พ่วง สุวรรณรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่วง สุวรรณรัฐ
นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก ณ ปรำพิธีหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2513
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศสยาม
เสียชีวิต10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (89 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสท่านผู้หญิงประสารสุวรรณ สุวรรณรัฐ
บุตร5 คน

นายพ่วง สุวรรณรัฐ (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และรัฐบาลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และเป็นอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย

ประวัติ[แก้]

นายพ่วง สุวรรณรัฐ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ณ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายรื่น และนางทองอยู่ สุวรรณรัฐ มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 2 คนคือ ขุนสุวรรณรัตนราช (เชย สุวรรณรัฐ) และนางแช่ม ณ นคร จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับอุดมศึกษาเริ่มที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2475 จนถึงชั้นปีที่ 2 จึงโอนไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนสำเร็จการศึกษา และได้รับพระราชทานปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิตในปี พ.ศ. 2477 นายพ่วง สุวรรณรัฐ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2543 ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร สิริรวมอายุ 89 ปี 4 เดือน

ชีวิตครอบครัว[แก้]

นายพ่วง สุวรรณัฐ สมรสกับท่านผู้หญิงประสารสุวรรณ สุวรรณรัฐ (นามเดิม : หม่อมราชวงศ์ประสารสุวรรณ ทองแถม) เป็นธิดาของหม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม กับหม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2484 มีบุตรธิดา 5 คน คือ

  1. ท่านผู้หญิงพรรณวดี จุฑารัตนกุล นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมรสกับ นายจเร จุฑารัตนกุล อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นพ่อและสามีของนักแสดงสาวรุ่นใหญ่ชื่อดัง อ้อม พิยดา จุฑารัตนกุล
  2. นางพิยดา สุวรรณรัฐ ประกอบอาชีพอิสระ สมรสกับนายเฮนริค แลงเฟลด์
  3. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี[1] สมรสกับท่านผู้หญิงทัศนียา (โฆวินทะ)
  4. นางภราไดย สุวรรณรัฐ สมรสกับ นายทินกร หิรัญพฤกษ์ ซึ่งมีลูกชายเป็นดารานักแสดงหนุ่ม "ภูริ หิรัญพฤกษ์"
  5. นายพระนาย สุวรรณรัฐ สมรสกับ ทิพวิภา กัมปนาทแสนยากร

บทบาทการเมือง[แก้]

นายพ่วง สุวรรณัฐ เป็นข้าราชการฝ่ายปกครอง เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในระหว่างปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2501 มีผลงานที่โดดเด่นคือ ด้านการปราบปราม กรณีปิดล้อมตลาดนัดท่ามกลางคนนับพัน ปิดล้อมหมู่บ้าน ฉุดเอาครูหญิงไปทำมิดีมิร้ายกลางวัน ปล้นเรือโดยสารในทะเลสาบและทะเลหลวง ตั้งก๊กเก็บเงินค่ารักษาความเรียบร้อยจากบ้านเรือนหลังละห้าสิบสตางค์ต่อเดือน

นายพ่วง เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[2] และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 4

ต่อมาเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2511 ถึงปี พ.ศ. 2515 และในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน นายพ่วง ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (ครม.32)[3] และในรัฐบาลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ (ครม.33)[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พ่วง สุวรรณรัฐ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี, เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๖๗ ง, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔, หน้า ๑ [ลิงก์เสีย]
  2. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 32 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 33 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๑, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๓๙๐๖, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๗, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๑๙๖, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๔๙๙, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๙๔, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๐ ง หน้า ๔๘๙, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๙๖๕, ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๔๐๐, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๗
  19. 19.0 19.1 19.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙