สมศักดิ์ โกศัยสุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมศักดิ์ โกศัยสุข
หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ถัดไปสนธิ ลิ้มทองกุล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าสนธิ ลิ้มทองกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองการเมืองใหม่

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอดีตหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) เป็นผู้ที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้นำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย[1]

ประวัติและการศึกษา[แก้]

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และโรงเรียนมัธยมพัทลุงวิทยา จังหวัดพัทลุง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขา การปกครอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทบาทการเมือง[แก้]

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เคยดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร เคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 โดยคู่เคียงข้าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และเป็น 1 ในผู้ที่ถูกหมายจับเช่นเดียวกับแกนนำคนอื่น ๆ เช่น นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์เหวง โตจิราการ และนางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้เป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ร่วมชุมนุมทางการเมืองเพื่อขับไล่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น จึงได้มีการลงมติเลือกให้นายสมศักดิ์เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมานายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อหลีกให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับเข้ามารับหน้าที่ดังกล่าวอีกครั้ง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553[2] ภายหลังการลาออกของนายสนธิ ลิ้มทองกุล

ต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นายสมศักดิ์ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากทำตามข้อเสนอของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จากการลงมติกันก่อนหน้านั้นไม่นาน[3]จากเรื่องการส่งพรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 หรือไม่

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ของพรรคการเมืองใหม่[4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[5]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557[แก้]

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายสมศักดิ์ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีบทบาทเป็นผู้นำในการชุมนุมภายในพื้นที่กระทรวงมหาดไทย [6] รวมถึงก่อนหน้านั้นก็ยังเป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยเวทีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายสูง ร่วมกับนายถาวร เสนเนียม แกนนำกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ด้วย[7]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยนายสมศักดิ์เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 39[8] [9]

อ้างอิง[แก้]

  1. พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
  3. พันธมิตรแพแตก!'สมศักดิ์'ไขก๊อก!'พิเชษฐ'ทิ้งการเมืองใหม่[ลิงก์เสีย] จากประชาทรรศน์
  4. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
  5. หน้าแรกข่าว > การเมือง > ข่าวเลือกตั้ง 2554 จากสนุกดอตคอม
  6. "ขอคืนพื้นที่มหาดไทยเหลว". เดลินิวส์. 3 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. หน้า 059-061, ทวนเส้นทาง'มวลมหาประชาชน' . นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]