ประวิช รัตนเพียร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวิช รัตนเพียร
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ดำรงตำแหน่ง
13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 24 กันยายน พ.ศ. 2556[1]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 18 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ากร ทัพพะรังสี
ถัดไปยงยุทธ ยุทธวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มิถุนายน พ.ศ. 2499 (67 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
พรรคการเมืองไทยรักไทย (? - 2550)
คู่สมรสพัชราภรณ์ รัตนเพียร

ประวิช รัตนเพียร (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2499) เป็นข้าราชการและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนการค้าไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คนที่ 25 และอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

ครอบครัว[แก้]

ประวิช รัตนเพียร เป็นบุตรของ นายประชุม รัตนเพียร กับนางวิจิตรา รัตนเพียร มีพี่น้องจำนวน 4 คน คือ ดร.ประวิช รัตนเพียร ,ดร.ประเวช รัตนเพียร,ดร.วาชิต รัตนเพียร และรศ.ดร.วิชุดา รัตนเพียร สมรสกับนางพัชราภรณ์ รัตนเพียร มีบุตร-ธิดา จำนวน 4 คน ได้แก่ นายพิชญ์ รัตนเพียร นายปริน รัตนเพียร นางสาววิชชาภร รัตนเพียร และนางสาวปรินดา รัตนเพียร

การศึกษา[แก้]

ประวิช รัตนเพียร เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 26 (พ.ศ. 2519) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 และปริญญาเอกทางด้านการอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2525 จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต และยังสำเร็จการศึกษาหลังปริญญาเอก (Postdoctoral Research Associate) จากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกันนี้ด้วย

การทำงาน[แก้]

การศึกษาพิเศษ[แก้]

  • สำเร็จวิชาทหารชั้นปีที่ 5 กรมการรักษาดินแดน ฝึกอบรมแต่งตั้งเป็นว่าที่ร้อยตรี กองทัพบก
  • ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ. 2546
  • ผ่านการอบรมหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

การทำงาน[แก้]

ประวิช รัตนเพียร เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2531 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก) ในปี พ.ศ. 2537[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 เป็น ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (ประจำนายกร ทัพพะรังสี) และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีผลงานเด่นในด้านต่างๆ เช่น การผลักดันตราสัญลักษณ์ไทย (Thailand Brand) มาตรการส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ มาตรการส่งเสริมธุรกิจบริการ

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2547 ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา 138 ประเทศ ให้เป็นกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter Parliamentary Union – IPU) และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้แทนการค้าไทย และในปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน[4] กระทั่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเข้ารับหน้าที่กรรมการการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “ประวิช” ไขก๊อกผู้ตรวจฯ หลังศาลฎีกาเสนอสรรหา กกต.
  2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๓/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 57ง 2 สิงหาคม 2548
  4. ประกาศแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 138ง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๒, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
ก่อนหน้า ประวิช รัตนเพียร ถัดไป
นายกร ทัพพะรังสี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 55)
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์