สุเมธ พรมพันห่าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุเมธ พรมพันห่าว
เลขาธิการพรรคเสรีธรรม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าปรีดี หิรัญพฤกษ์
ถัดไปพินิจ จารุสมบัติ
รักษาการหัวหน้าพรรคเสรีธรรม
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าอาทิตย์ อุไรรัตน์
ถัดไปพินิจ จารุสมบัติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 ตุลาคม พ.ศ. 2482
อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ (ขณะนั้นเป็นจังหวัดหนองคาย)
เสียชีวิต7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (70 ปี)
จังหวัดอุดรธานี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย
คู่สมรสนางประสาร พรมพันห่าว

สุเมธ พรมพันห่าว อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย อดีตเลขาธิการพรรคเสรีธรรม และเป็นผู้เสนอขอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬต่อสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2537

ประวัติ[แก้]

สุเมธ พรมพันห่าว เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ[1] (ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย) เป็นบุตรของนายชาลี กับนางทองมี พรมพันห่าว

สุเมธ พรมพันห่าว เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ที่โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี รวมอายุ 70 ปี[2]

การทำงาน[แก้]

สุเมธ พรมพันห่าว เริ่มงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคราษฎร ต่อมาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสามัคคีธรรม และร่วมจัดตั้งพรรคเสรีธรรม พร้อมกับนายพินิจ จารุสมบัติ จนกระทั่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เลขาธิการพรรคคนที่ 2 ในระหว่างปี พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2539 และได้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคเสรีธรรม ภายหลังการลาออกของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วงปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคเสรีธรรม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเสรีธรรมมีคะแนนสนับสนุนจากประชาชนไม่ถึงร้อยละ 5 ตามที่กฎหมายกำหนด ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค[3]

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ภายหลังการยุบรวมของพรรคเสรีธรรม กับพรรคไทยรักไทย นายสุเมธ ได้ย้ายไปเข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคมหาชน และลงสมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดหนองคาย[4] แต่ก็ต้องแพ้ให้กับนายนิพนธ์ คนขยัน จากพรรคไทยรักไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัคร ส.ส.อีกครั้ง ในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย[5] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ผลงานโดดเด่น[แก้]

สุเมธ พรมพันห่าว มีผลงานที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักของประชาชน คือ การผลักดันการจัดตั้งศาลจังหวัดบึงกาฬ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย อำเภอบึงกาฬ[6] และการเสนอขอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2537[7] แต่ในขณะนั้นยังไม่สามารถจัดตั้งได้ เนื่องจากขัดข้องในข้อกฎหมาย[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
  2. มะเร็งตับคร่าสุเมธ พรหมพันห่าวอดีตส.ส.ดับ เก็บถาวร 2010-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก คมชัดลึก
  3. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
  4. การเลือกตั้ง ตอน...แบ่งเขตให้เลือกตั้งจังหวัดหนองคาย[ลิงก์เสีย]
  5. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขต 2[ลิงก์เสีย]
  6. มะเร็งตับคร่าชีวิต ”สุเมธ พรหมพันห่าว”อดีต ส.ส.หนองคาย เสียชีวิต ด้วยวัย 71 ปี พระราชทานเพลิงศพเสาร์ 10ก.ค. ล่าสุด สังกัดพรรค ภท.[ลิงก์เสีย]
  7. ครม.มีมติตั้ง "บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 แยกหนองคาย
  8. กระทู้ถามที่ ๑๗๖ ร. เรื่อง ขอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ของ นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 25ก วันที่ 15 มิถุนายน 2537
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า สุเมธ พรมพันห่าว ถัดไป
อาทิตย์ อุไรรัตน์ รักษาการ หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
พินิจ จารุสมบัติ