ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จัตุมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล ใน พ.ศ. 2554
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(1 ปี 10 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอดุลย์ แสงสิงแก้ว
ถัดไปสุชาติ ชมกลิ่น
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(3 ปี 23 วัน)
ก่อนหน้าชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ถัดไปหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 กันยายน พ.ศ. 2486 (81 ปี)
พรรคการเมืองรวมพลัง (2561–2563)
คู่สมรสรัชนี คชเสนี (หย่า)
คุณหญิงบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา
บุพการี
ลายมือชื่อ

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (เกิด 28 กันยายน พ.ศ. 2486) เป็นนักการเมืองและนายธนาคารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และปลัดกระทรวงการคลัง

ประวัติ

[แก้]

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล โอรสของพลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นโอรสคนสุดท้องในจำนวนสี่คน คือ หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล (นักหนังสือพิมพ์ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น) [1] พันเอก หม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล และหม่อมราชวงศ์สุมาลยมงคล โชติกเสถียร เดิมชื่อเล่นว่า คุณสี่ แต่ในช่วงที่หม่อมราชวงศ์จัตุมงคลยังเด็ก อาศัยอยู่หัวหิน ไม่ยอมเดินเพราะเจ็บเท้าและคลานสี่ขาแทน หม่อมเจ้าฉัตรมงคลจึงเรียกว่า คุณเต่า ตามลักษณะการเดินในวัยเยาว์[2]

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนแฮร์โรว์ จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 2508 ปริญญาโทบริหารรัฐกิจ จาก Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี 2512 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อปี 2532

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล สมรสกับ รัชนี คชเสนี มีบุตร 1 คน คือ

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล สมรสครั้งที่สองกับ คุณหญิงบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองไข่มุกข์) มีบุตร 2 คน คือ

การรับราชการ

[แก้]

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล เริ่มรับราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จนกระทั่งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในภายหลังได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสรรพสามิต อธิบดีกรมสรรพากร และปลัดกระทรวงการคลัง เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 2539[4] เมื่อปี 2540 ขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง เกิดความขัดแย้งด้านนโยบายการคลังกับรัฐบาลในยุคพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และถูกคำสั่งย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงลาออกจากราชการทันที ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[5] เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตรที่ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ทบทวนนโยบายด้านดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ธุรกิจ

[แก้]

หลังจากเกษียณราชการแล้ว ได้หันมาประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้านอาหาร Orangery และ Lemongery ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ร้านเสื้อผ้า และร้านชุดชั้นในสตรี [6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
  2. ฟ้ารุ่ง ศรีขาว (23 กุมภาพันธ์ 2565). "เปิดชีวิตข้าหลวงจากรั้ววังบางขุนพรหม อยู่กับ "เจ้านาย" อย่างไร หลัง 2475". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา, เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๗ ง หน้า ๒, ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๙
  5. "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
  6. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล “ชีวิตเริ่มต้นเมื่อเกษียณ”
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๕, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
ก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล ถัดไป
ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(7 พฤษภาคม 2541 – 30 พฤษภาคม 2544)
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล