นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้านายชวน หลีกภัย
ถัดไปนายดุสิต ศิริวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าพลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ถัดไปพลเอกเล็ก แนวมาลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้านายอรุณ สรเทศน์
ถัดไปนายสุรินทร์ เทพกาญจนา
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าประกายเพชร อินทุโสภณ
ถัดไปเสริมศักดิ์ เทพาคำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2463
เสียชีวิตพ.ศ. 2536 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสอินทิรา ชาลีจันทร์

นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ (พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2536 [1]) อดีตเสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา [2] อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี [3] และรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วย ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ช่วง พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2519 อีกทั้งยังเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกและคนเดียวตราบถึงปัจจุบันที่ไม่ได้เป็นทหาร

ประวัติ[แก้]

นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นบุตรของ พันเอกหลวงชาญสงคราม (กฤษณ์ ชาลีจันทร์) กับ นางแฉล้ม ชาญสงคราม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2463 ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ [4] จบปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนกรมโลหกิจด้านธรณีวิทยา ณ Massachusetts Institute of Technology ที่สหรัฐอเมริกา ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐฯ นายนิธิพัฒน์เป็นนักเรียนไทยรุ่นแรกที่สมัครเข้าเป็น "เสรีไทย"ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และได้เข้าเรียนในหลักสูตรของ โรงเรียนสื่อสารและการรบพิเศษ (Office of Strategic Services) โดยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทาง O.S.S ส่งให้เดินทางมาปฏิบัติ "การรบพิเศษ" ในประเทศจีน อินเดีย ลังกา และไทย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงแล้ว นายนิธิพัฒน์ก็ได้เข้ารับราชการจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ [5] เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) ชุดแรก เมื่อ พ.ศ. 2505 [6]

นายนิธิพัฒน์สมรสกับ นางอินทิรา อินทรทูต บุตรสาวของพระพินิจชนคดี อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับหม่อมหลวงอรุณ สนิทวงศ์ มีบุตรชายคือ นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์

งานการเมือง[แก้]

นายนิธิพัฒน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2517 และเข้าทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมทั้งลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางกอกใหญ่ เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35 [8] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[9]

ต่อมาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[10][5] นับเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของประเทศไทย ที่ไม่ได้เป็นทหาร แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

บั้นปลายของชีวิต[แก้]

หลังจากพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 นายนิธิพัฒน์หันไปทำธุรกิจส่วนตัว และดูแลกิจการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลภรรยา และนายนิธิพัฒน์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2536 รวมอายุ 73 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ และคณะ. ปิยานุสรณ์. กรุงเทพฯ : ที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2537, 2537. 378 หน้า. , 378 หน้า
  2. จากบทความ"เสรีไทย"
  3. รายนามเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี
  4. "หอเชิดชูเกียรติยศนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
  5. 5.0 5.1 การดิ้นรนครั้งสุดท้ายของ ROTHCHILD ไทยนาม "อินทรทูต"!?[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ, พฤษภาคม 2529
  6. วสท. ผู้ก่อกำเนิด สภาวิศวกร บทความโดย ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม อุปนายก วสท.
  7. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  9. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  10. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗