พินิจ จารุสมบัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พินิจ จารุสมบัติ
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 กันยายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
สุเมธ พรมพันห่าว (รักษาการ)
ถัดไปประจวบ ไชยสาส์น
นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม พ.ศ. 2552[1]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเสรีธรรม (2535–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
ชาติพัฒนา (2554–ปัจจุบัน)

พินิจ จารุสมบัติ เป็นนักการเมือง และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[2] อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก สุจินดา คราประยูร)[3] อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม เคยร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายพนัส[4] ปัจจุบันเป็นแกนนำกลุ่มวังพญานาค พรรคชาติพัฒนา

ประวัติ[แก้]

พินิจ จารุสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนชั้นประถมที่ "โรงเรียนวัดกระทุ่ม" อ.บ้านโพธิ์ แถวบ้าน พอชั้นมัธยมจึงย้ายไปที่ "เซนต์หลุยส์" โรงเรียนในตัวเมืองแปดริ้ว สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีพี่น้องคือ ปราณี จารุสมบัติ และ พิทักษ์ จารุสมบัติ

ในปี พ.ศ. 2515 ระหว่างกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมจัดตั้งกลุ่มพระร่วง และได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ได้ทำหน้าที่บริหารงานเพียง 15 วัน ก็ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากกระทำการอันไม่เหมาะสม คือ การทำหนังสือขอความเป็นธรรมให้อาจารย์ที่ถูกสั่งให้ออก

ในเหตุการณ์ 14 ตุลา นายพินิจ จารุสมบัติ ได้รับการเลือกตั้งเป็น รองเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ฝ่ายการเมือง มีบทบาทในการเปิดโปงกรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง และเหมืองเท็มโก้ ระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2518

การเมือง[แก้]

พินิจ จารุสมบัติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร ต่อมาภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งพรรคเสรีธรรม ร่วมกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้าพรรค และนายพินิจ จารุสมบัติ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคเสรีธรรม ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 หลังจากนั้นจึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และได้รับตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

ในการทำงานการเมืองยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[5] กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรองนายกรัฐมนตรี[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[7]

หลังการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง[แก้]

ในการจัดตั้งของรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการนำสมาชิกในกลุ่มวังพญานาค พรรคเพื่อแผ่นดิน ให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นหนึ่งในสามบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ในนาม "3พี" (ไพโรจน์ สุวรรณฉวี พินิจ จารุสมบัติ และปรีชา เลาหพงศ์ชนะ)[8] กระทั่งในปี พ.ศ. 2554 จึงได้เข้าร่วมกับสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในการสนับสนุนพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน[9]

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-28.
  2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  3. เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  4. หน้า 3, โหมงาน. " "เทียบท่าหน้า 3" ทีมข่าวการเมือง โดย ประเมศ เหล็กเพ็ชร์. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21428: วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 แรม 5 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  7. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  8. อนาคต “ 3 พี” ... สลาย “พผ.” เข้าร่วมรัฐบาล !!![ลิงก์เสีย]
  9. “เพื่อแผ่นดิน” จับมือ “รวมชาติพัฒนา” ภายใต้ชื่อ “พรรครวมชาติเพื่อแผ่นดิน”
  10. รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ”, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า พินิจ จารุสมบัติ ถัดไป
สนธยา คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม.54)
(7 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546)
พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร
สุชัย เจริญรัตนกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
มงคล ณ สงขลา
สุเมธ พรมพันห่าว
(รักษาการ)
หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
(29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 15 กันยายน พ.ศ. 2543)
ประจวบ ไชยสาส์น