สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีทวี บุณยเกตุ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีทวี บุณยเกตุ
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447
เมืองตรัง ประเทศสยาม
เสียชีวิต16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 (81 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสไสว เทพหัสดิน ณ อยุธยา

สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา หรือ หลวงสุนทรเทพหัสดิน (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย 1 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย 5 สมัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร

ประวัติ[แก้]

นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับนางไสว เทพหัสดิน ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุณยเกตุ) เป็นน้องสาวของนายทวี บุณยเกตุ[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวง ไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมโยธาที่ประเทศอังกฤษ โดยเป็นนักเรียนทุนของกรมรถไฟหลวงรุ่นที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2464 สำเร็จการศึกษาและกลับถึงสยามประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2469

การทำงาน[แก้]

หลวงสุนทรเทพหัสดิน (สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้เข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2469 ในตำแหน่ง นายช่างผู้ช่วย กรมรถไฟหลวง ปี พ.ศ. 2475 เป็น นายช่างกำกับภาค และในปี พ.ศ. 2477 ได้โอนไปรับราชการในกองทาง กรมโยธาเทศบาล และเป็นอธิบดีกรมโยธาเทศบาล ในปีพ.ศ. 2485

ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2476[2] พ.ศ. 2480[3] และในปี พ.ศ. 2481[4]

สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2487[5] ต่อในปี พ.ศ. 2488 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ[6] แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียง 17 วัน นายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรี ก็ลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงไปด้วย

ในปีเดียวกันนั้น เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[7] แต่นายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนถัดมา แต่ก็ยังทำหน้าที่รักษาการไปจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 หลังการเลือกตั้งเขาไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลต่อมาของนายควง อภัยวงศ์

จนกระทั่งอีก 3 เดือนต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[8] และได้รับแต่งตั้งอีกในรัฐบาลต่อมา[9] จากนั้นเป็นต้นมาเขาก็ว่างเว้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อีกสมัย ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน

นายสพรั่ง เคยทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญการบินพลเรือน ประจำกระทรวงคมนาคม[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชีวประวัติ สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
  3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
  4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  10. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2508
  11. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  12. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.