ข้ามไปเนื้อหา

นครราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โนโกเรียจ (นครราช)
เมืองของพระเจ้าแผ่นดิน
នគររាជ
ชื่ออื่นนครราช (ถอดตามรูปอักษรเขมร)
เนื้อร้องสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ), พ.ศ. 2484
ทำนองพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต, F. Perruchot และ J. Jekyll, พ.ศ. 2481
รับไปใช้พ.ศ. 2484
รับไปใช้ใหม่พ.ศ. 2518
21 กันยายน พ.ศ. 2536
เลิกใช้พ.ศ. 2512
พ.ศ. 2519

นครราช (เขมร: នគររាជ นครราช [โนโกเรียจ]) เป็นชื่อของเพลงชาติกัมพูชาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ มีความหมายว่า เมืองของพระเจ้าแผ่นดิน ทำนองของเพลงประพันธ์ขึ้นโดยอาศัยทำนองของเพลงเขมรโบราณที่มีชื่อเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2481 โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต (เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จกรมขุนวิสุทธิ์ขัตติยวงศ์ นโรดม สุรามฤต - พระนามเดิมก่อนหน้านั้นคือ นักองเจ้า (หม่อมเจ้า) นโรดม สุรามฤต) ร่วมกันกับครูเพลงชาวฝรั่งเศส 2 คน คือ F. Perruchot และ J. Jekyll ส่วนเนื้อร้องประพันธ์ขึ้น ภายหลังการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เสร็จสิ้นไปได้ไม่เกิน 3 เดือน (ราชาภิเษกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) และสำเร็จเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 โดยสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ) สมเด็จพระสังฆราชในคณะสงฆ์มหานิกาย แต่ครั้งยังเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์[1]

ประวัติ

[แก้]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon เพลงนครราชบรรเลงในพระพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ที่ยูทูบ
video icon เพลงชาตินครราช บรรเลงดนตรีเขมรโบราณ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ที่ยูทูบ
video icon การขับร้องเพลงนครราชและเพลงชาติญี่ปุ่นคิมิงะโยะ ที่ยูทูบ

"นครราช" มีต้นตอจากกวีพื้นเมืองเขมรที่มักขับร้องด้วยจะเป็ยในสมัยโบราณเพื่อเล่าตำนานและพูดถึงเหตุการณ์ล่าสุด[2][3]

เพลงนครราชเริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2484 ในฐานะเพลงสรรเสริญพระบารมี (Royal anthem) ตั้งแต่กัมพูชาตกในอาณารักขาของฝรั่งเศส ในช่วงแรกนั้นเพลงนครราชมักบรรเลงในโอกาสสำคัญในราชวงศ์เป็นส่วนใหญ่ เพลงนครราชมีทำนองที่คล้ายกับเพลงชาติญี่ปุ่น "คิมิงาโยะ" สันนิษฐานว่าราชสำนักกัมพูชาอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากราชสำนักญี่ปุ่นที่ทั้งสองราชวงศ์มีความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งทางครูชาวฝรั่งเศสได้ช่วยกันแต่งทำนองขึ้นใหม่และได้รับการปรับเป็นเนื้อร้องภาษาเขมรโดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต เพลงนครราชได้รับการบรรเลงในโอกาสสำคัญ 2 ครั้งได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต

เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2496 เป็นช่วงราชอาณาจักรกัมพูชาภายใต้การนำของพรรคสังคมราษฎรนิยมของพระนโรดม สีหนุ ในสมัยนี้กัมพูชาได้นำหลักการเชื้อชาตินิยมเขมร นิยมในพระมหากษัตริย์และศาสนาพุทธ ควบคู่ไปกับการใช้สังคมนิยมในความเป็นอยู่และเศรษฐกิจ เพลงนครราชเริ่มใช้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ จึงได้รับการเน้นย้ำอย่างสำคัญในฐานะเพลงชาติของอาณาจักร

ต่อมาใน พ.ศ. 2512 เมื่อนายพลลน นลล้มรัฐบาลของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ และสถาปนาสาธารณรัฐเขมรขึ้นแทนที่ เพลงนครราชจึงถูกยกเลิกฐานะของเพลงชาติไป

ต่อมาเมื่อรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรล่มสลายในปี พ.ศ. 2518 จนถึงยุคเขมรแดงของพอล พต เนื่องจากพระนโรดม สีหนุได้ทรงร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิวนิสต์กัมพูชาทำให้สัญลักษณ์ต่างของระบอบกษัตริย์เขมร ซึ่งรวมถึงเพลงนครราชได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ จนถึง พ.ศ. 2519 เมื่อเขมรแดงประกาศจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย ได้มีการใช้เพลงสิบเจ็ดเมษามหาโชคชัยเป็นเพลงชาติแทน ส่วนเพลงนครราชถูกยกเลิกฐานะเพลงชาติอีกครั้งต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี

เมื่อสิ้นสุดยุคเขมรแดงด้วยสาเหตุจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ ได้มีการฟื้นฟูราชอาณาจักรกัมพูชาและสถาบันพระมหากษัตริย์อีกครั้ง จนกระทั่งเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวนิยมกษัตริย์ (นิยมเจ้า) ที่ชนะการเลือกตั้งภายใต้ควบคุมโดยสหประชาชาติใน พ.ศ. 2534 เพลงนครราชก็ได้รับการรับรองเป็นเพลงชาติอีกครั้งมาจนถึงปัจจุบัน

เพลงนครราชได้ถูกบรรเลงด้วยดนตรีพื้นเมืองเขมรโบราณล้วนโดยไม่ใช้เครื่องดนตรีตะวันตกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน (เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมพรรษา 51 พรรษา เดือนตุลาคม พ.ศ. 2547) ซึ่งได้มีการถ่ายทอดสดการบรรเลงเพลงนครราชทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุทั่วประเทศ

เนื้อร้องของเพลงนครราชมีอยู่ 3 บท แต่เวลาร้องในประเทศกัมพูชา จะนิยมร้องบทแรกเป็นหลัก สำหรับการออกอากาศผ่านสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ในเวลา 07:00 น. และ 17:00 น. ของทุกวัน นั้น จะเป็นรูปแบบขับร้องบทแรก แต่ในบางกรณี เช่น การปิดสถานีประจำวันของบางสถานี จะเป็นรูปแบบขับร้องครบทั้งสามบท

เนื้อร้อง

[แก้]

โปรดทราบ! เนื้อหาในส่วนนี้มีอักษรเขมร จำเป็นต้องใช้ฟอนต์อักษรเขมรในการแสดงผล ท่านสามารถดาวน์โหลดฟอนท์อักษรเขมรได้ ที่นี่ เก็บถาวร 2020-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อักษรเขมร ถอดอักษร คำอ่าน ถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน
บทที่ 1

សូម​ពួក​ទេព្ដា
រក្សា​មហាក្សត្រ​យើង
ឲ្យ​បាន​រុងរឿង
ដោយ​ជ័យ​មង្គល​សិរី​សួស្តី
យើង​ខ្ញុំ​ព្រះអង្គ
សូម​ជ្រក​ក្រោម​ម្លប់
ព្រះ​បារមី
នៃ​ព្រះ​នរបតី
វង្ស​ក្សត្រា​ដែល​សាង
ប្រាសាទ​ថ្ម
គ្រប់គ្រង​ដែន​ខ្មែរ
បុរាណ​ថ្កើង​ថ្កាន។

สูม​พวก​เทพฺฎา
รกฺสา​มหากฺสตฺร​เยิง
อฺโย​บาน​รุงเรือง
โฎย​ชัย​มงฺคล​สิรี​สัวสฺตี
เยิง​ขฺญุ̊​พฺระองฺค
สูม​ชฺรก​กฺโรม​มฺลบ̍
พฺระ​บารมี
ไน​พฺระ​นรบตี
วงฺส​กฺสตฺรา​แฎล​สาง
บฺราสาท​ถฺม
คฺรบ̍คฺรง​แฎน​ขฺแมร
บุราณ​ถฺเกิง​ถฺกานฯ

โซม ปวก เตฝดา
เรียกซา มฮา กสัต เยิง
ออย บาน รุง เรือง
ดอย เจ็ย ม็องก็อล เซเร็ย ซัวสเด็ย
เยิง ขญม เปรียะฮ์ ออง
โซม ซรก กรอม มลุป
เปรียะฮ์ บารอเม็ย
เน็ย เปรียะฮ์ นอรอบอเด็ย
ว็อง กสัตรา แดล ซาง
ปราสาต ถมอ
กรุป กรอง แดน ขแม็ย
โบะราน ทเกิง ทกานฯ

Som pouk tepda
rak sa moha khsath yeung
iy ben roung roeung
doy chey monkol srey soursdey
Yeung Khnom preah ang
som chrok Krom molup
preah Baromey
Ney preah Noropdey
vong Khsattra del sang
preah sat thm­r
Kroup Kraung dèn Khmer
borann thkoeung thkann.

บทที่ 2

ប្រាសាទ​សីលា
កំបាំង​កណ្តាល​ព្រៃ
គួរ​ឲ្យ​ស្រមៃ
នឹក​ដល់​យស​ស័ក្តិ​មហា​នគរ
ជាតិ​ខ្មែរ​ដូច​ថ្ម
គង់វង្ស​នៅ​ល្អ
រឹងប៉ឹង​ជំហរ
យើង​សង្ឃឹម​ពរ
ភ័ព្វ​ព្រេង​សំណាង
របស់​កម្ពុជា
មហា​រដ្ឋ​កើត​មាន
យូរ​អង្វែង​ហើយ។

บฺราสาท​สีลา
กํบำง​กณฺตาล​พฺไร
ควร​อฺโย​สฺรไม
นึก​ฎล̍​ยส​สักฺติ​มหา​นคร
ชาติ​ขฺแมร​ฎูจ​ถฺม
คง̍วงฺส​เนา​ลฺอ
รึงปึง​ชํหร
เยิง​สงฺฆึม​พร
ภัพฺว​พฺเรง​สํณาง
รบส̍​กมฺพุชา
มหา​รฎฺฐ​เกิต​มาน
ยูร​องฺแวง​เหิยฯ

ปราสาต เซ็ยลา
ก็อมบัง กอนดาล เปร็ย
กัว ออย ซรอมัย
นึก ดอล ยัวฮ์ ซัก มอฮา เนาะกอ
เจียต ขแม็ย โดว็จ ทมอ
กุง ว็อง นึวฟ์ ลออ
รึง เปิง จุมฮอ
เยิง ซองเคิม ปอ
พวบ เปร็ยง์ ซ็อมนาง
รอบอฮ์ กอมปูเจีย
มอฮา รัต เกิด เมียน
ยู อองแวย์ง เฮยฯ

Prasath séla
kombang kan dal prey
Kuor oy sr­may
noeuk d­l yuos sak Moha Nokor
Cheat Khmer dauch Thmar
kong vong n­y l­ar
rung peung chom hor.
Yeung sang Khim por
pheap preng samnang
robuos Kampuchea.
Moha r­th koeut mien
you ang veanh hey.

บทที่ 3

គ្រប់​វត្ត​អារាម
ឮ​តែ​សូរ​ស័ព្ទ​ធម៌
សូត្រ​ដោយ​អំណរ
រំឭក​គុណ​ពុទ្ធ​សាសនា
ចូរ​យើង​ជា​អ្នក
ជឿ​ជាក់​ស្មោះ​ស្ម័គ្រ
តាម​បែប​ដូន​តា
គង់​តែ​ទេព្ដា
នឹង​ជួយ​ជ្រោម​ជ្រែង​ផ្គត់ផ្គង់
ប្រយោជន៍​ឲ្យ
ដល់​ប្រទេស​ខ្មែរ
ជា​មហា​នគរ៕

คฺรบ̍​วตฺต​อาราม
ฦๅ​แต​สูร​สัพฺท​ธร̲ร̲ม
สูตฺร​โฎย​อํณร
รํฦก​คุณ​พุทฺธ​สาสนา
จูร​เยิง​ชา​อฺนก
เชือ​ชาก̍​เสฺมาะ​สฺมัคฺร
ตาม​แบบ​ฎูน​ตา
คง̍​แต​เทพฺฎา
นึง​ชัวย​ชฺโรม​ชฺแรง​ผฺคต̍ผฺคง̍
บฺรโยชน์​อฺโย
ฎล̍​บฺรเทส​ขฺแมร
ชา​มหา​นคร๚

กรุป ว็อต อาราม
ลือ แตย์ โซ ซ็อป เทือร์
โสต ดอย อ็อมนอ
รุมลึก กุน ปุต ซาฮ์ซนา
จอ เยิง เจีย เนีย
เจือ เจีย ซมอฮ์ ซมะ
ตาม แบย์บ โดน ตา
กุง แตย์ เตวดา
นึง จวย โจรม แจรง ปกอต ปกอง
ปรอยอจ ออย
ดัล ประเตฮ์ ขแม็ย
เจีย มอฮา เนาะกอ๚

Kroup vath aram
lu tè so sap thoeur
Sot doy am no
rom lik koun poth sasna
Chol yeung chea neak
thioeur thiak smos smak
tam bep donnta
Kong tè thévoda
nùng chuoy chrom chrèng phkot phkang
pra yoch oy
Dol prateah Khmer
chea Moha Nokor.

คำแปล

[แก้]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon เพลงนครราชบรรเลง (เวอร์ชันโอลิมปิค) ที่ยูทูบ

ขอพวกเทวดา รักษามหากษัตริย์เรา
ให้ได้รุ่งเรือง โดยชัยมงคลศรีสวัสดี
เราข้าพระองค์ ขอพึ่งใต้ร่มพระบารมี
ในพระนรบดี วงศ์กษัตราซึ่งสร้างปราสาทหิน
ครอบครองแดนเขมร โบราณเลื่องลือ ฯ

ปราสาทศิลา ซ่อนอยู่ท่ามกลางไพร
ควรคำนึงหวนให้ นึกถึงยศศักดิ์มหานคร
ชาติเขมรดุจหิน ดำรงวงศ์ละออยืนหยัดถาวร
เราหวังซึ่งพร บุญวาสนาแต่กาลก่อนของกัมพูชา
มหารัฐเกิดมี ช้านานมาแล้ว ฯ

ครบวัดอาราม ยินแต่ศัพท์สำเนียงเสียงธรรม
สวดโดยยินดี รำลึกคุณพุทธศาสนา
จงเราเป็นผู้เชื่อ แน่ในใจจริงตามแบบยายตา
คงแต่เทวดา จะช่วยค้ำจุนบำรุงประโยชน์ให้
แด่ประเทศเขมร เป็นมหานคร ฯ [4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เพลงชาติกัมพูชา ความแตกต่างทางการเมือง ในจุดร่วมแห่งอดีตที่รุ่งเรืองของ "พระนคร"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  2. Kalmanowitz, Debra; Chan, Siu Mei (2012). Art Therapy in Asia: To the Bone Or Wrapped in Silk (ภาษาอังกฤษ). Jessica Kingsley Publishers. p. 210. ISBN 978-1-84905-210-8.
  3. Koskoff, Ellen (2008). The Concise Garland Encyclopedia of World Music: The Middle East, South Asia, East Asia, Southeast Asia (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-0-415-99404-0.
  4. "ธิบดี บัวคำศรี. ความเป็นมาของบท "โนกอร์เรียช" เพลงชาติเขมร : การศึกษาเบื้องต้น. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 2, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2549), น. 63-88" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-13. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]