ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ
ไฟล์:ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
สมชาย สุนทรวัฒน์
ถัดไปสุพล ฟองงาม
สิทธิชัย โควสุรัตน์
ประสงค์ โฆษิตานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2487 (79 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสสกุล บุตรศรีภูมิ (เสียชีวิต)

พลตำรวจเอก ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และ 7 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ประวัติ[แก้]

ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดนครราชสีมา สมรสกับนางสกุล บุตรศรีภูมิ มีบุตรชาย 3 คน ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 20 รุ่นเดียวกันกับ สันต์ ศรุตานนท์ และสุนทร ซ้ายขวัญ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นอกจากนี้ยังผ่านการอบรมหลักสูตรเอฟบีไอ จากประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสกล บุตรศรีภูมิ (เสียชีวิต) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายวิสุทธิ บุตรศรีภูมิ พ.ต.อ.วุฒิชาติ บุตรศรีภูมิ และนายวุฒิชัย บุตรศรีภูมิ (เสียชีวิต)

การทำงาน[แก้]

ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ รับราชการตำรวจ เคยดำรงตำแหน่ง ผบ.หมวด สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9, ภาค 7 มีผลงานปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้ายหลายราย เช่น ยูโซะ ท่าน้ำ และถูกยิงได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกับผู้ก่อความไม่สงบถึง 3 ครั้ง โดยก่อนจะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2547[1] ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 โดยระหว่างอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว ได้ควบคุมและจัดการสถานการณ์จนเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นน้อยที่สุด และได้เกษียณอายุราชการตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในชั้นยศ "พลตำรวจโท"

หลังจากเกษียณอายุราชการ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ผุ้ทรงคุณวุฒิ) เป็นอนุกรรมการพิจารณาและไตร่สวน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ (จากการเลือกตั้งโดยข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ) อีกด้วย

ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 พลตำรวจโท ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[2] กำกับดูแลการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งนี้ ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ เป็นข้าราชการตำรวจเพียงไม่กี่นายที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ Dato จากสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน

หลังจากพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในคณะกรรมาธิการหลายคณะในสภาผู้แทนราษฏร อาทิ คณะกรรมาธิการการตำรวจ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยมีบทบาทในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจ อีกด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นพลตำรวจเอกเป็นกรณีพิเศษ[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]