สนอง นิสาลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนอง นิสาลักษณ์
ผู้บัญชาการนาวิกโยธิน
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – 30 กันยายน พ.ศ. 2509
ก่อนหน้าพล.ร.ท. ม.จ.กาฬวรรณดิศ ดิศกุล
ถัดไปพล.ร.ท. โสภณ สุญาณเศรษฐกร

พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ อดีตนายทหารเรือ นักการทูต และนักการเมืองไทย

ประวัติ[แก้]

พล.ร.ต. สนอง เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2459 ที่ตำบลท่าเรือจ้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรของนายนี้ และนางสละ นิสาลักษณ์ ในจำนวนบุตรทั้งหมด 4 คน

จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 (ม.ศ. 8) เมื่อปี พ.ศ. 2477 และจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ พรรคนาวิน เมื่อปี พ.ศ. 2483, โรงเรียนนายทหาร พ.ศ. 2498, วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2504, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 7 พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2508 รวมถึงเคยไปศึกษาวิชาการบินและการปกครอง ที่ประเทศอังกฤษ และหลักสูตรนาวิกโยธิน

ชีวิตส่วนตัว พล.ร.ต. สนอง สมรสกับ คุณหญิงอนันต์ นิศาลักษณ์ มีบุตรสาวหนึ่งคน นอกจากนี้แล้ว พล.ร.ต. สนอง ยังเป็นผู้ที่ทูลขอพระราชทาน เพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเพลงประจำหน่วยฯ ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เมื่อปี พ.ศ. 2502 อีกด้วย[1] [2]

การทำงาน[แก้]

พล.ร.ต. สนอง เริ่มรับราชการในตำแหน่งประจำแผนกปืน เรือรบหลวงศรีอยุธยา จากนั้นได้เปลี่ยนเป็นนักบิน ประจำกองการบินทหารเรือ และมีความเจริญก้าวหน้าทางราชการจนในที่สุด เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ถึง 2 สมัย คือ ในปี พ.ศ. 2500[3]และ พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2509 และมีตำแหน่งสูงสุดในชีวิตทหารเรือ คือ เจ้ากรมการข่าวทหารเรือ พ.ศ. 2509

หลังจากนั้นจึงได้โอนย้ายมาเป็นข้าราชการพลเรือน ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ประจำไต้หวัน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2514[4], เอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ประจำยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2516[5] และ เอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำโรมาเนีย อีกตำแหน่งหนึ่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2517[6] ก่อนจะเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง นายทหารนอกราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อปี พ.ศ. 2519

หลังเกษียณอายุราชการแล้ว พล.ร.ต. สนอง ได้เข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการเป็นที่ปรึกษากระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[7] ในรัฐบาลที่มี พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2522 จากนั้นได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ส.ส. กทม.) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2526 โดยร่วมทีมเดียวกับ ศ.(พิเศษ) มารุต บุนนาค และม.ล.เสรี ปราโมช

พล.ร.ต. สนอง นิสาลักษณ์ ถึงแก่อนิจกรรมระหว่างดำรงตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2526 จึงมีการเลือกตั้งซ่อม และเป็น พล.อ. หาญ ลีลานนท์ เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งแทนไปในที่สุด [8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2497 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 3 ประดับดาวทอง[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. รู้จักกับ นาวิกโยธิน พระเอกของเมื่อวานนี้ จากโอเคเนชั่น[ลิงก์เสีย]
  2. "พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ ประวัติจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-03.
  3. ประกาศกองบัญชาการผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  8. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช. ชีวลิขิต. กรุงเทพฯ : พรรคประชาธิปัตย์, 2548. 216, 90 หน้า. ISBN 9789749353509
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ง, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔, หน้า ๘๑๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๑๘๕, ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๑๐, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๖๑๕, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๒๔๕๙, ๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 71 ตอนที่ 13 หน้า 610, 16 กุมภาพันธ์ 2497
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 71 ตอนที่ 49 หน้า 1727, 3 สิงหาคม 2497
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 71 ตอนที่ 81 หน้า 2734, 7 ธันวาคม 2497