ระวี หิรัญโชติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวี หิรัญโชติ
ไฟล์:ระวี หิรัญโชติ.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
เลขาธิการพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เทพสุทิน
ถัดไปเจษฎา ตันติบัญชาชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
จังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคการเมืองกิจสังคม (2529-2543)
ไทยรักไทย (2544-2549)
คู่สมรสวรัญญา หิรัญโชติ

นายระวี หิรัญโชติ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด อดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

ประวัติ[แก้]

ระวี หิรัญโชติ เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของร้อยตรีอำพัน หิรัญโชติ (อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด) กับนางผ่องผิว หิรัญโชติ[1] สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากวิทยาลัยจักรพงษ์ภูวนาถ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก) และระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

ระวี หิรัญโชติ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 5 สมัย โดยได้รับเลือกตั้งสมัยแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคกิจสังคม ในช่วงที่มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรค และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2542 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[2] และเป็นเลขานุการวิปรัฐบาล[3]

ต่อมาได้ลาออกจากพรรคกิจสังคมมาร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองคณะกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งนายระวี ได้ถูกตัดสิทธิ์ในครั้งนี้ด้วย[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. "รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 2019-04-23.
  3. “พงศ์เทพ-เฮียเพ้ง-อดิศร” ผงาดนั่ง “ประธาน-รองฯ” 1-2 ตามลำดับ ด้าน “ระวี หิรัญโชติ” ติดโผเป็นเลขานุการวิปฯ ขณะที่รายชื่อกรรมการเกลี่ยตามภาคลงตัว
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑