โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร Matthayom Wat Benchamabophit School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 69 ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.บ. (M.W.B.B.) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | บาลี: อุฏฐาตา วินฺทเต ธนํ (ผู้หมั่นย่อมหาทรัพย์ได้) |
สถาปนา | 12 เมษายน พ.ศ. 2443 (124 ปี 221 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 |
ผู้บริหาร | ภราดอน สังขรัตน์ ฐษา จันทรังษี |
เพศ | ชาย |
จำนวนนักเรียน | 441 คน (ปีการศึกษา 2563) |
ชั้นเรียนที่เปิดสอน | มัธยมศึกษา |
พื้นที่ | 5 ไร่ 42 ตารางวา |
สี | ชมพู-เหลือง |
เพลง | เพลงมาร์ชเบญจมบพิตร |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
ศิษย์เก่า | สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นอโศก |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (อังกฤษ: Matthayom Wat Benchamabophit School; อักษรย่อ: บ.บ. / M.W.B.B.) เป็นโรงเรียนชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสอนศิษย์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2443 ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 69 ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300[1]
ปัจจุบันโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนเบญจมบพิตร" เป็น "โรงเรียนมัธยมเบญจมบพิตร" เป็น "โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร" และสุดท้ายได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร" เป็นโรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทยที่มีชื่อขึ้นต้นว่า "เบญจม" และได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "เบญจมบพิตร" ซึ่งต่างจากโรงเรียนอื่น ๆ ที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]
ประวัติ
[แก้]เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามขึ้น ได้ทรงมีพระราชดำริว่าวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามตั้งอยู่ห่างไกล บรรดาศิษย์วัดซึ่งต้องอุปัฏฐากรับใช้ภิกษุสามเณรไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเล่าเรียนที่ห่างไกล จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อสอนศิษย์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2443 ในชั้นต้นที่อาคารชั่วคราวหลังมุงจากใช้เสื่อลำแพนกั้นเป็นประตูและหน้าต่างเพียงหลังเดียว ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง และเปิดสอนเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 มีนักเรียน 40 คน เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เป็นกรรมการจัดทำหลักสูตรโรงเรียนตามพระราชประสงค์ ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างอาคารเรียนถาวร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบอาคารเรียน โดยในขณะที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงควบคุมดำเนินการก่อสร้างแทนพระองค์ และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนเบญจมบพิตร" เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2445 อยู่ติดกับวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[3][4]
สัญลักษณ์
[แก้]สัญลักษณ์ของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- ตราประจำโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ประกอบด้วยพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี ภายใต้มีเลข ๕ หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร มีอักษร “บ.บ.” หมายถึงอักษรย่อของโรงเรียนอยู่ภายใต้เลข ๕ ภายใต้มีแถบระบุข้อความ "อุฏฐาตา วินฺทเต ธนํ" ซึ่งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานให้เป็นคำขวัญของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร มีแถบระบุชื่ออยู่ภายใต้[5]
- สีประจำโรงเรียน ชมพู - เหลือง
- สีชมพู เป็นสีประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นสัญลักษณ์เตือนใจครูและนักเรียน ให้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
- สีเหลือง เป็นสีของพระพุทธศาสนา หมายถึงโรงเรียนตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นสัญลักษณ์เตือนใจครูและนักเรียน ให้กระทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ประกอบในสิ่งที่ผิด ฝึกชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ใช้ความสามารถคุ้มครองตนและเป็นคนมีธรรมะ คุ้มครองทุกเมื่อ[6]
สิ่งเคารพสักการะ
- พระพุทธชินราช (จำลอง) พระประธานประจำพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาร้อยปี ปิยมหาราชอนุสรณ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- พระรูปหล่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราช ณ พิพิธภัณฑ์พระอนุสรณ์ อ.ป.ก. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม[7]
คณะสีของโรงเรียน
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นโรงเรียนเดียวของประเทศไทยที่ใช้ชื่อคณะสีจากหน้าบันพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- ██ คณะนารายณ์ทรงครุฑ Naraisongkrut (สีแสด) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะจักรรถ Jakrot (สีแดง) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะมหาอุณาโลม Mahaunalom (สีเขียว) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะไอยราพต Iyarapot (สีฟ้า) ก่อตั้งวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- ██ คณะจุลมงกุฎ Chula Mongkut (สีเทา) ก่อตั้งวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2531 (ปัจจุบันไม่มีคณะสีนี้แล้ว)[8]
อาคารและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียน
[แก้]- อาคาร 1 (อาคารพระพุทธเจ้าหลวง) สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2445 เป็นแบบพิเศษ 2 ชั้น 16 ห้องเรียนทรงยุโรป ราคาก่อสร้าง 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นสมบัติของพระราชโอรส พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ และเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในรัชกาลที่ 5 อาคารหลังนี้ได้รับการซ่อมแซมหลายครั้ง ครั้งหลังสุดกรมสามัญศึกษาได้ทำการซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2525 ใช้งบประมาณ 2.4 ล้านบาท อาคารเรียนหลังนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็น อาคารสถานที่ราชการอนุรักษ์ดีเด่นของสถาปนิกสมาคม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานโล่รางวัล และประกาศนียบัตรแก่โรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2528 ปัจจุบันอาคารเรียนหลังนี้ยังมั่นคง แข็งแรง และสง่างาม โรงเรียนใช้เป็นสำนักงานของฝ่ายบริหารโรงเรียน
- อาคารที่ 2 (อาคารเทพศึกษา) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2507 เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ขนาด 15 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 1.5 ล้านบาท ใช้เป็นห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง ห้องกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน 1 ห้อง ห้อง Resource Center 1 ห้อง ห้องสมุด 5 ห้อง ห้องเรียนวิชาภาษาไทย 4 ห้องและห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1 ห้อง
- อาคารที่ 3 (อาคารพุทธิศึกษา) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 20 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 2.4 ล้านบาท ใช้เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 1 ห้อง ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 ห้อง และห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 1 ห้อง ห้องเรียนเกษตร 1 ห้อง ห้องเรียน ICP 2 ห้อง ห้องร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน 1 ห้อง ห้องพระพุทธศาสนา 1 ห้อง
- อาคารที่ 4 (อาคารธรรมศึกษา) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 20 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 3.9 ล้านบาท ใช้เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิศาสตร์ 1 ห้อง ห้องเรียนศิลปะ 3 ห้อง ห้องเรียนคณิตศาสตร์ 4 ห้อง ชั้นล่างเป็นห้องประชุม และห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 1 ห้อง
- อาคารที่ 5 (อาคารรัตนโกสินทร 200 ปี) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 แบบพิเศษ 4 ชั้น ราคาก่อสร้าง 3.3 ล้านบาท ใช้เป็นโรงฝึกงาน โรงอาหาร และห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง และห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี จำนวน 4 ห้อง
- อาคารที่ 6 (อาคารพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 แบบพิเศษ 3 ชั้น ขนาด 12 ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 5 ล้านบาท พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก สร้างให้ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว ใช้เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ 12 ห้อง และห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 ห้อง
- อาคารที่ 7 (เรือนพยาบาลพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก) เป็นอาคารทรงไทย ประกอบไปด้วยเวชภัณฑ์และคุรุภัณฑ์ สร้างด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ราคาก่อสร้าง 250,000 บาท[9]
องค์ผู้อุปการะโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
[แก้]องค์ผู้อุปการะโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร คือ เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามทุกยุคตั้งแต่เมื่อแรกสถาปนา
- สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)[10]
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราช
- สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)
- พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ)
- พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร)
- พระธรรมวชิราธิบดี (ฉ่ำ ปุญฺญชโย)[11]
ผู้อำนวยการ
[แก้]ทำเนียบผู้บริหาร[12] | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1 | พระยาบรรหารวรอรรถ (ฉัตร ยุกติรัตน) | พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2447 | |
2 | หลวงประสาสน์อักษรการ (โหมด เทวะผลิน) | พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2450 | |
3 | พระประกอบวุฒิสาท (ทิพย์ เปรมกมล) | พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2452 | |
4 | หลวงนิเพทย์นิติสรรค์ (ฮวดหลี หุตะโกวิท) | พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2455 | |
5 | พระชำนาญอนุสาสน์ (ทองคำ โคปาลสุต) | พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2458 | |
6 | พระสันธิวิทยาพัฒน์ (ไล่เฮียง สิริสิงห) | พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2465 | |
7 | พระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน) | พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2468 | |
8 | หลวงสันธานวิทยาสิทธิ์ (กำจาย พลางกูร) | พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2472 | |
9 | หลวงแจ่มวิชาสอน (แจ่ม นิยมเหตุ) | พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2473 | |
10 | พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) | พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2475 | |
11 | นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา | พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2476 | |
12 | หลวงชุมวิทยากิจ (ชุม โปตรนันท์) | พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2476 | |
13 | หลวงปราโมทย์ จรรยาวิภาช (ปราโมทย์ จันทวิมล) | พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2477 | |
14 | หลวงลือล้ำศาสตรี (เลื่อน ศีวรรธนะ) | พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2478 | |
15 | พระดรุณพยุหรักษ์ (บุญเย็น ธนโกเศศ) | พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2479 | |
16 | หลวงทรงวิทยาศาสตร์ (ทรง ประนิช) | พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2481 | |
17 | นายถวิล ดารากร ณ อยุธยา | พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2485 | |
18 | นายเทือก กุสุมา ณ อยุธยา | พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2489 | |
19 | นายพร ทองพูนศักดิ์ | พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2491 | |
20 | ศาสตราจารย์ สุดใจ เหล่าสุนทร | พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2493 | |
21 | นายเดช เดชกุญชร | พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2498 | |
22 | ขุนศิลปการพิศิษฏ์ (ประเสริฐ จุลฤกษ์) | พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2505 | |
23 | นายบุญอวบ บูรณะบุตร | พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2507 | |
24 | นายทองสุก เกตุโรจน์ | พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2511 | |
25 | นายแก้ว อุปพงศ์ | พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2516 | |
26 | นายลพ ชูแข | พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2526 | |
27 | นายวิสิทธิ์ คำปันศักดิ์ | พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2533 | |
28 | นายวิกรม ชุมสาย ณ อยุธยา | พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2539 | |
29 | นายสมชัย เชาว์พานิช | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2544 | |
30 | นายสุนทร วิไลลักษณ์ | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 | |
31 | นายจีระศักดิ์ จันทุดม | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547 | |
32 | นายบุญธรรม พิมพาภรณ์ | พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 | |
33 | นายสุรพล การบุญ | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 | |
34 | นายนาวี ยั่งยืน | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 | |
35 | นายวันชัย ทองเกิด | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554 | |
36 | นายชลอ เขียวฉลัว | พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 | |
37 | นายภัทร ผ่องราษี | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559 | |
38 | ดร.มนพมนตรี สกุลศิลป์ศิริ | พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2561 | |
39 | นางปัณฑารีย์ บุญแรง | พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563 | |
40 | ดร.พงศ์ไท คีรีวงศ์วัฒนา | พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2566 | |
41 | นายภราดอน สังขรัตน์ | พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (เพชรเบญจมบพิตร) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 3 ห้อง (120 คน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 3 ห้อง (90 คน)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน (ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ)
- แผนการเรียนภาษาไทย - สังคมศึกษา
- แผนการเรียนศิลป์ - ธุรกิจ (การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่)[13]
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 3 ห้อง (90 คน)
กิจกรรมของโรงเรียน
[แก้]วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ เนื่องในวันปิยมหาราช
[แก้]คณะผู้บริหารโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร นำโดยผู้อำนวยการโรงเรียนและคณาจารย์ ตลอดจนตัวแทนศิษย์ปัจจุบัน เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ณ พระลานพระราชวังดุสิต โดยมีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันวงโยธวาทิตร่วมบรรเลงเพลงนำขบวน[14]
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และมอบตัวเป็นศิษย์
[แก้]นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ต้องเข้าพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และมอบตัวเป็นศิษย์ของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และเจ้าอาวาสวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามเป็นประจำทุกปี[15]
องค์กรที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
[แก้]- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- มูลนิธิวัดเบญจมบพิตร (กองทุนสมโภชพระพุทธชินราช)
- คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร[16]
- สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์[17]
- มูลนิธินักเรียนเก่าเบญจมบพิตร
- มูลนิธิเบญจมเมตตาธรรม
- คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- องค์กรภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น และชุมชน ฯลฯ
สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง
[แก้]- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- พระราชวังดุสิต
- พระลานพระราชวังดุสิต
- สวนจิตรลดา
- สนามเสือป่า
- ทำเนียบรัฐบาล
- กระทรวงศึกษาธิการ
- อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร". Dek-D.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร". Dek-D.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "MWBB : ประวัติโรงเรียน". www.mwbb.ac.th.
- ↑ admin (2014-01-24). "อาคารพระพุทธเจ้าหลวง ตึกสีชมพู". ของดีประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-02. สืบค้นเมื่อ 2023-10-24.
- ↑ "MWBB : สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน". www.mwbb.ac.th.
- ↑ "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร". Dek-D.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "MWBB : สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน". www.mwbb.ac.th.
- ↑ "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร". Dek-D.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "MWBB : ข้อมูลอาคารเรียน". www.mwbb.ac.th.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสามัญศึกษา เรื่องมีผู้อุปการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร, เล่ม ๔๕, ตอน ๐ ง , ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑, หน้า ๒๖๗๓
- ↑ "2566-01-05 ผู้อำนวยการโรงเรียนนำคณะครูกราบนมัสการพระธรรมวชิราธิบดี เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่". Google Photos.
- ↑ "MWBB : ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน". www.mwbb.ac.th.
- ↑ "MWBB : หลักสูตร". www.mwbb.ac.th.
- ↑ กองบก (2020-10-23). "วงโยธวาทิตโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร นำขบวนผู้บริหารและนักเรียน วางพวงมาลาในวันปิยมหาราช ประจำปี 2363". The Thai Press.
{{cite web}}
: zero width space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 32 (help) - ↑ "2566-06-08 พิธีถวายตน เป็นพุทธมามกะ". Google Photos.
- ↑ "2566-08-29 มอบทุนการศึกษา จากคุณครูเก่าโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร สมาคมผู้ปกครองและครู". Google Photos.
- ↑ "2566-08-28 การสนับสนุนทุนการศึกษาจากสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร". Google Photos.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- เว็บไซต์สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์ เก็บถาวร 2010-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เก็บถาวร 2019-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์