สังศิต พิริยะรังสรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สังศิต พิริยะรังสรรค์
กรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม พ.ศ. 2558
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
ศาสนาพุทธ

รองศาสตราจารย์ สังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 และประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมลํ้า อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.), กรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ, อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.), อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตรองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต

ประวัติ[แก้]

สังศิต พิริยะรังสรรค์ เกิดเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอก สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยบีเลอเฟ็ลท์ ประเทศเยอรมนี

สังศิต เคยได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร ในปี พ.ศ. 2551 ต่อมาถูกกลุ่มเกษตรกรต่อต้านขับไล่

บทบาททางการเมือง[แก้]

สังศิต ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[1]

ในปี พ.ศ. 2557 หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ทำการรัฐประหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และในภายหลังสภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลง ได้รับแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) เขาถูกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทจากการโฆษณาจากการอภิปรายวิชาการ ในหัวข้อ “ตำรวจไทย มีไว้ทำอะไร”[2]

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 38/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ส่งผลให้ รศ.ดร. สังศิต พ้นจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เนื่องจากต้องรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ ซึ่งจะมี 4 คน จากเดิม 6 คน แต่ยังคงตำแหน่งประธานกรรมการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ประสบการณ์การทำงาน[แก้]

  • อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2528 - 2548
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ด้านนโยบายแรงงาน พ.ศ. 2532 - 2534
  • ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
  • สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2544 2548 (ด้านผู้ทรงคุณวุฒิ)
  • ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 2551
  • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2550 (สนช.)
  • ประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • รองประธานสภาที่ปรึกษาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ
  • สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
  • สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)
  • คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  • รองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
  2. สปท.หนุน"สังศิต"สู้คดีสตช.หลังโดนฟ้องหมิ่น
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐