สุขุม เลาวัณย์ศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุขุม เลาวัณย์ศิริ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้า
  • วีระ มุสิกพงศ์
  • เฉลียว วัชรพุกก์
  • มนตรี พงษ์พานิช
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 เมษายน พ.ศ. 2482
ประเทศไทย
เสียชีวิต16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (77 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสสมทรัพย์ เลาวัณย์ศิริ

สุขุม เลาวัณย์ศิริ (22 เมษายน พ.ศ. 2482 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559) อดีตประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย และอดีตประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)

ประวัติ[แก้]

สุขุม เลาวัณย์ศิริ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนาย ประกาย แซ่เล้า กับ นางตู้ แซ่โค้ว สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี พาณิชยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 9 สมัย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2544) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในปี พ.ศ. 2544

เขาเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคนำไทย[1]

การทำงาน[แก้]

สุขุมเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง อาทิ

  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำสภาผู้แทนราษฎร
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
  • ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี)
  • นายกสมาคมส่งเสริมการค้าอาเซียน
  • ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

นอกจากผลงานด้านการเมืองยังมีผลงานในการริเริ่มเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อาทิ เป็นผู้ริเริ่มให้สร้างฝายยาง (เขื่อนยาง) มาใช้เก็บน้ำเป็นผลสำเร็จ เป็นผู้ริเริ่มขุดคลองประปาน้ำดิบแห่งที่ 2 ให้แก่กรุงเทพมหานคร เป็นคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย[2]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

สุขุม เลาวัณย์ศิริ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สิริอายุรวม 77 ปี

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 56ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2538
  2. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/185/39.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙