ชิงชัย มงคลธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิงชัย มงคลธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าสุขวิช รังสิตพล
ถัดไปชุมพล ศิลปอาชา
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
7 กันยายน พ.ศ. 2545
ก่อนหน้าโยธินทร์ เพียรภูเขา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2494 (72 ปี)
กาฬสินธุ์ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2533–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางยุวพรรณ์ มงคลธรรม

ชิงชัย มงคลธรรม (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2494) เป็นหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 4 สมัย

ประวัติ[แก้]

นายชิงชัย มงคลธรรม เขาเกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2494[1] ที่อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 8 คนของนายอั้ง และนางจันทร นามสกุลมงคลธรรม ที่รับราชการเป็นครูทั้งคู่ จบการศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. จากวิทยาลัยครูมหาสารคาม และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขามนุษยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สมัยที่ยังเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอยู่

ชีวิตส่วนตัว นายชิงชัย มงคลธรรม มีเอกลักษณ์ประจำที่เป็นที่รู้จักดี คือ ชอบเป่าแคน จากการเคยรับราชการเป็นครูมาก่อน จึงเคยได้รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง ครูบ้านนอก ด้วย สมรสกับนางยุวพรรณ์ มงคลธรรม มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน

นายชิงชัย รับราชการเป็นครูตามบิดา มารดา ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งแรกที่จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคธรรมสังคม ในปี พ.ศ. 2522 จากนั้นในปี พ.ศ. 2535 จึงลงเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[3]

การรักษาพรรคความหวังใหม่[แก้]

ในปี พ.ศ. 2544 ที่ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ตัดสินใจยุบพรรคความหวังใหม่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย

ความหวังใหม่ ยุบมารวมกับ พรรคไทยรักไทย ตาม ม.73 เมื่อ 22 มีนาคม 2545(สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั้งแบบเขต และบัญชีรายชื่อ ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย มีเพียง ชิงชัย มงคลธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรระบบบัญชีรายชื่อ ขออยู่ฟื้นฟู พรรคความหวังใหม่/ และ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ขอไปฟื้นฟู พรรคมวลชน/ ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ย้ายไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์) ตามกรอบของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[4]

นายชิงชัยได้แยกออกมาจากกลุ่มพลเอกชวลิตที่เข้ารวมกับพรรคไทยรักไทย เพื่อที่จะรักษาพรรคความหวังใหม่ไว้ จึงได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคนับแต่บัดนั้น

แต่พรรคความหวังใหม่ในยุคของนายชิงชัย ไม่มีบทบาทในการเมืองระดับประเทศเลย อีกทั้งบทบาทของนายชิงชัยก็ได้เปลี่ยนกลายมาทำการเมืองในภาคของประชาชนแทน โดยทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมบริหารขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ที่มีนายสมาน ศรีงาม เป็นเลขาธิการ

ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 พรรคความหวังใหม่ ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเลย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ส่งผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อครบตามจำนวนที่ กกต. กำหนดให้ส่งได้ คือ 125 คน โดยมีหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 34[5] โดยนายชิงชัย เป็นผู้สมัครลำดับที่ 1[6] แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้เป็นบุคคลที่พรรคความหวังใหม่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[7] ซึ่งพรรคการเมืองจะต้องแจ้งรายชื่อให้ กกต. ทราบก่อนการเลือกตั้ง

การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ[แก้]

ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า นายชิงชัยเป็นผู้หนึ่งที่ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีด้วย ก่อนที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำการชุมนุมจะขึ้นมาปราศรัย และเขาได้เข้าร่วมชุมนุมและปราศรัยอีกหลายครั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-20.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-06. สืบค้นเมื่อ 2005-03-06.
  5. "สมัครปาร์ตี้ลิสต์วันสุดท้ายเพิ่มอีก 8 พรรคการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
  6. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
  7. เปิดรายชื่อ บัญชีนายกฯ 45 พรรค 69 ชื่อ ไร้ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ไทยรักษาชาติ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๖, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า ชิงชัย มงคลธรรม ถัดไป
สุขวิช รังสิตพล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(15 สิงหาคม - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
ชุมพล ศิลปอาชา