ชูชีพ หาญสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปปองพล อดิเรกสาร
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าประภัตร โพธสุธน
ถัดไปสรอรรถ กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าอุทัย พิมพ์ใจชน
ถัดไปณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2487 (79 ปี)
จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสันติชน (2518 - 2519)
ชาติไทย (2519 - 2539)
ความหวังใหม่ (2539 - 2544)
ไทยรักไทย (2544 - 2550)
เพื่อไทย (2556 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางกฤตินี (เชิดชัย) หาญสวัสดิ์

นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ (30 กันยายน 2487 -) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันต้องโทษจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

ประวัติ[แก้]

นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2487 ที่ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุญไทย นางเฮียง หาญสวัสดิ์ ด้านครอบครัวสมรสกับนางกฤตินี หาญสวัสดิ์ (สกุลเดิม เชิดชัย)

นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรม จากประเทศฟิลิปปินส์ และปริญญาโท ด้านวิศวกรรม จากมหาวิทยาลัยลองบีชสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา[1]

การทำงาน[แก้]

นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นนักธุรกิจเจ้าของโรงงานผลิตลูกชิ้น ฟาร์มกระบือที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และโรงฆ่าสัตว์ที่จังหวัดปทุมธานี รวมถึงธุรกิจรถโดยสารปทุมธานี-สามโคก

งานการเมือง[แก้]

นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2518 และเป็นรองเลขาธิการพรรคสันติชน[2] ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2519 และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปี พ.ศ. 2529, 2531[3], 2533[4] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2535[5] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[6] แต่ได้ลาออกในเวลาต่อมาจากกรณีปุ๋ยปลอม[7]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8] หลังจากนั้นจึงได้เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยนำประชาชนจำนวนกว่า 1,000 คน ปิดล้อมสถานีบริการภาคพื้นดินดาวเทียมไทยคม ลาดหลุมแก้ว เพื่อเรียกร้องให้มีการเปิดสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชลแนล[9]

คดีความ[แก้]

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ชูชีพถูกศาลลงโทษจำคุก 6 ปี ตามความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษหนักสุดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12[10] และเขาถูกส่งตัวเรับโทษจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในทันที[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  7. เจาะลึก "นักการเมืองภูธร" "ผู้มีบารมี" รอวันคืนชีพ ?[ลิงก์เสีย]
  8. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  9. "ไทยคมยอมเชื่อมสัญญาณออกอากาศพีทีวีแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  10. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
  11. "'ชูชีพ-วิทยา' นอนคุกคืนแรก เครียด-ความดันพุ่ง!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-08-15.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
ก่อนหน้า ชูชีพ หาญสวัสดิ์ ถัดไป
อุทัย พิมพ์ใจชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(13 กรกฎาคม 2538 – 24 พฤศจิกายน 2539)
ณรงค์ชัย อัครเศรณี