จำลอง ครุฑขุนทด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำลอง ครุฑขุนทด
จำลอง ใน พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ากัญจนา ศิลปอาชา
วิชัย ตันศิริ
ถัดไปรุ่ง แก้วแดง
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าชิงชัย มงคลธรรม
เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ
ถัดไปสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
อาคม เอ่งฉ้วน
ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ธันวาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (พ.ศ. 2523 – 2531)
ปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2531 – 2535)
ชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535 – 2543)
ไทยรักไทย (พ.ศ. 2543 – 2550)
พลังประชารัฐ (พ.ศ. 2561 – 2565)
รวมแผ่นดิน (พ.ศ. 2565)
รวมไทยสร้างชาติ (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสวันเพ็ญ ครุฑขุนทด

จำลอง ครุฑขุนทด รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2 สมัย จำลองเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553[1] นอกจากนี้จำลองยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม 16[2]

ประวัติ[แก้]

จำลอง เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง เนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

การทำงาน[แก้]

จำลอง เคยทำงานเป็นทนายความ ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมือง โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งซ่อมแทนนายมงคล สุคนธขจร ที่ได้ถึงแก่กรรมแล้ว หลังจากนั้น จำลองได้ย้ายมาสังกัดพรรคปวงชนชาวไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2535 และย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และพรรคชาติพัฒนา ที่ต่อมาได้ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย

จำลอง เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 และดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2535 กระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จำลองได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ[3] และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง ในรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 และเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4]

ในปี พ.ศ. 2561 จำลองได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] กระทั่งปี พ.ศ. 2565 จำลองได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและย้ายมาสังกัด พรรครวมแผ่นดิน และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค[6] ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เขาได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมแผ่นดิน พร้อมลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคและตำแหน่งเลขาธิการพรรค[7]

จากนั้นจำลองได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติพร้อมกับได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "อากาศเป็นใจม็อบเสื้อแดงแน่นผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  2. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 Sep 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "บิ๊กน้อย" นั่งหัวหน้า "พรรครวมแผ่นดิน" อดีต ผบ.ข่าวกรอง-บิ๊กทหาร ร่วมเพียบ
  7. “จำลอง ครุฑขุนทด” ไขก๊อก กก.บห.รวมแผ่นดิน อ้างสูตรหาร 100 พรรคเล็กไปต่อยาก
  8. รทสช. เปิดล็อตแรก ผู้สมัคร ส.ส.อีสาน 'บิ๊กท้องถิ่น-อดีตแกนนำแดง' ลั่นดับฝันแลนด์สไลด์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]