บุญพันธ์ แขวัฒนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญพันธ์ แขวัฒนะ
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
รัฐมนตรีช่วยสันตศักด์ จรูญ งามพิเชษฐ์
ก่อนหน้าไพโรจน์ นิงสานนท์
ถัดไปไพโรจน์ นิงสานนท์
เลขาธิการพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม 2535 – 13 ตุลาคม 2536
ก่อนหน้าเขษม ไกรสรรณ์
ถัดไปร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
หัวหน้าพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
29 ตุลาคม 2541 – 5 มีนาคม 2542
ก่อนหน้ามนตรี พงษ์พานิช
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มกราคม พ.ศ. 2473 (94 ปี)
อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
พรรคการเมืองไทยรักไทย
คู่สมรสสุดาพร ศิริเบญจพร (หย่า)
สำรวย แขวัฒนะ

นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร และรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยแรก และเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 10 สมัย และอดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม

ประวัติ[แก้]

บุญพันธ์ แขวัฒนะ เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2473 ที่ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรของนายสิน กับนางแดง แขวัฒนะ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมต้นจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[1] และเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย[2] ด้านครอบครัวเคยสมรสกับ นางสุดาพร ศิริเบญจพร มีบุตรธิดา 4 คน อาทิ น.ส. เกศสิณี แขวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2551), นายคณิพงษ์ แขวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2557) ต่อมาสมรสกับนางสำรวย แขวัฒนะ อดีต ส.ว.พระนครศรีอยุธยา

การทำงาน[แก้]

บุญพันธ์ แขวัฒนะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2531 ต่อจากนั้นจึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา[3] และรัฐบาลชวน หลีกภัย (1)[4] และรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา

หลังจากนั้นก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรื่อยมา จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๑
ก่อนหน้า บุญพันธ์ แขวัฒนะ ถัดไป
ไพโรจน์ นิงสานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (ครั้งแรก)
23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536 (ครั้งที่ 2))
ไพโรจน์ นิงสานนท์ (ครั้งแรก)
อาทิตย์ อุไรรัตน์ (ครั้งที่ 2)