ชุมพล โลหะชาละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุมพล โลหะชาละ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มกราคม พ.ศ. 24614 มกราคม พ.ศ. 2461
เสียชีวิต6 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (83 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงทองอยู่ โลหะชาละ
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศพลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ (หงศ์ โลหะชาละ) เป็นนายตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เริ่มชีวิตการงานเป็นคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่สุดท้ายกลายเป็นนายตำรวจใกล้ชิดกับราชสำนัก เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ 2 สมัย และในรัฐบาลบาลของพล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ

ประวัติ[แก้]

พล.ต.อ. ชุมพล โลหะชาละ เดิมชื่อ หงส์ โลหะชาละ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[1] และจบโรงเรียนนายร้อยในปี 2483[2]: 204 

ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 อายุ 83 ปี และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์

การงานและบทบาททางการเมือง[แก้]

พล.ต.อ. ชุมพล เป็นคนสนิทของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เขาเป็นหนึ่งในสามคนที่ได้ติดตาม จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หลบหนีโดยเดินทางไปโดยรถยนต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรียี่ห้อฟอร์ด รุ่นธันเดอร์เบิร์ดไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา[3] เมื่อครั้งเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 อย่างไรก็ดีเมื่อเขากลับไปรายงานตัวที่พระนคร เขาไม่ถูกลงโทษ[2]: 204 

หลังจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ต่างประเทศหลังจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฟื้นฟูพระราชอำนาจ เขาตามเสด็จฯ แทบทุกครั้งในฐานะนายตำรวจราชสำนัก ซึ่งรวมถึงตามถวายอารักขาการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ[2]: 204–5  ในช่วงนั้นเขาเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[2]: 205 

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[4] ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ประกอบขึ้นจากผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระราชหฤทัย[2]: 205  เขาได้เลื่อนเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจในปี 2519[2]: 205 [5] ในคดีการเมืองที่เขาคุมอยู่นั้น คดีที่ผู้เสียหายเป็นฝ่ายซ้ายจะตามจับผู้ใดไม่ได้ ซึ่งรวมถึงคดีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้าที่จังหวัดนครปฐมในวันที่ 24 กันยายน 2519 ด้วย แต่ถ้าเป็นฝ่ายขวาจะตามจับได้ทุกราย[2]: 205–6 

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา (2519) เขาเป็นผู้สั่งการให้ตำรวจสลายการชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]: 199  ทั้งนี้แม้ว่าสุธรรม แสงประทุม และนักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบมเดชานุภาพยอมมอบตัวแล้ว[2]: 202  พฤติกรรมของเขาสะท้อนชัดเจนว่าต้องการปราบนักศึกษาให้สิ้นซากหรือลบชื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย[2]: 203 

กระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522 จนถึงปี พ.ศ. 2523[6][7]

ยศและตำแหน่ง[แก้]

ยศ[แก้]

  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2483 - ร้อยตำรวจตรี[8]
  • 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 - ร้อยตำรวจเอก[9]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 - พลตำรวจโท[10]

ตำแหน่ง[แก้]

  • ??? - ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 - ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ[11]

ครอบครัว[แก้]

พลตำรวจเอก ชุมพล เป็นบิดาของ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ อดีตประธานสภากรุงเทพมหานครและอดีตปลัดกรุงเทพมหานคร และบิดา พ.ต.ต.สุรศักดิ์ โลหะชาละ สารวัตรแผนกฝึกอบรม กองกำกับการอำนวยการ กองบังคับการนครบาลเหนือ กองบัญชาการตำรวจนครบาล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  ฝรั่งเศส :
    • พ.ศ. 2505 - เครื่องอิสริยาภรณ์เล็ทวล นัวร์ ชั้นที่ 2[26]
  •  สวีเดน :
    • พ.ศ. 2505 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา ชั้นที่ 3[26]
  •  เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2505 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์กูโรนน์ ชั้นที่ 3[26]

อ้างอิง[แก้]

  1. พลตำรวจเอกชุมพล โลหะชาละ - โรงเรียนเทพศิรินทร์
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 เจียมธีรสกุล, สมศักดิ์ (2544). ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก. ISBN 9745728772.
  3. เลียววาริณ, วินทร์ (2540). ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. ดอกหญ้า. ISBN 974-85854-7-6. หน้า 421
  4. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-08.
  5. เส้นทางลี้ภัยจอมพลป.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๓๘๖)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๗๖๑)
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๔, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๗๔, ๒๙ มีนาคม ๒๔๗๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๘๐๓, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
  19. ราชกิจจานุดเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๓ สิงหาคม ๒๕๑๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖๕, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๓
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๖๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี, เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 82 หน้า 2652, 1 พฤศจิกายน 2498
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 387, 31 มกราคม 2499
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 26.6 26.7 26.8 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 79 ตอนที่ 109 หน้า 2635, 11 ธันวาคม 2505
  27. ราชกิจจานุเบกศา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 79 ตอนที่ 109 หน้า 2631, 11 ธันวาคม 2505