เภา สารสิน
เภา สารสิน | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | อนันต์ กลินทะ |
ถัดไป | ชวลิต ยงใจยุทธ |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532 | |
ก่อนหน้า | พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ |
ถัดไป | พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 7 มีนาคม พ.ศ. 2556 (83 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (สุจริตกุล) |
พลตำรวจเอก เภา สารสิน (18 กรกฎาคม 2472 - 7 มีนาคม 2556)[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตอธิบดีกรมตำรวจ ในระหว่างปี 2530 - 2532 อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ประวัติและครอบครัว
[แก้]พลตำรวจเอก เภา สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรี กับ ท่านผู้หญิงสิริ สารสิน สมรสกับท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (สกุลเดิม สุจริตกุล) บุตรีของพระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) อดีตอธิบดีกรมชาวที่[2] และคุณหญิงเชิด อุดมราชภักดี มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ
- กลินท์ สารสิน อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประธานกรรมการหอการค้าไทย คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
- พลตำรวจเอก ชินภัทร สารสิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นาย เศรษฐา ทวีสิน) อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- กนิษฐ์ สารสิน พิธีกรรายการโทรทัศน์
การศึกษา
[แก้]พลตำรวจเอก เภา สารสิน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2489 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาชั้นสูง (High School) จาก Wilbraham Academy สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2491 จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนได้รับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี (Chemistry) จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ สหรัฐ
ในปี พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางอาชญาวิทยา (Criminology) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ และ พ.ศ. 2522 สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21
การทำงาน
[แก้]การรับราชการ
[แก้]พล.ต.อ.เภา เริ่มรับราชการประจำกองวิทยาการ กรมตำรวจ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2497 และได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเรื่อยมา
- 5 ต.ค. พ.ศ. 2503 ผู้กำกับการ 1 กองพิสูจน์หลักฐาน
- 22 มี.ค. พ.ศ. 2509 รองหัวหน้ากองพิสูจน์หลักฐาน
- 28 ก.ย. พ.ศ. 2514 หัวหน้ากองพิสูจน์หลักฐาน
- พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
- 14 ก.ย. พ.ศ. 2517 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[4]
- 7 ก.ค. พ.ศ. 2519 รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[5]
- 2 มิ.ย. พ.ศ. 2521 - 4 ม.ค. พ.ศ. 2526 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- 27 ก.ย. พ.ศ. 2525 ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- 2 ต.ค. พ.ศ. 2527 ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
- 2 ต.ค. พ.ศ. 2529 รองอธิบดีกรมตำรวจ
- 2 ต.ค. พ.ศ. 2530 อธิบดีกรมตำรวจ
งานการเมือง
[แก้]พล.ต.อ.เภา สารสิน ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนาย อานันท์ ปันยารชุน[6][7] 2 สมัย
อนิจกรรม
[แก้]พลตำรวจเอก เภา สารสิน ป่วยด้วยโรคหลายชนิด โดยเฉพาะโรคเลือด เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 20.55 น. ณ หออภิบาลการหายใจ ตึกอัษฎางค์ ชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พลตำรวจเอก เภา สารสิน ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.00 น. และพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมทั้งพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ มีกำหนด 7 คืน ระหว่างวันที่ 8 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19.00 น. และสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 15 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19.00 น.[8] และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร บรมนาถบพิตรพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 17.30 น.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[15]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2531 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา มาเลเซีย ชั้นที่ 2[16]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2535 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พลตำรวจเอก เภา สารสิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อนิจกรรม
- ↑ บ้านขุนนางที่รัชกาลที่ 6 สร้างพระราชทาน
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุบเกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก ประจำวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2556[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๘, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๙, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1988.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2236, 25 กุมภาพันธ์ 2535
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2472
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- สกุลสารสิน
- สกุลโชติกเสถียร
- บุตรของนายกรัฐมนตรีไทย
- ตำรวจชาวไทย
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ