วิจันทรา บุนนาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิจันทรา บุนนาค

เกิดวิจันทรา คชเสนี
สัญชาติไทย
องค์การคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
มีชื่อเสียงจากพระปนัดดาในเจ้าแก้วนวรัฐ
ตำแหน่งคุณหญิง
คู่สมรสอภิไตร บุนนาค
บุตรตรีทิพย์ (บุนนาค) เพ็ญชาติ
กฤตภาส บุนนาค
บุพการีปฐม คชเสนี
เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี
รางวัลสตรีไทยดีเด่น ปี 2555

คุณหญิง วิจันทรา บุนนาค (สกุลเดิม คชเสนี) เป็นธิดาในเจ้าวงศ์จันทร์ (ณ เชียงใหม่) คชเสนี กับนายปฐม คชเสนี อดีตอธิบดีกรมทาง เป็นนัดดาในพลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) และเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมเลขานุการสตรีแห่งประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในองค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ[1] เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

วิจันทรา เป็นธิดาในเจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี (สกุลเดิม ณ เชียงใหม่) กับนายปฐม คชเสนี และราชนัดดา (หลานตา) ในเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) มีพี่ชายคือ นายปวิตร คชเสนี

บุตร-ธิดา[แก้]

วิจันทรา สมรสกับนายอภิไตร บุนนาค (มีบุตร 1 ธิดา 1) ดังนี้

บทบาทในทางสังคม[แก้]

ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ[แก้]

วิจันทรา เป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือในตระกูล ณ เชียงใหม่ มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่โดยตรง คุณหญิงวิจันทรา จึงมีบทบาทในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายเหนือ โดยเป็นกรรมการมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[2] อันเป็นมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ความเป็นล้านนา และสืบสานประเพณี วัฒนธรรมฝ่ายเหนือ และเป็นรองประธานมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)[3]

งานการกุศล[แก้]

วิจันทรา บุนนาค เป็นนักกิจกรรมสังคมที่มีบทบาทในกิจการขององค์กรหลายองคืกร อาทิ เป็นกรรมการผู้ก่อตั้งและอดีตประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย เป็นอดีตประธานมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[4] เป็นอดีตนายกสมาคมเลขานุการสตรี

งานการเมือง[แก้]

วิจันทรา มีบทบาทในการร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ วิจันทรา ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รางวัล[แก้]

  • สตรีไทยดีเด่น ประจำปี 2555 ของสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-10-16.
  2. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ"
  3. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)"
  4. "รายนามคณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี พ.ศ. 2555". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2012-10-17.
  5. ประกาศรายชื่อผลการตัดสินสตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๑๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
  8. แม่เจ้าจามรี