สุวิทย์ เมษินทรีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุวิทย์ เมษินทรีย์
สุวิทย์ ในปี พ.ศ. 2562
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[1]
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รักษาราชการ)
ถัดไปเอนก เหล่าธรรมทัศน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอรรชกา สีบุญเรือง
ถัดไปยุบเลิก
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
ถัดไปกอบศักดิ์ ภูตระกูล
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอภิรดี ตันตราภรณ์
ถัดไปสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561—ปัจจุบัน)
คู่สมรสผกากรอง เมษินทรีย์

เภสัชกร สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอดีตผู้อำนวยการสถาบัน SIGA ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสังคายนายกร่างธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต และประธานกรรมการบริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด​ (มหาชน)

ประวัติ[แก้]

สุวิทย์ เมษินทรีย์ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ (DSA93) ระดับปริญญาตรีด้านเภสัชศาสตร์ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโทด้านการตลาด จากคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และระดับปริญญาเอกด้านการตลาดจาก Kellogg School of Management, มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 และปริญญาการจัดการดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

การทำงาน[แก้]

สุวิทย์ เมษินทรีย์ เคยดำรงตำแหน่งกรรมการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเป็นผู้อำนวยการ SIGA เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ และเคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์)

หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)[3] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[4] จากนั้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5] ต่อมาในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[6] ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562[7]

ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ คนที่สอง กรรมการในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ [8] กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน[9]รองประธานกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[10] เลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๓๒ ง หน้า ๑, ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
  3. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง หน้า ๓, ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๙๖ ง หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๙
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 24 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 4 รัฐมนตรีแถลงขอลาออกแล้ว มีผลวันพรุ่งนี้ ขอมุ่งหน้าสู่การเลือกตั้ง
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๙๗ ก หน้า ๕๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔/๒๕๖๐ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๔๐ ง หน้า ๓๒, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
  10. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
ก่อนหน้า สุวิทย์ เมษินทรีย์ ถัดไป
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ครม. 62)
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563)
เอนก เหล่าธรรมทัศน์
อรรชกา สีบุญเรือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 61)
(23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 29 มกราคม พ.ศ. 2562)
-
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 61)
(15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
กอบศักดิ์ ภูตระกูล
อภิรดี ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 61)
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์