สุพล ฟองงาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุพล ฟองงาม
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2553 – 19 เมษายน พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าสุณีย์ เหลืองวิจิตร
ถัดไปจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าบัญญัติ จันทน์เสนะ
ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ
ถัดไปปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
ประสงค์ โฆษิตานนท์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าชูศักดิ์ ศิรินิล
จักรภพ เพ็ญแข
ถัดไปวีระชัย วีระเมธีกุล
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย
องอาจ คล้ามไพบูลย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)
อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
สร้างอนาคตไทย (2564–2566)
พลังประชารัฐ (2561–2564)
เพื่อไทย (2551–2561)
พลังประชาชน (2549–2551)
ไทยรักไทย (2545–2549)
ความหวังใหม่ (2533–2545)
คู่สมรสสายฝน ฟองงาม

สุพล ฟองงาม เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ [2] อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหนึ่งในอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติในภาคอีสาน เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของ นายสุบิน และนางกัน ฟองงามเป็นแกนนำกลุ่มชักธงรบ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภเป็นหนึ่งในผู้ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกหมายเรียกเนื่องจากอาจมีส่วนรู้เห็นกับการเผาสถานที่ราชการ(ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ)ในขณะนั้น

การศึกษา[แก้]

สุพล ฟองงาม สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนชุมชนบ้านกุดเป่ง มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง ระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ด้านครอบครัว สมรสกับนางสายฝน ฟองงาม มีบุตรสาวคือ นางสาวโยธากาญจน์ ฟองงาม ผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย

การทำงาน[แก้]

สุพล ฟองงาม ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ต่อมาได้เข้าทำงานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย หลังจากการยุบพรรคพลังประชาชน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 พรรคเพื่อไทย ได้มีการประชุมเพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ แทนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐที่ลาออก ซึ่งการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคในครั้งนี้ นายสุพล ฟองงาม ได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[3] และได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา[4]

ในปี 2565 เขาได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย[5] และได้ลาออกมาสังกัดพรรคภูมิใจไทยในปัจจุบัน

ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

สุพล ฟองงาม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช[6] ต่อมาหลังจากรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่ง นายสุพล ฟองงาม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง ในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการยุบพรรคพลังประชาชน ทำให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. 'บิ๊กป้อม'ร่วมครั้งแรก พปชร.ถกใหญ่ เพิ่ม 17 กก.บห. 'สุริยะ'นอนมาจากร.พ.
  3. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  4. “สุพล ฟองงาม”ลาออกเลขาฯ“เพื่อไทย”[ลิงก์เสีย]
  5. พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตม-สนธิรัตน์ลั่น “ไม่ซ้ายสุดขั้ว ไม่ขวาสุดโต่ง ไม่เสนอชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ในบัญชี”
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
  7. ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า สุพล ฟองงาม ถัดไป
สุณีย์ เหลืองวิจิตร
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
(15 กันยายน พ.ศ. 2553 - 19 เมษายน พ.ศ. 2554)
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ