อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าจำลอง ครุฑขุนทด
ถัดไปพล.ต.ต.วุฒิ สุโกศล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529)
เอกภาพ (2530)
ประชาชน (2531—2535)
ความหวังใหม่ (2535—2539)
ไทยรักไทย (2539—2544)
มาตุภูมิ (2554—2555)
เพื่อไทย (2556—2561)
ประชาชาติ (2561—ปัจจุบัน)
คู่สมรสฮาลีเมาะ อุตรสินธุ์

นายกองตรี[1] อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่ม 8 สังกัดพรรคมาตุภูมิ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอดีตรองหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส

ประวัติ[แก้]

อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ที่ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] และสำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า

อารีเพ็ญ สมรสกับนางฮาลีเมาะ อุตรสินธุ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนราธิวาส

งานการเมือง[แก้]

อารีเพ็ญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกที่จังหวัดนราธิวาส ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดนราธิวาสเรื่อยมา จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 จึงย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ

เขาเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาชน[3] ในปี พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[4] อารีเพ็ญ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง[5] อาทิรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[6] (15 สิงหาคม 2540 - 8 พฤศจิกายน 2540) เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2537[7] และ พ.ศ. 2547 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2538 และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2547

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ[8] และในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 3 พรรคมาตุภูมิ[9] แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคมาตุภูมิ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[10] ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2556 ภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[11]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาและกลุ่มวาดะห์ นำโดยนาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีต ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาชาติ[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/091/4215.PDF
  5. พรรคมาตุภูมิ[ลิงก์เสีย]
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  7. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๖/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์)
  8. คณะกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ[ลิงก์เสีย]
  9. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ
  11. "วันนอร์"ดึงมาตุภูมิเสริมทัพเพื่อไทย จ่อสมัครสมาชิก 20 ธ.ค.นี้ หลอมกลุ่มวาดะห์ตั้งเป้าเจาะเสียง 3 จังหวัดชายแดนใต้[ลิงก์เสีย]
  12. น้องชาย'วันนอร์'คอนเฟิร์ม!'วาดะห์'รีเทิร์นย้ายสังกัดพรรคประชาชาติ
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]