สมชาย หาญหิรัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมชาย หาญหิรัญ
รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม พ.ศ. 2562 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอุตตม สาวนายน (รัฐมนตรี)
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รัฐมนตรี)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสอัญชลี หาญหิรัญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ) สมชาย หาญหิรัญ เกิดเมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2500 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[1]คนแรกที่มีตำแหน่งทางวิชาการ เป็น กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรรมการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [2]ผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กรรมการศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษากรรมการวิชาการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ อดีตกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ

อดีตประธานกรรมการ สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม อดีตประธานกรรมการ บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด(มหาชน) กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และ อดีตประธานคณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จากัด (มหาชน) อดีตกรรมการ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ อดีตกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่สองที่มีตำแหน่งทางวิชาการในรอบ 40 ปี ถัดจาก ศาสตราจารย์ ยศ บุนนาค อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และเป็นอดีตอาจารย์พิเศษหลายมหาวิทยาลัย

ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2557 จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 และดำรงตำแหน่งดังกล่าวถึงรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา ตาม ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 105 / 2557 ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 มีบุคคลได้ร้องเรียนเขาต่อประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอให้ตรวจสอบ สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กรณีอาจกระทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 103 และกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ โดยอาจรับประโยชน์ตอบแทนจาก บริษัท วี.อาร์.พี.แอดวานซ์ จำกัด ผู้ให้เช่ารถยนต์กับ ธพว.หรือไม่ สำนักงานปปช. ได้รับเรื่องร้องเรียนในวันดังกล่าว เวลา 11.15 น.

ด้านครอบครัว บิดา สมชาย หาญหิรัญ ประกอบอาชีพพ่อค้า สมชาย หาญหิรัญ สมรสกับ นาง อัญชลี หาญหิรัญ มีบุตรชื่อ นาย ภีมพล หาญหิรัญ เรียนจบ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษา[แก้]

สมชาย หาญหิรัญ จบการศึกษาดังนี้ ปริญญาเอก Ph.D. (Economics) Concordia University ประเทศแคนาดา ปริญญาโท Master of Art (Economics) Queen’s University ประเทศแคนาดา ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์บัณทิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาบัตร หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ปี 2552

การทำงาน[แก้]

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง)

รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง)

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0008.PDF
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๖, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔