บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 (82 ปี)
อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
คู่สมรสนางธิดา แก้วประสิทธิ์
บุตรพันโทหญิง จิตรลดา แก้วประสิทธิ์
นายบรรดาล แก้วประสิทธิ์
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด
ยศ พลเอก

พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ อดีตนายทหาร และนักการเมือง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์, อดีตประธานมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร, อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก, อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1] อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด อดีตรองประธานราชตฤณมัยสมาคม และประธานองค์การพิทักษ์สยาม

ประวัติ[แก้]

พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ที่อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

พล.อ. บุญเลิศ สมรสกับนางธิดา แก้วประสิทธิ์ มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ

  1. พ.ท.หญิง จิตรลดา แก้วประสิทธิ์ ผู้ช่วยนายทหารคนสนิทปลัดกระทรวงกลาโหม
  2. นายบรรดาล แก้วประสิทธิ์

การศึกษา[แก้]

  • นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 พ.ศ. 2503 (รุ่นเดียวกับพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์)
  • นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 12 พ.ศ. 2508

ประวัติการทำงาน[แก้]

รับราชการทหาร[แก้]

พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เคยดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก นายทหารราชองครักษ์พิเศษ[2] ตุลาการศาลทหารสูงสุด รองประธานราชตฤณมัยสมาคมและประธานองค์การพิทักษ์สยาม

ในช่วงปี พ.ศ. 2520 พล.อ. บุญเลิศ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นพันตรี ได้เข้าร่วมในกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ที่มี พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ เป็นแกนนำในการล้มรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ อย่างไรก็ตามการก่อรัฐประหารครานั้นไม่ได้ประสบความสำเร็จ[3]

การเมือง[แก้]

นับจากวันนั้นเป็นเวลาหลายปีที่ พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ห่างหายจากสารบททางการเมือง แต่ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ชื่อของพล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ในฐานะประธานองค์การพิทักษ์สยาม ที่ประกาศเสียงดังฟังชัดว่าจะเป็นแกนนำมวลชนชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดีเดย์วันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ โดยมี "ธง" นำประเทศไทยย้อนเวลาไปสู่การ "แช่แข็ง" นักการเมืองไม่ให้มายุ่งกับการปฏิรูปประเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พล.อ. บุญเลิศได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 26[4]

นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย[แก้]

นอกจากนี้แล้ว พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยด้วย ซึ่งนับเป็นการดำรงตำแหน่งในช่วงที่สำคัญที่ทางไทยมีปัญหาบาดหมางกับทางสหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ หรือไอบ้า จนเกือบจะถูกตัดสิทธิให้เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก และถูกให้ออกจากสมาชิกสหพันธ์ฯ[5] ซึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน พล.อ. บุญเลิศ ได้ประกาศไว้ว่าหากนักกีฬาไทยไม่อาจคว้าเหรียญทองมาได้ จะลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งต่อมาก็ไม่มีใครสามารถคว้าเหรียญทองมาได้จริง (ที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ แก้ว พงษ์ประยูร ที่ได้เหรียญเงินในรุ่นไลต์ฟลายเวต) พล.อ. บุญเลิศ ก็ได้ลาออกจริงตามที่ได้ให้วาจาไว้[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  สหรัฐ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญซิลเวอร์สตาร์

อ้างอิง[แก้]

  1. ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
  2. ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
  3. พลิกประวัติ เสธ.อ้าย แกนนำขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กระปุกดอตคอม, พฤศจิกายน 2555
  4. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  5. "สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ จากวอยซ์ทีวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
  6. "'เสธ.อ้าย'ลาออก'นายกเสื้อกล้าม'แล้ว จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-30. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๓๔ หน้า ๔, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๘