บุญเกิด หิรัญคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญเกิด หิรัญคำ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มกราคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
จังหวัดชัยภูมิ ประเทศสยาม

นายบุญเกิด หิรัญคำ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 4 สมัย และเป็นหนึ่งในสามนักการเมืองที่เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อครั้งก่อการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2514 ว่าเป็นการก่อกบฎ

ประวัติ[แก้]

นายบุญเกิด หิรัญคำ เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

การทำงาน[แก้]

นายบุญเกิด หิรัญคำ เริ่มทำงานการเมืองโดยสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 เขาได้ร่วมกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน และ นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ เป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะปฏิวัติ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติกับพวกอีกรวม 17 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาหาว่าเป็นกบฏ อ้างในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญประชาชนชาวไทย เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษตามกฎหมาย แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาทั้ง 3 คน กลับถูกคณะผู้มีอำนาจลงโทษจำคุก 7 ปี จนกระทั่งต่อมาในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้ทั้ง 3 คน[1][2]เขาจำคุกระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ 36/2515 และออกจากคุกวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2517 ตามพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2515 พ.ศ. 2517[3]

ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคอธิปัตย์ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[5] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคก้าวหน้า และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนแรก[6]

บุญเกิด ได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

บุญเกิด หิรัญคำ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคอธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคความหวังใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต พรรคประชาธิปัตย์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2548) ISBN 9749353501
  2. "อดีต รมช.คมนาคม" ดับคาโรงแรม เผยประวัติเป็นนักต่อสู้ ฟ้องหัวหน้าคณะปฏิวัติ
  3. พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคก้าวหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓