พิเชฐ พัฒนโชติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิเชฐ พัฒนโชติ
รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2546
ก่อนหน้าเฉลิม พรหมเลิศ
ถัดไปสุชน ชาลีเครือ
รองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 – 28 เมษายน พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 สิงหาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550–2553, 2564–ปัจจุบัน)
การเมืองใหม่ (2553–2554)
มาตุภูมิ (2554–2561)
รวมพลังประชาชาติไทย (2561–2564)
คู่สมรสนภาพร พัฒนโชติ

นายพิเชฐ พัฒนโชติ เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา และอดีตรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานพรรคประชาธิปัตย์จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ[แก้]

พิเชฐ พัฒนโชติ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2496 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา แต่มาใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทรัฐศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประกาศนียบัตรหลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้า และประกาศนียบัตรหลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐ เอกชน และการเมือง รุ่นที่ 1 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วอป.2546)

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางนภาพร พัฒนโชติ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549

งานการเมือง[แก้]

นายพิเชฐ พัฒนโชติ ประกอบอาชีพเป็นนักกฎหมาย และเริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ที่จังหวัดนครราชสีมา[1] และได้รับเลือกจากวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่ง รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 แทนนายเฉลิม พรหมเลิศ[2] และได้ลาออก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2546[3]

ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 และ การชุมนุมขับไล่รัฐบาลนอมินีของทักษิณ ในปี พ.ศ. 2551 โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายพิเชฐได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มพันธมิตรฯทั้งสองครั้ง

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายพิเชฐได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. ในเขต 1 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย แต่ต่อมาได้ลาออกหลังจากที่นายวิทยาได้ขอลาออกเนื่องจากปัญหาการทุจริตในปลายปี พ.ศ. 2552[4]

หลังการตั้งพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ นายพิเชฐ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่[5] ต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปร่วมงานกับพรรคการเมืองอื่น[6] โดยการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 9 พรรคมาตุภูมิ[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เมื่อปี 2557 เกิดวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย ในครั้งนั้นมีพิเชฐ พัฒนโชติ เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 46 รวมอยู่ด้วย[8] [9]

ในปี 2566 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 27[10] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา (นายบุญทัน ดอกไธสง นายพิเชฐ พัฒนโชติ นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ นายวีระพล วัชรประทีป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรองประธานวุฒิสภา (แต่งตั้งนายพิเชฐ พัฒนโชติ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง แทน นายเฉลิม พรหมเลิศ ที่ลาออก)
  3. "ประกาศแต่งตั้งรองประธานวุฒิสภา (นายสุชน ชาลีเครือ แทน นายพิเชฐ พัฒนโชติ)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  4. ครม.แต่งตั้ง พิเชษฐ พัฒนโชติ เป็นที่ปรึกษา รมว.สธ.[ลิงก์เสีย]จากช่อง 9
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
  6. [ลิงก์เสีย] พันธมิตรแพแตก!'สมศักดิ์'ไขก๊อก!'พิเชษฐ'ทิ้งการเมืองใหม่ จากประชาทรรศน์
  7. โคราช-บิ๊กบัง เปิดตัวพรรคมาตุภูมิที่โคราช[ลิงก์เสีย]
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. เปิด 98 รายชื่อ ผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน-บัญญัติ" 3 อันดับแรก
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]