หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล
หม่อมเจ้า
ประสูติ22 มกราคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
หม่อมหม่อมศิริพร ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์รังษิพันธ์ ยุคล
หม่อมราชวงศ์จันทรลัดดา ยุคล
หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล
หม่อมราชวงศ์จันทรนิภา ยุคล
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
พระมารดาหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา

พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล[1] (เกิด 22 มกราคม พ.ศ. 2490) หรือ ท่านชายใหม่ เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับ หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ถือเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐาน ลำดับที่ 6 ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์

พระประวัติ

หม่อมเจ้าจุลเจิม (ท่านชายใหม่) ประสูติเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2490 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา (สุฤทธิ์) เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมเจ้าจุลเจิม ทรงมีเชษฐา เชษฐภคินี และขนิษฐา ร่วมอุทร 4 องค์ คือ

ทรงศึกษาชั้นประถมที่วชิราวุธวิทยาลัย และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ก่อนจะได้รับการส่งไปศึกษาต่อจนจบมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียน Kemper Military School รัฐมิสซูรี สหรัฐ และทรงศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัย Western Pacific University (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัย California Miramar University) และหลักสูตรปริญญาโทด้านการจัดการกีฬา

การทรงงาน

พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ จากพลตรี เป็น พลเอก ในปี 2562[3] เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ สนองพระเดชพระคุณเป็นราชองครักษ์พิเศษใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ลดยศของพลเอกหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ลงเป็นพลตรีตามเดิม[5][6] ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน หม่อมเจ้าจุลเจิมทรงโพสต์กลอนราชสวัสดิ์ผ่านเฟสบุ๊กของพระองค์[7]

การปฏิบัติหน้าที่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่สำคัญเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรงพระมุรธาภิเษก โดยพลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ได้ถวายบังคม 3 ครั้ง แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานและทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระเต้านวเคราะห์ รัชกาลที่ 4 ทรงวักน้ำจากพระเต้านวเคราะห์ รัชกาลที่ 4 และทรงแตะที่พระนลาฏ เสร็จแล้ว พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิมยุคล เสด็จลงจากมณฑปพระกระยาสนาน และถวายบังคม 3 ครั้ง

ชีวิตส่วนองค์

หม่อมเจ้าจุลเจิมเสกสมรส 2 ครั้ง ในครั้งแรกกับหม่อมศิริพร ยุคล ณ อยุธยา (เสนาลักษณ์) ซึ่งถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 มีโอรส - ธิดา 2 คน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์รังษิพันธ์ ยุคล (คุณชายเหมา; 15 มีนาคม พ.ศ. 2518)
  2. หม่อมราชวงศ์จันทรลัดดา ยุคล (คุณหญิงแอร์; 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520)

ต่อมาได้เสกสมรสใหม่กับหม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา (ขัติยสุรินทร์) ในปี พ.ศ. 2533 มีธิดา 2 คน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์แม้นนฤมาส ยุคล (คุณหญิงแม้น; 17 กันยายน พ.ศ. 2533)
  2. หม่อมราชวงศ์จันทรนิภา ยุคล (คุณหญิงไหม; 3 มกราคม พ.ศ. 2535)

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ
ลำดับโปเจียม25

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ Link
  3. ราชกิจจานุเบกษา ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ
  4. ราชสกุล “ยุคล” กับการเมืองไทย
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานปรับลดชั้นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตร
  6. ด่วน! โปรดเกล้าฯ ลดยศทหาร "หม่อมเจ้าจุลเจิม"
  7. "พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล" โพสต์เฟซบุ๊ก กลอน "ราชสวัสดิ์"
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๖ ข ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙ เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๔, ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒