ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์

(สุวรรณ สุวณฺณโชโต)
ส่วนบุคคล
เกิด5 มิถุนายน พ.ศ. 2463 (74 ปี)
มรณภาพ22 กันยายน พ.ศ. 2537
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 7 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท27 พฤษภาคม พ.ศ. 2483
พรรษา54
ตำแหน่งอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ นามเดิม สุวรรณ วงศ์เรืองศรี ฉายา สุวณฺณโชโต อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง

ชาติภูมิ

[แก้]

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีนามเดิมว่า สุวรรณ วงศ์เรืองศรี เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2463 แรม 4 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ณ บ้านนางแล ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โยมมารดาชื่อ ขันแก้ว เวียงมูล โยมบิดาชื่อ จี วงศ์เรืองศรี เมื่อเกิดมาอาจารย์ได้ให้ชื่อไว้ในดวงชะตา (ใบลานจารเขียน) วัน เดือน ปี และเวลาเกิด พร้อมกับแจ้งชื่อพ่อและแม่ไว้ด้วยว่า “ดวงทิพย์” ภายหลังในฐานะเป็นบุตรคนหัวปี จึงมีชื่อเรียกกันว่า “คำอ้าย” และใช้ชื่อคำอ้ายนี้ตลอดมา จนถึงเวลาได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ก็มีชื่อว่า สามเณรคำอ้าย แต่เมื่อมาอยู่กรุงเทพมหานคร อาจารย์ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า สุวรรณ ได้ชื่อฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า สุวณฺณโชโต

อุปสมบท

[แก้]

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ณ วัดนางแล ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูสุตาลังการ วัดกลางเวียง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ตรงกับวันแรม 6 ค่ำเดือน 6 ปีมะโรง ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยมีพระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสรภาณกวี (คอน นนฺทิโย ป.ธ.3 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระมงคลวัตรกวี) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระราชเวที (ดอกไม้ อตฺตรภทฺโท ป.ธ. 6) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ

[แก้]

มรณภาพ

[แก้]

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ถึงแก่มรณภาพ ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2537 เวลา 11.40 น. ที่ตึก 84 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54[1]

สมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2489 พระครูฐานานุกรมในพระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) ที่ พระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ
  • พ.ศ. 2490 เป็นพระครูฐานานุกรมในสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) ที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์
  • 4 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกิตติวงศ์มุนี[2]
  • 13 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกิตติมุนี ศรีวิสุทธิวราลังการ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2505 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมกิตติโสภณ วิมลศีลาจารวัตร ปริยัติคุณาลังการ ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพุทธิวงศมุนี ศรีปาพจนาลังการ ศีลาจารวัตรวิสิฐ พิพิธพัฒนาภิมาตร ประชานุศาสน์วราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จุฬาลงกรณรังสฤษฏ์ กิตติโสภณวรางกูร วิบูลศีลาจารวิมล คิรีชนพหุลหิเตสี ตรีปิฎกวราภรณ์ อุดรมหาคณปธานาดิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[6]

งานปกครอง

[แก้]
  • พ.ศ. 2482 เลขานุการประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์
  • พ.ศ. 2487 เลขานุการสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา
  • พ.ศ. 2495 เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค 5
  • พ.ศ. 2503 เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรได้ทั่วประเทศ
  • พ.ศ. 2505 เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • พ.ศ. 2507 รองเจ้าคณะภาค 6
  • พ.ศ. 2508 เจ้าคณะภาค 6
  • พ.ศ. 2512 กรรมการมหาเถรสมาคม
  • พ.ศ. 2526 เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ

งานการศึกษา

[แก้]
  • พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2488 ผู้ช่วยเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2486 ครูสอนประจำสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร
  • พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2488 เลขานุการสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา
  • พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2488 ครูสอนพระปริยัติธรรม จังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2493 เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2505 รองแม่กองบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2505 กรรมการโรงพิมพ์กรมการศาสนา
  • พ.ศ. 2507 ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
  • พ.ศ. 2531 แม่กองบาลีสนามหลวง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต ป.ธ.๗) | พระสังฆาธิการ". sangkhatikan.com (ภาษาอังกฤษ).
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 67, ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม 2493, หน้า 6321
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 75, ตอน 109 ง, 23 ธันวาคม 2501, หน้า 3134
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอน ง พิเศษ, 4 มกราคม 2506, หน้า 1-2
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 90, ตอน 177 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม 2516, หน้า 7-9
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 107, ตอน 138 ก ฉบับพิเศษ, 6 สิงหาคม 2533, หน้า 4-6