บุญเทียม เขมาภิรัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญเทียม เขมาภิรัตน์
ไฟล์:บุญเทียม เขมาภิรัตน์.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 (85 ปี)

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญเทียม เขมาภิรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 4 สมัย สังกัดพรรคประชากรไทย

ประวัติ[แก้]

บุญเทียม เขมาภิรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481[1] สำเร็จการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนไตรรัตน์ศึกษา ชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ศึกษาต่อมัธยม 8 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้น พ.ศ. 2500 ศึกษาต่อชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิชาการแพทย์ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2506 ศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโสตร ศอ นาสิก (หู คอ จมูก) จนได้รับประกาศนียบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโสตร ศอ นาสิก (American Board Certified Fellow Otolarngology) ในปี 2511 และ พ.ศ. 2512 ศึกษาต่อทางโสตรวิทยา (Otology) ที่ Bayler College Of Medicine ,Houston Texas

การทำงาน[แก้]

งานแพทย์[แก้]

นายแพทย์บุญเทียม เริ่มรับราชการเป็นแพทย์ฝึกหัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2505 ในปีต่อมาจึงเข้าทำงานที่ Trumbull Memorial Hospital Woren Ohio และเป็นแพทย์ประจำบ้าน (ศัลยกรรม) ที่ Long Island College of Medicine, New York, ในปี พ.ศ. 2507 กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 จึงได้ กลับมาที่ประเทศไทยและได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์แพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

บุญเทียม เขมาภิรัตน์ ได้ร่วมกับนายสมัคร สุนทรเวช จัดตั้งพรรคประชากรไทย[2] และลงสมัครรับเลือกตั้ง จนได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคประชากรไทย เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งอีก 3 ครั้งต่อมาคือ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 โดยไม่ย้ายสังกัดพรรคการเมือง

รัฐมนตรี[แก้]

ในปี พ.ศ. 2526 นายแพทย์บุญเทียม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.43) ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526[3][4]

สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 นายแพทย์บุญเทียม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยไม่สังกัดพรรคการเมือง (ส่วนพรรคประชากรไทย ส่งผู้สมัครคือ พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช) แต่ได้รับคะแนนเสียง 2,943 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  5. ประวัติการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จากเนชั่นแชนแนลเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘