ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Clumsy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
|รัฐมนตรี10_ชื่อ =
|รัฐมนตรี10_ชื่อ =
|รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
|หัวหน้า1_ชื่อ = ดำริ สุโขธนัง
|หัวหน้า1_ชื่อ = ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี
|หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ปลัด
|หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ปลัดกระทรวง
|หัวหน้า2_ชื่อ = อิสสระ โชติบุรการ
|หัวหน้า2_ชื่อ = นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก
|หัวหน้า2_ตำแหน่ง = รองปลัด
|หัวหน้า2_ตำแหน่ง = รองปลัดกระทรวง
|หัวหน้า3_ชื่อ =
|หัวหน้า3_ชื่อ = นายปราโมทย์ วิทยาสุข
|หัวหน้า3_ตำแหน่ง =
|หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองปลัดกระทรวง
|หัวหน้า4_ชื่อ =
|หัวหน้า4_ชื่อ =
|หัวหน้า4_ตำแหน่ง =
|หัวหน้า4_ตำแหน่ง =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:17, 20 เมษายน 2553

กระทรวงอุตสาหกรรม
ราชอาณาจักรไทย
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ไทย
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี5,601,945,000 บาท (พ.ศ. 2553)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี, ปลัดกระทรวง
  • นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก, รองปลัดกระทรวง
  • นายปราโมทย์ วิทยาสุข, รองปลัดกระทรวง
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์M-INDUSTRY.go.th

กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Industry of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการของไทย ประเภทกระทรวง ดูแลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ของประเทศ

ประวัติ

กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มจากการก่อตั้ง กองอุตสาหกรรม ในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น กองอิสระรัฐพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2480 ถัดมาเมื่อ พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐกิจ และจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง "กระทรวงการอุตสาหกรรม" โดยมีส่วนราชการในสังกัด คือ

  • สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
  • สำนักงานปลัดกระทรวง
  • กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ตั้งใหม่)
  • กรมโลหกิจ (โอนมาจากกระทรวงมหาดไทย)
  • กรมวิทยาศาสตร์ (โอนมาจากกระทรวงการเศรษฐกิจ)
  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กรมอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจเดิม)

กระทรวงการอุตสาหกรรม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม ใน พ.ศ. 2495[2]

ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย[3]

หน่วยงานในสังกัด

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
  2. ประวัติกระทรวงอุตสาหกรรม
  3. ที่มาของนารายณ์เกษียรสมุทร

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น