สะพานช้างโรงสี
สะพานช้างโรงสี | |
---|---|
สะพานช้างโรงสี ภาพถ่ายจากฝั่งวังสราญรมย์ มองเห็นอาคารฟาซาลทางขวามือของภาพ | |
พิกัด | 13°45′04.54″N 100°29′47.03″E / 13.7512611°N 100.4963972°E |
เส้นทาง | ถนนกัลยาณไมตรี และถนนบำรุงเมือง |
ข้าม | คลองคูเมืองเดิม |
ที่ตั้ง | แขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงวัดราชบพิธ และแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ชื่ออื่น | สะพานช้าง |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | สะพานคนเดิน |
ท้ายน้ำ | สะพานปีกุน |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานคาน |
วัสดุ | คอนกรีตเสริมเหล็ก |
ทางเดิน | 2 |
ประวัติ | |
สร้างใหม่ | พ.ศ. 2453 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานช้างโรงสี |
ขึ้นเมื่อ | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000030 |
ชื่ออักษรไทย | สะพานช้างโรงสี |
ชื่ออักษรโรมัน | Saphan Chang Rongsi |
ที่ตั้ง | แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ และแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนอัษฎางค์ » แยกผ่านพิภพลีลา |
→ | ถนนบำรุงเมือง » สี่กั๊กเสาชิงช้า |
↓ | ถนนอัษฎางค์ » แยกสะพานมอญ |
← | ถนนกัลยาณไมตรี » ป้อมสัญจรใจวิง |
ที่ตั้ง | |
สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นสี่แยก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนบำรุงเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชินี บริเวณหลังกระทรวงกลาโหม กับถนนอัษฎางค์ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สะพานช้างโรงสีเป็นสะพานที่สร้างสำหรับกองทัพช้างศึกที่กลับมาจากการทำศึกสงครามเดินข้ามเพื่อเข้าเขตราชธานี ซึ่งเดิมมีสะพานที่สร้างสำหรับช้างเดินข้ามมีทั้งสิ้น 3 สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณเชิงลาดสะพานพระปิ่นเกล้า, สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมบริเวณปากคลองตลาด ซึ่งปัจจุบัน คือ สะพานเจริญรัช 31 และสะพานช้างโรงสีแห่งนี้ ซึ่งในอดีตตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงแห่งพระนคร ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกกันติดปากว่า "สะพานช้างโรงสี" และได้เป็นสะพานเพียงแห่งเดียวที่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่
จนเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงบูรณะจากเดิมที่เป็นสะพานไม้แผ่นหนาวางพาดเปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานทำเป็นลูกแก้วปูนหล่อ ช่วงปลายสะพานทั้งสี่มุมเป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปหัวสุนัข มีจารึกคำว่า ศก ๑๒๙ อันหมายถึง ปีจอ และรัตนโกสินทร์ศก 129 (พ.ศ. 2453) ซึ่งเป็นทั้งปีนักษัตรประสูติของพระองค์และตรงกับปีที่บูรณะซ่อมแซมสะพานอีกด้วย[1]
ไม่ไกลจากสะพานช้างโรงสีเป็นที่ตั้งของวังสราญรมย์, สะพานปีกุนกับอนุสาวรีย์หมู, สะพานหก, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และแพร่งภูธร
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ประติมากรรมหัวสุนัข
-
แยกสะพานช้างโรงสี
-
อาคารฟาซาลซึ่งตั้งอยู่เชิงสะพาน
-
มุมมองจากสะพานไปทางกระทรวงกลาโหม
-
มุมมองจากสะพานไปทางถนนบำรุงเมืองและอาคารฟาซาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พินิจนคร (Season 1) ตอน สามแพร่ง". พินิจนคร. 2009-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานคนเดินข้ามคลองคูเมืองเดิม หลังกระทรวงกลาโหม |
สะพานช้างโรงสี |
ท้ายน้ำ สะพานปีกุน |