บุณย์ เจริญไชย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุณย์ เจริญไชย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2507
ก่อนหน้ากฤช ปุณณกันต์
ถัดไปมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด​18 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
เสียชีวิต14 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (84 ปี)

บุณย์ เจริญไชย เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนักการทูตประจำประเทศฝรั่งเศส มีบุตรชาย นายจักร เจริญไชย

ประวัติ[แก้]

บุณย์ เจริญไชย เป็นบุตรของขุนอนุการสกลรัฐ (กาทอน เจริญไชย) กับนางกาไวย อนุการสกลรัฐ เป็นชาวอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่สอบได้ที่ 1 ของทุนไปเรียนต่างประเทศถึง 3 ทุน แต่เขาเลือกไปเรียนกฎหมายที่ฝรั่งเศส หลังจบการศึกษานายบุณย์ เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเอกอัคราชทูตหลายประเทศ อาทิ กรุงปารีส ฝรั่งเศส อินเดีย[1]

บุณย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ พ.ศ. 2502[2] และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ใน พ.ศ. 2506[3] ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์ จนกระทั่งเขาลาออกจากตำแหน่ง ใน พ.ศ. 2507[4]

บุณย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติใน พ.ศ. 2516[5] หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจและขับไล่รัฐบาลชุดที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คนดีๆ ในกระทรวงการต่างประเทศ
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายบุณย์ เจริญชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลาออก และตั้ง พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  8. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
  9. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา