อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เทพสุทิน
จรูญ งามพิเชษฐ์
ถัดไปเตือนใจ นุอุปละ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 ตุลาคม พ.ศ. 2485
เสียชีวิต13 มิถุนายน พ.ศ. 2566 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม (2531—2549)
คู่สมรสมรกต ศรีแสงนาม

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม เป็นประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าและเครือข่ายลดอุบัติเหตุ, ที่ปรึกษาคณะกรรมการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. และนักจัดรายการวิทยุคลื่น FM 96.5 MHz คลื่นความคิด"รายการดนตรีและชีวิต"

ประวัติ[แก้]

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของนายประชา กับนางพาณี ศรีแสงนาม จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2511, Fellowship of the Royal College of Physicians, มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh)

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางมรกต ศรีแสงนาม (สกุลเดิม:ดวงพัตรา) มีบุตร-ธิดา 4 คน

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566 สิริอายุรวม 80 ปี[2]

การทำงาน[แก้]

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นอดีตรองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตห้วยขวาง และเขตพระโขนง (บางส่วน) ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคพลังธรรม โดยได้รับเลือกตั้งพร้อมกับ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคพลังธรรมเช่นเดิม

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[3] พร้อมกับนายรักเกียรติ สุขธนะ และนายเอนก ทับสุวรรณ ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537

เป็นบุคคลริเริ่มผลักดันจนสามารถตั้งสถาบันสุขภาพจิต (กรมสุขภาพจิต) และ สถาบันแพทย์แผนไทย (กรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก), เป็นผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมสะมาริตันส์ แห่ง ประเทศไทย (Samaritans Thailand) เมื่อ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นสมาคมที่ให้บริการเป็นเพื่อนพูดคุยทางโทรศัพท์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย [4] อีกทั้งเป็นผู้จุดประกายกระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพ เขียนหนังสือสร้างแรงบันดาลใจ "วิ่งสู่ชีวิตใหม่" (พ.ศ. 2539) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน [5]

ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ในตำแหน่งรองผู้จัดการ และตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมการ[6] เขาได้รับรางวัล "สังข์เงิน" ผลงานดีเด่นด้านส่งเสริมสุขภาพพลานามัย รางวัล "บุคคลตัวอย่างแห่งปี 2541" รางวัล "บุคคลยอดเยี่ยมด้านการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาผู้ติดยาเสพติด" รางวัล "มหิดลทยากร" ปี 2551 [7]

อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม มีบทบาทในการรณรงค์ "วิ่งสู่ชีวิตใหม่" โดยการสร้างความตระหนักให้คนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น[8][9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม” ผู้บุกเบิก “วิ่งสู่ชีวิตใหม่” จุดกระแสคนไทยใส่ใจสุขภาพ
  2. ลูกสาวโพสต์ข่าวเศร้า! สิ้น ‘ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม’ ที่ปรึกษา สสส.-อดีตรมช.สธ.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  4. "สะมาริตันส์คืออะไร?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 2016-03-10.
  5. วิ่งสู่ชีวิตใหม่
  6. หนุนพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย-ไร้เหล้า
  7. มหิดลทยากร
  8. วิ่งแล้วรอด (ตาย) สู่หลักคิด “สร้างดีกว่าซ่อม” “ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม”
  9. เปิดใจ ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ผู้สร้างตำนาน “วิ่งสู่ชีวิตใหม่”
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖