ฝรั่งเศสหาได้นำพาต่อการประท้วงไม่ มิหนำซ้ำเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ยังได้ส่งเครื่องบินจำนวน 5 เครื่อง เข้ามาโจมตีทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมแล้วหนีไป มีราษฎรไทยได้รับบาดเจ็บ
เริ่มการสู้รบ
[แก้]รัฐบาลไทยตัดสินใจใช้กำลังทหารเพื่อป้องกันประเทศทันทีทั้งทางบกและทางอากาศ พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ฝ่ายไทยได้ประกาศระดมพลและสั่งเคลื่อนกำลังทหารเข้าประจำชายแดนเพื่อเข้าตีโต้ตอบ และวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพไทยได้เคลื่อนกองทัพบุกเข้าไปในเขมรและลาว มุ่งยึดดินแดนคืน
การสู้รบทางบก กองพลพายัพ ยึดได้แคว้นหลวงพระบาง ฝั่งขวาห้วยทราย ตรงข้ามเชียงแสน มีเมืองปากลาย หงสา แลเชียงฮ่อน กองทัพอีสาน กองพลอุบลยึดได้แคว้นจำปาศักดิ์ กองพลสุรินทร์ยึดได้เมืองสำโรงจงกัล ทางจังหวัดเสียมราฐ กองทัพบูรพา ยึดได้พื้นที่ทางทิศตะวันตกของศรีโสภณ กองพลจันทบุรียึดได้บ้านกุบเรียง และบ้านห้วยเขมร ทางด้านทิศตะวันตกของบ่อไพลิน และพระตะบอง
การสู้รบทางอากาศ มีการปฏิบัติการตั้งแต่ก่อนการเคลื่อนกำลังทางบกข้ามเขตแดน นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 มีการส่งเครื่องบินขึ้นไปสกัดกั้นเครื่องบินของฝ่ายฝรั่งเศสที่เข้ามาโจมตีไทย จากนั้นก็มีการตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินไปโจมตีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในลาวและเขมรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการส่งเครื่องบินไปโจมตีสนามบินฝรังเศสที่นครวัดเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2484 และพนมเปญ เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นการโจมตีครั้งสุดท้าย
การสู้รบทางเรือ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 เกิดการปะทะกันของกำลังทางเรือไทยกับฝรั่งเศสในยุทธนาวีเกาะช้าง ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีนเข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อกดดันให้กำลังทหารของไทยที่รุกข้ามชายแดนต้องถอนกำลังกลับมา กำลังเรือของฝรั่งเศสจำนวน 7 ลำ ปะทะเข้ากับกำลังทางเรือของไทยจำนวน 3 ลำ ผลการปะทะฝ่ายไทยเสียเรือรบไปทั้ง 3 ลำ ฝ่ายฝรั่งเศส เรือลาดตระเวนได้รับความเสียหาย จึงล่าถอยกลับไป
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในเวลานั้น (และได้ส่งกำลังทหารมาตั้งฐานทัพที่เมืองฮานอยและเมืองไฮฟองตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2483 แล้ว) เกรงว่าการสู้รบครั้งนี้จะเป็นอุปสรรคต่อแผนของตนที่จะรุกรานลงทางใต้[10] จึงได้ยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ยเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2484 ตกลงให้มีการหยุดยิงเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484[9] และมีการลงนามหยุดยิงบนเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นชื่อนาโตริ หน้าอ่าวเมืองไซ่ง่อน เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2484
สงบศึก
[แก้]หลังสิ้นสุดกรณีพิพาท โดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการเจรจา โดยการหยุดยิงเริ่มมีผลในเวลา 10:00 น. ของวันที่ 28 มกราคม และมีการจัด "การประชุมเพื่อการยุติความเป็นปรปักษ์" ที่สนับสนุนโดยญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นที่ไซง่อน โดยมีเอกสารเบื้องต้นสำหรับการสงบศึกระหว่างรัฐบาลรัฐฝรั่งเศสของจอมพล ฟีลิป เปแต็ง กับราชอาณาจักรไทย ลงนามบนเรือลาดตระเวนนาโตริในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1941 ต่อมาได้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484[11][12] โดยที่ฝรั่งเศสถูกญี่ปุ่นบีบบังคับให้สละการถือครองดินแดนชายแดนที่มีข้อพิพาท ฝรั่งเศสต้องยกดินแดนจากกัมพูชาและลาวให้ไทย ดังที่ระบุไว้ข้างล่างนี้:
- จังหวัดพระตะบองและจังหวัดไพลิน จัดใหม่เป็นจังหวัดพระตะบอง
- จังหวัดเสียมราฐ จังหวัดบันทายมีชัย และจังหวัดอุดรมีชัย จัดใหม่เป็นจังหวัดพิบูลสงคราม
- จังหวัดพระวิหาร ผนวกเข้ากับแขวงจำปาศักดิ์ของลาวที่อยู่ตรงข้ามปากเซ เพื่อสร้างจังหวัดนครจัมปาศักดิ์
- แขวงไชยบุรี รวมแขวงหลวงพระบางบางส่วน ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดลานช้าง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศมหาอำนาจและฝรั่งเศสที่เป็นฝ่ายชนะสงคราม นำไปสู่ ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งทำที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 หรือที่รู้จักในชื่อ ความตกลงวอชิงตัน มีผลให้อนุสัญญาดังกล่าวถูกยกเลิกไป กลับไปสู่สถานะเดิม โดยไทยต้องคืนดินแดน อินโดจีน ที่ได้มาทั้งหมดให้กับประเทศฝรั่งเศส
ภายหลังจากที่กองทัพไทยมีชัยชนะต่ออินโดจีนฝรั่งเศส พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484
สนธิสัญญา
[แก้]การแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง และถือเป็นชัยชนะส่วนตัวของจอมพล แปลก โดยนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยสามารถได้สิทธิประโยชน์จากมหาอำนาจยุโรปได้ แม้ว่าจะเป็นชาติที่อ่อนแอก็ตาม ในขณะที่ฝรั่งเศสในอินโดจีนมองความขัดแย้งนี้เป็นสิ่งที่ระลึกถึงความขมขื่นต่อความโดดเดี่ยวหลังความพินาศที่ฝรั่งเศส
เพื่อฉลองชัยชนะ จอมพล แปลกทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในการรบครั้งนี้
ทางญี่ปุ่นต้องการรักษาทั้งความสัมพันธ์ในการทำงานกับวิชีและสถานะเดิม ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องยอมรับดินแดนที่ได้จากฝรั่งเศสเพียงหนึ่งส่วนสี่ แล้วต้องจ่ายสัมปทานแก่ฝรั่งเศส 6 ล้านpiastres
อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับประโยชน์จากความขัดแย้งที่แท้จริงคือญี่ปุ่น ซึ่งสามารถขยายอิทธิพลทั้งในประเทศไทยและอินโดจีนได้ ทางญี่ปุ่นต้องการใช้ไทยและอินโดจีนเป็นฐานทัพในการรุกรานพม่าของบริติชและบริติชมาลายาในภายหลัง ญี่ปุ่นได้รับคำสัญญาลับจากจอมพล แปลกว่าจะสนับสนุนตนในการโจมตีมาลายาและพม่า แต่ว่าเขาไม่รักษาคำสัญญา[13]
ในเวลาต่อมา ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและไทยอยู่ในสภาวะตึงเครียด เมื่อจอมพล แปลกที่รู้สึกผิดหวัง หันไปเข้าหาอังกฤษและอเมริกาเพื่อกำจัดสิ่งที่เขามองว่าเป็นการรุกรานของญี่ปุ่นที่ใกล้จะเกิดขึ้น[14] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นเข้ารุกรานประเทศไทยและมาลายา โดยมีการสู้รบเพียง 5 ชั่วโมงก่อนลงนามสงบศึก ประเทศไทยกลายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นจนถึง พ.ศ. 2488
หลังสงครามในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2489 เมื่อรัฐบาลชั่วคราวฝรั่งเศสขู่ว่าจะทำให้สถานะการเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทยเป็นโมฆะ ทางไทยจึงต้องยกกัมพูชาตะวันตกเฉียงเหนือและดินแดนแทรกของลาว 2 แห่งที่แม่น้ำโขงฝั่งไทยคืนให้ฝรั่งเศส[15] โดยนำไปสู่ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2489 ที่แก้ไขปัญหาและวางแนวทางฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
ผลกระทบ
[แก้]การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้งที่หมู่บ้านสองคอน จังหวัดนครพนม ซึ่งชาวบ้านทั้งหมดเป็นชาวคาทอลิก บาทหลวงปอล ฟีเก อธิการโบสถ์แม่พระไถ่ทาสซึ่งเป็นโบสถ์ประจำชุมชน ได้ถูกขับออกนอกประเทศ สีฟอง อ่อนพิทักษ์ และซิสเตอร์อีก 2 คน คือ ซิสเตอร์พิลา ทิพย์สุข ซิสเตอร์คำบาง สีคำพอง จึงช่วยกันดูแลความเชื่อของชาวบ้านแทน การเบียดเบียนยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ มีซิสเตอร์ถูกข่มขืน รูปศักดิ์สิทธิ์ถูกเหยียดหยามทำลาย สีฟองจึงเขียนจดหมายร้องเรียนไปยังนายอำเภอมุกดาหาร แต่จดหมายนั้นกลับตกไปอยู่ในมือของตำรวจ ตำรวจจึงเขียนจดหมายปลอมว่านายอำเภอให้สีฟองไปพบ ตำรวจลือ เมืองโคตร และตำรวจหน่อ พาสีฟองออกจากบ้านสองคอนตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พอเช้าวันที่ 16 ตำรวจลือก็ยิงเขาเสียชีวิตที่บ้านพาลุกา นับเป็นชาวไทยคาทอลิกคนแรกที่ได้พลีชีพเป็นมรณสักขี[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tucker, World War II: The Definitive Encyclopedia and Document Collection p. 649
- ↑ Fall, p. 22. "On the seas, one old French cruiser sank one-third of the whole Thai fleet ... Japan, seeing that the war was turning against its pupil and ally, imposed its 'mediation' between the two parties."
- ↑ Fall, Bernard B. (1994). Street Without Joy: The French Debacle in Indochina. Stackpole Books. ISBN 0-8117-1700-3.
- ↑ Windrow, Martin (2004). The Last Valley. Weidenfeld and Nicolson. ISBN 0-306-81386-6.
- ↑ Royal Thai Air Force. (1976) The History of the Air Force in the Conflict with French Indochina. Bangkok.
- ↑ Sorasanya Phaengspha (2002) The Indochina War: Thailand Fights France. Sarakadee Press.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Journoud, Pierre (2012). Face à la France, une victoire de Thaïs (8 ed.). fr:Guerres & Histoire. p. 72.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "The Battle of Koh Chang (January 1941)" netmarine.net
- ↑ 9.0 9.1 28 พฤศจิกายน 2483 ฝรั่งเศสบอมนครพนม เปิดฉากสงคราม “กรณีพิพาทอินโดจีน”
- ↑ อนุสัญญาสันติภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ลงนาม ณ กรุงโตกิโอ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2484
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHesse
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อYoung, Edward M. 1995
- ↑ Charivat Santaputra (1985) Thai Foreign Policy 1932–1946. Thammasat University Press.
- ↑ Judith A. Stowe. (1991) Siam becomes Thailand: A Story of Intrigue. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-1393-6
- ↑ Terwiel, B.J. (2005) Thailand's Political History: From the Fall of Ayutthaya to Recent Times. River Books.
- ↑ วิกเตอร์ ลาร์เก, บาทหลวง, ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย, ฉะเชิงเทรา : แม่พระยุคใหม่, 2539, หน้า 309-15
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เก็บถาวร 2008-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (หอมรดกไทย กระทรวงกลาโหม)
- กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส[ลิงก์เสีย] (ข้อมูลจากกองบัญชาการทหารสูงสุด)
- กรณีพิพาทอินโดจีน เก็บถาวร 2008-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์)
- กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ เก็บถาวร 2008-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ประวัติการยุทธทางอากาศ)
- อนุสาวรีย์กรณีพิพาทอินโดจีน เก็บถาวร 2010-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "France 1940...something"
- "The French-Thai War"
- Fabienne Mercier-Bernadet, « Le conflit franco-thaïlandais (juin 1940-mai 1941), une manipulation japonaise ? » เก็บถาวร 2013-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Revue historique des armées, n°223, 2001.
- กรณีพิพาทอินโดจีน
- สงครามเกี่ยวข้องกับทวีปเอเชีย
- ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
- ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
- ประวัติศาสตร์การทหารของไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
- สงครามเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
- สงครามเกี่ยวข้องกับไทย
- สงครามเกี่ยวข้องกับเวียดนาม
- สงครามแปซิฟิก
- ฝรั่งเศสเขตวีชี
- เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 8
- ความสัมพันธ์ทางการทหารไทย–ฝรั่งเศส
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2483
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2484