ขุนทอง ภูผิวเดือน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขุนทอง ภูผิวเดือน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 พฤษภาคม พ.ศ. 2470
อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
เสียชีวิต7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 (68 ปี)
คู่สมรสนางใจดี ภูผิวเดือน

นายขุนทอง ภูผิวเดือน (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 6 สมัย

ประวัติ[แก้]

ขุนทอง ภูผิวเดือน เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางใจดี ภูผิวเดือน มีบุตร-ธิดา รวม 9 คน[1]

การทำงาน[แก้]

เริ่มเข้ารับราชการครูโดยการรักษาในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนประชาบาล ตำบลอีตือ (คำเหมือดแก้วบำเพ็ญวิทยา) ต่อมา พ.ศ. 2508 ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนท่าคันโทวิทยาคม และ พ.ศ. 2509 ย้ายไปศึกษานิเทศก์ฝ่ายสามัญศึกษา ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงปี พ.ศ. 2511

งานการเมือง[แก้]

ขุนทอง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 รวม 6 สมัย [2]

ขุนทอง ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[5] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[6] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง[7] และได้ลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524[8] แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งกลับเข้ามารับตำแหน่งเดิมในเดือนต่อมา[9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ขุนทอง ภูผิวเดือน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

ขุนทอง ตกเป็นจำเลยฐานทุจริตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 ซึ่งต่อมาศาลสั่งจำหน่ายคดี เนื่องจากจำเลยเสียชีวิต เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 รวมอายุ 68 ปี [10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ผู้นำท้องถิ่น กาฬสินธุ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-01. สืบค้นเมื่อ 2013-09-21.
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  4. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  10. "ศาลฎีกายกฟ้อง "อดีต พนง.แบงก์-ขรก.ก.ศึกษาฯ" คดีประวัติศาสตร์ทุจริตเครื่องราชฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-19. สืบค้นเมื่อ 2013-09-21.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  13. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts