สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(0 ปี 308 วัน)
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าเดือน บุนนาค
ถัดไปพลเอก ผิน ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน​ พ.ศ. 2492 – 11 มกราคม พ.ศ. 2494
(1 ปี 197 วัน)
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลเอก มังกร พรหมโยธี
ถัดไปเลียง ไชยกาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
(0 ปี 7 วัน)
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าปฐม โพธิ์แก้ว
ถัดไปพลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
รักษาการแทนผู้ประศาสน์การ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2494 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2495
ก่อนหน้าพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
ถัดไปจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 พฤษภาคม พ.ศ. 2442
เทศบาลนครเชียงใหม่
เสียชีวิต24 มีนาคม พ.ศ. 2496 (53 ปี)

พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรี[1][2]

ประวัติ[แก้]

พล.ท.สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ หรือ ขุนสวัสดิ์รณชัย[3] เคยรับราชการในกองทัพบก ขณะมียศ พันเอก ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2490 [4] โดยได้รับพระราชทานยศ พลตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491[5] และรับราชการมียศสูงสุดที่ พลโท เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 [6]

ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ พร้อมด้วย พันโท ก้าน จำนงภูมิเวท พันเอก ขุนศิลปศรชัย และพันโท ละม้าย อุทยานานนท์ ได้ทำการรัฐประหาร และบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[7]

พล.ท.สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาในพ.ศ. 2492 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[8] ก่อนจะถูกปรับเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี[9]

ในปี พ.ศ. 2494 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[10] นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2[11]

พล.ท.สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2496

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คณะที่ 23 The Secretariat of the Cabinet, THAILAND". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.
  2. "สมัยที่ 5 - ThaiGoodView.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-20. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.
  3. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  4. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๒๓)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  7. หนังสือ นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2522)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ)
  10. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  11. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.